แคลเซียมสําหรับเด็ก, แคลเซียมเพิ่มความสูง, อาหารเสริมแคลเซียมเด็ก, calcium in dietary supplements

แคลเซียมสำหรับเด็ก มีประโยชน์มากกว่าที่คิด พ่อแม่มือใหม่ควรรู้ อาหารเสริมแบบไหน ช่วยให้ลูกของคุณเติบโตขึ้นอย่างแข็งแรงและสมบูรณ์ที่สุด

ชวนรู้จัก แคลเซียมสำหรับเด็ก ต้องซื้ออาหารเสริมแคลเซียมแบบไหนเพื่อสุขภาพที่ดีที่สุดของลูกน้อย รวมเกร็ดความรู้ด้านสุขภาพเด็กมาฝากกันที่นี่แล้ว

เชื่อว่าหลายคนคงเคยได้ยินว่า "แคลเซียม" มีประโยชน์ต่อกระดูก แต่รู้กันหรือเปล่าว่า แคลเซียมมีทั้งหมดกี่ประเภท? นั่นก็เพราะว่า อาหารเสริมแต่ละแบบใช้แคลเซียมแต่ละชนิดที่แตกต่างกัน ดังนั้นเราจึงต้องทำความเข้าใจว่า ลูกหลานของเราควรทานแคลเซียมเสริมประเภทไหนกันแน่? เนื่องจากในปัจจุบันมีอาหารเสริมด้าน แคลเซียมสำหรับเด็ก จำนวนมาก ไม่ว่าจะเป็น แคลเซียมคาร์บอเนต แคลเซียมซิเตรท แคลเซียมแอลทรีโอเนต แคลเซียมแลคเตท แคลเซียมแอลแอสคอร์เบตไดไฮเดรต และแคลเซียมไฮดรอกซีอะพาไทต์ ฉะนั้นการจะเลือกแคลเซียมให้เหมาะสมกับลูกจึงเป็นเรื่องสำคัญที่พ่อแม่ไม่ควรมองข้าม

อาหารเสริมแคลเซียมเด็ก แบบไหนที่เหมาะกับลูกน้อย? บทความนี้เรามีคำตอบมาให้คุณ

แคลเซียมเพิ่มความสูง มีประโยชน์ต่อร่างกายมากกว่าที่เราคิด

แคลเซียม เป็นผลิตภัณฑ์เสริมอาหารที่ได้รับความนิยมอย่างมาก เนื่องจากมีส่วนสำคัญในการช่วยเพิ่มความสูงและส่งเสริมสุขภาพที่ดีของกระดูก เพื่อให้ร่างกายมีมวลกระดูกที่แข็งแรง อีกทั้งแคลเซียมยังช่วยสนับสนุนการทำงานของกล้ามเนื้อและเส้นประสาท ซึ่งเป็นองค์ประกอบสำคัญที่ทำให้กระบวนการแข็งตัวของเลือดทำงานอย่างปกติ ตลอดจนเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานของระบบภูมิคุ้มกันได้อีกด้วย

 

อาหารเสริมแคลเซียมเด็ก

 

เปิดข้อดีและข้อเสีย แคลเซียมแต่ละชนิด ในผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร

รู้จักกับ "แคลเซียมในผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร" ของคุณให้มากขึ้น เนื่องจากผลิตภัณฑ์เสริมอาหารแต่ละชนิดใช้แคลเซียมที่แตกต่างกัน ดังนั้น สิ่งสำคัญก็คือการรู้ว่าอาหารเสริมที่คุณรับประทานอยู่นั้นเป็นแคลเซียมชนิดใด เพราะการวิจัยพบว่าแคลเซียมแต่ละชนิดมีสัดส่วนของแคลเซียม และผลข้างเคียงต่อร่างกายที่แตกต่างกันออกไป โดยแคลเซียมที่นิยมใช้ในผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร มีดังนี้

แคลเซียมคาร์บอเนต

แคลเซียมคาร์บอเนต เป็นแคลเซียมรูปแบบที่ใช้มากที่สุดและราคาถูกที่สุด มีสัดส่วนของแคลเซียมต่อหน่วยสูงสุดถึง 40% แต่ข้อเสียของแคลเซียมคาร์บอเนตที่สำคัญคือ แคลเซียมคาร์บอเนตละลายน้ำยากมาก ดังนั้นหากได้รับในปริมาณมากไปอาจนำไปสู่การเกิดหินปูนในหลอดเลือดได้ ส่งผลให้แคลเซียมคาร์บอเนตสามารถเข้าไปเพิ่มความเสี่ยงของการเกิดนิ่วในไต อาการท้องผูกและท้องอืดได้นั่นเอง

