alzheimers magnetic stimulation

การใช้แม่เหล็กไฟฟ้ากระตุ้นที่สมอง เพิ่มความสามารถด้านการจำ เป็นแนวทางใหม่ในการรักษาโรคอัลไซเมอร์และโรคหลงลืม

การใช้แม่เหล็กไฟฟ้ากระตุ้นที่สมอง เพิ่มความสามารถด้านการจำ เป็นแนวทางใหม่ในการรักษาโรคอัลไซเมอร์และโรคหลงลืม งานวิจัยจากมหาวิทยาลัย Duke ประเทศสหรัฐอเมริกา

จากการทำงานวิจัยในคนที่สุขภาพดี ด้วยการกระตุ้นแม่เหล็กไฟฟ้าที่สมอง repetitive transcranial magnetic stimulation (rTMS) พบว่า มีความทรงจำที่ดีกว่าคนที่ไม่ได้ทำ rTMS 

ดอกเตอร์ Lysianne Beynel กล่าวว่า งานวิจัยนี้ มีตัวชี้วัดที่มีความเป็นปัจเจกสูง (มีการเลือกตำแหน่งที่จะกระตุ้นด้วยแม่เหล็กไฟฟ้า fMRI) จากการวัดผลพบว่า ในปัจจุบันสามารถเพิ่มความสามารถด้านความจำ ในคนที่สุขภาพดีได้แล้ว และเราจะพัฒนาไปทำในคนที่มีปัญหาด้านความทรงจำต่อไป

การทำงานของความทรงจำ คือ

กระบวนการทวนซ้ำๆ และใช้ข้อมูลที่มีความสัมพันธ์เกี่ยวข้องในขณะที่กำลังทำงาน กระบวนการนี้เป็นกุญแจสำคัญที่ทำให้เราเกิดความจำในชีวิตประจำวันได้ เช่น การขับรถไปสถานที่ใหม่ๆ การทำอาหาร หรือการทำตามแบบคู่มือต่างๆ ในปี ค.ศ. 2050 คาดว่าจะมีโรค Alzheimer และโรคหลงลืมอื่นๆ มากขึ้นอีกเป็น 2 เท่าจากปัจจุบัน ซึ่งโรคเหล่านี้เป็นปัจจัยเสี่ยง ทำให้เกิดการบาดเจ็บและเสียชีวิต รวมถึงลดความสามารถในการดำเนินชีวิตประจำวัน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง คนที่ไม่มีผู้ช่วยดูแลที่บ้าน

ในงานวิจัยดังกล่าวนี้ มีวันรุ่นทั้งหมด 29 คน และผู้ใหญ่อีก 18 คน เป็นการทดลองโดยให้จดจำตัวอักษรเป็นลำดับ พร้อมกับส่งคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (rTMS) ความถี่สูง (5Hz) หรือใส่คลื่นหลอก (placebo) ให้แก่ผู้เข้าร่วมวิจัย ไปยังสมองส่วน prefrontal cortex และสมองส่วนที่มีการบริหารระดับสูง พบว่า ผู้ที่ได้รับ rTMS จริงนั้น สามารถจดจำได้แม่นยำกว่าคนที่ได้รับคลื่นหลอก

ดอกเตอร์ Simon W. Davis หนึ่งในผู้ดำเนินงานวิจัย กล่าวว่า "น่าสนใจเป็นอย่างมาก ที่คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้านี้จะมีผลต่อความจำ ก็ต่อเมื่อผู้ถูกวิจัยต้องใช้ความพยายามในการจำ ซึ่งอยู่บนหลักการ ใช้มันหรือลืมมัน (use-it-or-lose-it principle) ตรงกันข้ามกับที่เราเคยรู้มาเลย เนื่องจากสมองที่เริ่มเสื่อมหรือมีอายุมากแล้วนั้น มีความสามารถที่โดดเด่นในการจดจำเรื่องราวในอดีต และใช้ข้อมูลนั้นได้ในลักษณะที่ยืดหยุ่น การกระตุ้นสมองในงานทดลองนี้แสดงให้เห็นว่า ในสมองผู้สูงอายุกว่าก็ได้รับประโยชน์จาก rTMS พอๆกับสมองของวัยรุ่น"

ที่มา: https://www.sciencedaily.com/releases/2019/05/190515130256.htm