the ultimate ingredient to conquer stress.

ในสถานการณ์ปัจจุบันที่ทั่วโลกรวมถึงประเทศไทยกำลังประสบปัญหาการระบาดของ COVID-19 นอกจากความเสี่ยงในการติดเชื้อแล้ว ยังมีโอกาสที่จะเผชิญกับภาวะเครียดได้ด้วย

ในสถานการณ์ปัจจุบันที่ทั่วโลกรวมถึงประเทศไทยกำลังประสบปัญหาการระบาดของ COVID-19 นอกจากความเสี่ยงในการติดเชื้อแล้ว ยังมีโอกาสที่จะเผชิญกับภาวะเครียดได้ด้วย ซึ่งอาจนำไปสู่ภาวะซึมเศร้าและวิตกกังวลในที่สุด

โดยปรกติแล้ว การรักษาภาวะซึมเศร้าและวิตกกังวลจะต้องใช้ยา แต่คุณรู้หรือไม่ว่าอาหารที่เรารับประทานเข้าไป เป็นปัจจัยสำคัญในการควบคุมอารมณ์และจิตใจของเราเช่นกัน 

ถ้าหากคุณกำลังรู้สึกได้ว่าความกังวลหรือภาวะเครียดเหล่านี้เริ่มเป็นปัญหากับชีวิต ลองรับประทานอาหารเหล่านี้ดูสิ อาจจะช่วยให้คุณรู้สึกดีขึ้นได้

อาหารที่เรากินเข้าไป ไม่เพียงแต่ทำให้ร่างกายมีเรี่ยวแรงเท่านั้น แต่ยังให้สารอาหารที่ส่งผลต่ออารมณ์และจิตใจอีกด้วย งานวิจัยหนึ่ง พบว่า อาหารที่มีน้ำตาลต่ำ มักจะช่วยให้สภาวะของจิตใจดีขึ้น ในขณะเดียวกัน ถ้าหากไม่ได้รับวิตามิน แร่ธาตุที่เพียงพอ สามารถทำให้สภาพจิตใจนั้นแย่ลงไปอีก

ยกตัวอย่างเช่น วิตามินบี 6 ซึ่งพบได้มากในปลา เนื้อวัว ผักที่มีแป้งสูง เช่น มันฝรั่ง ฟักทอง ข้าวโพด มันม่วง หรือมันหวาน เป็นต้น เจ้าวิตามินบี 6 นี้จะช่วยให้สารเคมีในสมองที่ทำให้เรารู้สึกดี ที่ชื่อว่า เซโรโทนิน (serotonin) หลั่งออกมามากขึ้น ซึ่งการเพิ่มเซโรโทนินนั้น จะช่วยบรรเทาภาวะซึมเศร้าได้

วันนี้จีเนียสขอนำเสนอ 6 วัตถุดิบที่จะช่วยให้คุณลดความเครียดขณะที่เก็บตัวอยู่ที่บ้านได้

 

 

  1. เบอร์รี่ส์  ผลไม้ทั่วไปนั้น โดยปรกติก็จะมีสารไฟโตนูเทรียนท์ (phytonutrient) ที่มีประโยชน์ สารต้านอนุมูลอิสระ วิตามินและแร่ธาตุ ที่ช่วยรักษาอาการวิตกกังวลและอาการซึมเศร้าอยู่แล้ว แต่รู้หรือไม่ว่า ผลไม้นั้นมักจะมีน้ำตาลแฝงอยู่สูง โดยเฉพาะผลไม้ที่มีรสชาติหวาน หากรับประทานมากเกินไป อาจส่งผลให้เกิดปัญหาสุขภาพด้านอื่นตามมาแทน เช่น ภาวะน้ำหนักเกิน ความเสี่ยงเบาหวานชนิดที่ 2 และโรคหัวใจ เป็นต้น ในทางกลับกัน เบอรี่ส์ (ไม่ว่าจะเป็น ราสเบอรี่ บลูเบอรี่ แบล็คเบอรี่ หรือแม้กระทั่ง สตรอเบอรี่) พบว่าเป็นผลไม้ที่มีน้ำตาลต่ำ และให้สารอาหารที่มีประโยชน์สูงมากเช่น วิตามิน C ซึ่งทำให้มันเป็นอาหารชั้นยอดในการจัดการกับภาวะซึมเศร้าและความวิตกกังวล สำหรับปริมาณที่แนะนำในการรับประทานต่อวันก็คือ 1 ถ้วยเท่านั้นเอง

  2. หน่อไม้ฝรั่ง  หน่อไม้ฝรั่งเป็นผักที่อุดมไปด้วยโฟเลต (หรือวิตามินบี 9) ซึ่งพบว่ามีความสัมพันธ์กับภาวะซึมเศร้าและวิตกกังวล จากงานวิจัยในปี 2006 พบว่า ภาวะขาดโฟเลต พบได้บ่อยในผู้ที่ป่วยเป็นโรคซึมเศร้า และการรับประทานโฟเลตเพียง 2 มิลลิกรัม ต่อวันก็ช่วยเพิ่มประสิทธิ์ภาพของยารักษาอาการซึมเศร้าที่ผู้ป่วยรับประทานอยู่ด้วย นอกจากนี้ เราสามารถได้รับโฟเลต มากถึง 22% ของปริมาณที่แนะนำต่อวัน เพียงรับประทานหน่อไม้ฝรั่งแค่ 4 หน่อเท่านั้น