แคลเซียมซิเตรท

แคลเซียมซิเตรท เป็นแคลเซียมที่ละลายน้ำได้ดี และการดูดซึมจะเพิ่มขึ้นเมื่อทานหลังจากรับประทานอาหาร โดยแคลเซียมซิเตรทมีสัดส่วนของแคลเซียมต่อหน่วยสูงเป็นอันดับสอง คิดเป็น 21% ซึ่งเป็นรองจากแคลเซียมคาร์บอเนต ทั้งยังมีงานวิจัยที่พบว่าแคลเซียมซิเตรททำให้ความเสี่ยงของการเกิดหินปูนในหลอดเลือด อาการท้องผูกและการเกิดนิ่วในไตลดลงด้วย แพทย์จึงมักนำแคลเซียมซิเตรทมาใช้ในผู้ป่วยที่มีปัญหาในระบบทางเดินอาหาร

 

ข้อดีและข้อเสีย แคลเซียมแต่ละชนิด

 

แคลเซียมแอลทรีโอเนต

แคลเซียมแอลทรีโอเนต เป็นแคลเซียมที่สกัดมาจากพืช 100% เนื่องจากสกัดมาจากข้าวโพด ทำให้มีสารพฤกษเคมีและสารต้านอนุมูลอิสระที่ช่วยลดความเสี่ยงของการเกิดโรคลำไส้ใหญ่ และทวารหนักมากกว่าแคลเซียมจากสัตว์ โดยนักวิจัยพบว่าแคลเซียมแอลทรีโอเนต จะเข้าไปกระตุ้นการดูดซึมแมกนีเซียมที่ช่วยลดอาการท้องผูกได้

ทั้งนี้อีกหนึ่งจุดเด่นของแคลเซียมแอลทรีโอเนต ก็คือความสามารถในการดูดซึมที่มากกว่าแคลเซียมรูปแบบอื่นถึง 8 เท่า เช่น แคลเซียมคาร์บอเนต และแคลเซียมซิเตรต 

นอกจากนี้แล้ว ข้อดีอีกประการหนึ่งที่แคลเซียมแอลทรีโอเนตแตกต่างจากแคลเซียมรูปแบบอื่น ๆ นั่นก็คือความสามารถในการลดอาการท้องผูกและท้องอืด ตลอดจนช่วยลดความเสี่ยงของการเกิดหินปูนในหลอดเลือดได้ดีกว่าเมื่อเปรียบเทียบกับแคลเซียมรูปแบบอื่น ทำให้แคลเซียมชนิดนี้มีราคาค่อนข้างสูงเมื่อเทียบกับแคลเซียมชนิดอื่นๆ ในปริมาณเท่ากัน

 

 

อาหารเสริมแคลเซียมเด็ก แบบไหนดี

 

แคลเซียมแลคเตท

แคลเซียมแลคเตท เป็นแคลเซียมรูปแบบที่ดูดซึมได้ดีและมีอยู่ในนม แม้ว่าแคลเซียมรูปแบบนี้จะมีสัดส่วนของแคลเซียมต่อหน่วยที่มากถึง 18.3% แต่เนื่องจากแคลเซียมแลคเตทสกัดจากนมจึงอาจไม่เหมาะสำหรับผู้ที่แพ้นมหรือน้ำตาลแลคโตส อีกทั้งแคลเซียมชนิดนี้ยังมีผลข้างเคียงที่พบได้อีกหลายอย่าง เช่น คลื่นไส้ ท้องผูก แคลเซียมในเลือดสูง สับสนและเหนื่อยล้า เป็นต้น

แคลเซียมแอลแอสคอร์เบตไดไฮเดรต

แคลเซียมแอลแอสคอร์เบตไดไฮเดรต เป็นแคลเซียมที่ประกอบด้วยแคลเซียมกับวิตามินซี มีสัดส่วนของแคลเซียมต่อหน่วยน้อยที่สุดเพียง 9.4% นอกจากนี้แคลเซียมแอลแอสคอร์เบตไดไฮเดรตยังจำเป็นสำหรับการสร้างกระดูกอ่อนและมักใช้เพื่อกระตุ้นการผลิตคอลลาเจนชนิดที่ 2 อย่างไรก็ตาม แคลเซียมแอลแอสคอร์เบตไดไฮเดรตมีผลข้างเคียงที่พบได้คือ ท้องผูก คลื่นไส้ และระดับแคลเซียมในเลือดที่พุ่งสูงขึ้นนั่นเอง