  3. อโวคาโด อาหารชนิดนี้อุดมไปด้วยวิตามินและแร่ธาตุที่บำรุงสมอง เช่น แมกนีเซียม วิตามินบี 6 และโฟเลต อย่างแมกนีเซียม มีผลต่อการทำให้สมองมีสุขภาพดี และช่วยในการสร้าง โดพามีน ในร่างกาย (โดพามีน หรือ Dopamine เป็นสารเคมีในสมองอีกหนึ่งชนิดที่ทำให้รู้สึกดี) และงานวิจัยที่ตีพิมพ์ลงในนิตยสาร Pharmacological Reports พบว่า ภาวะแมกนีเซียมต่ำ มักพบได้บ่อยในผู้ที่มีภาวะซึมเศร้าเช่นกัน ดังนั้น อโวคาโด จึงเป็นอาหารชั้นดี ที่อุดมไปด้วยแร่ธาตุแมกนีเซียม ซึ่งการรับประทานอโวคาโดเพียง 2 ลูกต่อวัน ก็ทำให้เราได้รับแร่ธาตุแมกนีเซียมในปริมาณที่แนะนำต่อวันแล้ว



  4. ปลาทะเล งานวิจัยมากมายพบว่า การรับประทานปลาเป็นประจำช่วยลดอุบัติการเกิดความเจ็บป่วยทางจิตได้ นักวิจัยพบว่า ไขมันโอเมก้า-3 (Omega-3 fatty acids) ที่อยู่ในปลาทะเลนั้น เป็นตัวการสำคัญในการลดและต้านภาวะการอักเสบในระบบประสาท ยกตัวอย่างเช่น ปลาแซลมอน ปลากระพงขาว แต่ถ้าหากบางท่านไม่รับประทานเนื้อสัตว์ หรือไม่ชอบรับประทานปลา การรับประทานโอเมก้า-3 จากอาหารเสริมก็เป็นทางเลือกที่ดีเช่นกัน หรือหากคุณรับประทานมังสวิรัติ อาจเลือกรับประทานโอเมก้า-3 ได้จาก เมล็ดเชีย เมล็ดแฟล็กซ์ และวอลนัท เป็นต้น แต่ในบางท่านที่ตรวจ DNA แล้วพบว่าร่างกายไม่สามารถนำไขมันโอเมก้า-3 จากพืชไปใช้งานได้ ควรเลือกรับประทานจากผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร จะได้ผลลัพธ์ที่ดีกว่า

  5. โปรตีนชงดื่ม หลายท่านอาจจะจำได้จากที่เรียนวิชาชีวะวิทยาสมัยมัธยม โปรตีน ถูกสร้างขึ้นจากกรดอะมิโน และกรดอะมิโนเหล่านี้ ช่วยสร้างสารสื่ประสาท ที่สำคัญในการควบคุมอารมณ์และระบบความจำ อย่างเช่น โดพามีน(Dopamine) ถูกสร้างจากกรดอะมิโนไทโรซีน(Tyrosine) ในขณะที่ เซโรโทนิน(Serotonin) ถูกสร้างจากกรดอะมิโนทริปโตแฟน(Tryptophan) ฉะนั้นเมื่อ กรดอะมิโนช่วยเสริมสร้างการทำงานของระบบประสาท การรับประทานโปรตีนให้เพียงพอถือว่าเป็นสิ่งที่สำคัญมาก โปรตีนชงดื่มจะช่วยให้การได้รับโปรตีนในแต่ละวันเป็นเรื่องที่ง่ายขึ้นสำหรับทุกคน โดยเฉพาะผู้ที่รับประทานอาหารมังสวิรัติและมีแนวโน้มจะขาดโปรตีนจากอาหารทั่วไป และต้องขอบคุณเทคโนโลยีในปัจจุบันที่ทำให้โปรตีนชงดื่มเหล่านี้ มีรสชาติที่ดีขึ้นมากกว่าเมื่อก่อนเยอะมาก ไม่ว่าจะเป็น รสช็อคโกแลต รสนมสตรอเบอรี่ หรือแม้กระทั่งรสสมูธตี้โยเกิร์ตกล้วย



  6. ไข่ เป็นแหล่งของ โคลีน(Choline) ซึ่งเจ้าโคลีนนี้ เป็นสารอาหารที่ใช้ในการสร้าง อะซิติลโคลีน (Acetylcholine) อีกทีหนึ่ง ซึ่งเป็นสารสื่อประสาทที่ควบคุมการทำงานของอารมณ์และระบบความจำ เพียงรับประทานไข่มื้อละ 1 ฟอง (ไข่ต้มจะมีไขมันน้อยที่สุด) ก็ทำให้คุณได้รับโคลีนในปริมาณที่แนะนำต่อหนึ่งวันแล้ว

คุณสามารถติดตามเมนูไข่สูตรเชฟชื่อดังจากทั่วโลกได้ที่นี่ และกดติดตาม Facebook ของ GeneusDNA

วัตถุดิบเหล่านี้ จะช่วยให้การทำงานของระบบประสาทและสมองดีขึ้น ส่งผลต่อสภาวะจิตใจ และลดความเครียดลงได้ในช่วงที่เราต้องอยู่บ้านนานๆ นอกจากนี้ การตรวจ DNA เพื่อวิเคราะห์หาแนวโน้มการขาดวิตามินและแร่ธาตุ ความไวต่ออาหาร การออกกำลังกายที่เหมาะสม รวมถึงความเสี่ยงในการเกิดโรคต่างๆมากถึง 12 โรค จะช่วยให้คุณสามารถปรับเปลี่ยนไลฟ์สไตล์ในการชีวิตไปในทางที่ดีขึ้นได้ และตรงจุดมากขึ้น สามารถสั่งซื้อชุดตรวจ DNA ได้ที่ ลิงค์นี้เลยค่ะ  https://shop.geneusdna.com/product/exclusive-set-dna-test/

 

LINE : @Geneus

Facebook : GeneusDNA

Tel :    064-795-5959

02-0100489