แคลเซียมไฮดรอกซีอะพาไทต์

ปิดท้ายกันด้วยแคลเซียมไฮดรอกซีอะพาไทต์ ซึ่งเป็นสารที่คงตัวที่สุดภายใต้สภาวะรุนแรง เช่น อุณหภูมิสูง การเปลี่ยนแปลงของค่า pH และของเหลวในร่างกาย โดยข้อดีของแคลเซียมไฮดรอกซีอะพาไทต์ คือการเสริมสร้างกระดูกและมักใช้ในการรักษาโรคกระดูกพรุน แต่ถึงอย่างนั้น ร่างกายคนเราก็ไม่ควรรับประทานแคลเซียมนี้เกินวันละ 1500 มก. ต่อวัน เนื่องจากปริมาณที่มากเกินไปอาจส่งผลให้เกิดอาการท้องผูก อาหารไม่ย่อย มีลมในท้องและท้องอืดได้

แคลเซียมแอลทรีโอเนต ช่วยลดความเสี่ยงของการเกิดหินปูนในหลอดเลือดได้ดีเมื่อเปรียบเทียบกับแคลเซียมรูปแบบอื่น

ดังนั้นจะเห็นได้ว่า แคลเซียมสำหรับเด็ก ที่ดีที่สุดคือ แคลเซียมแอลทรีโอเนต เพราะเป็นสารสกัดจากธรรมชาติที่มีปริมาณแคลเซียมสูง ทั้งยังช่วยลดความเสี่ยงด้านสุขภาพให้ลูกน้อยได้หลายอย่าง ไม่ว่าจะเป็น การลดความเสี่ยงของการเกิดหินปูนในหลอดเลือด การลดอาการท้องผูกในเด็ก และความสามารถในการดูดซึมที่สูงกว่าแคลเซียมชนิดอื่นถึง 8 เท่า

แคลเซียมเพิ่มความสูง แอลทรีโอเนตใน Jelly CARE GRO+

Jelly CARE GRO+ มีแคลเซียมแอลทรีโอเนตมากถึง 1,000 มก. เทียบเท่ากับผักโขมหนึ่งจานใหญ่ (100 มก.) โดยเราได้คัดสรรแคลเซียมรูปแบบที่ดีที่สุดมาเป็นส่วนประกอบในผลิตภัณฑ์ ทำให้อุดมไปด้วยสารอาหารต่างๆ ที่สำคัญต่อการเสริมสร้างความสูงที่สมบูรณ์แบบและกระดูกที่แข็งแรง เช่น Colostrum-Based Protein (แอคทีฟโปรตีนจาก colostrum) วิตามินดี3 และวิตามินเค2 นอกจากนี้ Jelly CARE GRO+ ยังมีส่วนผสมสำคัญที่จะช่วยในการบำรุงสมองลูกน้อยได้อีกด้วย

 

อาหารเสริมแคลเซียมเด็ก Jelly care gro+

      

   

ตารางเปรียบเทียบสัดส่วนของแคลเซียมต่อหน่วย ข้อดี ข้อเสีย ของแคลเซียมแต่ละชนิดที่พบในผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร

  

References:

  1. Straub, D. A. (2007). Calcium supplementation in clinical practice: a review of forms, doses, and indications. Nutrition in clinical practice, 22(3), 286-296.
  2. Kenny AM, Prestwood KM, Biskup B, Robbins B, Zayas E, Kleppinger A, Burleson JA, Raisz LG. Comparison of the effects of calcium loading with calcium citrate or calcium carbonate on bone turnover in postmenopausal women. Osteoporos Int. 2004 Apr;15(4):290-4. doi: 10.1007/s00198-003-1567-0. Epub 2004 Jan 13. PMID: 14722627.
  3. Hu, X., Cheng, H., He, S., & Zhai, G. (2018). Progress in the Study of Calcium Formulations. Res. Rev. Drug Deliv., 2, 1-12.
  4. Straub, D. A. (2007). Calcium supplementation in clinical practice: a review of forms, doses, and indications. Nutrition in clinical practice, 22(3), 286-296.
  5. European Food Safety Authority (EFSA). (2009). Calcium ascorbate, magnesium ascorbate and zinc ascorbate added for nutritional purposes in food supplements. EFSA Journal, 7(3), 994.