condition lead to covid

คุณอาจจะเคยได้ยิน หรือคุ้นๆมาว่า โรคประจำตัวบางอย่างอาจทำให้มีความเสี่ยงในการติดเชื้อ COVID-19 แบบรุนแรงได้

คุณอาจจะเคยได้ยิน หรือคุ้นๆมาว่า โรคประจำตัวบางอย่างอาจทำให้มีความเสี่ยงในการติดเชื้อ COVID-19 แบบรุนแรงได้ เช่น เบาหวาน หอบหืด และโรคหัวใจ และคุณอาจเกิดคำถามต่อว่า “ทำไมโรคเหล่านี้ถึงเพิ่มความรุนแรงของอาการได้ล่ะ”​?

โรคเรื้อรังเหล่านี้ พบว่าส่งผลกระทบประชากรไทยที่เป็นผู้ใหญ่ ประมาณ 7 ใน 10 คน เลยทีเดียว ซึ่งหมายความว่า คนใกล้ตัวเรา หรือคนรอบข้างเราที่มองภายนอกอาจดูเหมือนจะแข็งแรงดี แต่ลึกๆแล้ว อาจมีโรคเรื้อรังเหล่านี้แฝงอยู่ ซึ่งแต่ละโรคก็มีลักษณะของอาการต่างกันไป แต่สิ่งเดียวที่มีเหมือนกันคือการที่โรคเหล่านี้ส่งผลกระทบต่อระบบภูมิคุ้มกันในร่างกาย ซึ่งหากระบบภูมิคุ้มกันของเรานั้นอ่อนแอลง ก็อาจจะทำให้ได้รับเชื้อง่ายขึ้น และส่งผลให้เชื้อที่ได้รับเข้ามาในร่างกายนั้นก่อให้เกิดอาการรุนแรงตามมา

แล้วเบาหวาน หรือ ภาวะน้ำตาลในเลือดสูง ส่งผลกับภูมิคุ้มกันของเราอย่างไรบ้าง?

 

 

เบาหวานเป็นโรคที่เกิดจากการที่ร่างกายของเรา สร้าง หรือตอบสนองต่อฮอร์โมนอินซูลินได้ไม่ดี ส่งผลให้การควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดผิดปรกติ และเกิดภาวะระดับน้ำตาลในเลือดสูงตามมา อาการนี้เราจะเรียกว่า ภาวะน้ำตาลในเลือดสูง(hyperglycemia)

ซึ่งพบว่าคนที่มีภาวะน้ำตาลในเลือดสูงแบบเรื้อรังเนี่ย หรือที่เรียกกันว่าโรคเบาหวาน ( ทั้งประเภทที่ 1 และ ประเภทที่2 ) จะส่งผลต่อระบบภูมิคุ้มกันของเรา โดยการไปทำลายหรือลดการทำงานของเซลล์เม็ดเลือดขาว เช่น นิวโทรฟิล(neutrophils) และ ที เซลล์(T cells) ซึ่งเป็นสองทหารเสือที่ต่อสู้กับเชื้อโรคอันตรายทั้งหลายได้แก่ ไวรัส สารพิษ และแบคทีเรีย ซึ่งนี่ก็เป็นสาเหตุที่ว่าทำไมในช่วงที่ผ่านมาถึงพบว่ามีการติดเชื้อในผู้ที่เป็นเบาหวานสูง นอกจากนี้ ภาวะน้ำตาลในเลือดสูงนั้นยังไปลดทอนกำลังในการกำจัดสารพิษของร่างกาย หรือระบบต้านอนุมูลอิสระอีก

และยิ่งไปกว่านั้น คนที่พบว่าเป็นโรคเบาหวานแล้วควบคุมระดับน้ำตาลได้ไม่ดีนั้น จะส่งผลให้การไหลเวียนเลือดในร่างกายลดลงอีก เนื่องจากการที่ระดับน้ำตาลในเลือดสูงนั้น ส่งผลให้ความหนืดในเลือดสูงขึ้น ทำให้การไหลเวียนเป็นไปได้ช้าลง และยากที่จะไปยังบริเวณต่างๆที่มีหลอดเลือดขนาดเล็ก เช่น ดวงตา หัวใจ เส้นประสาท เท้า แขน หรือแม้กระทั่งไต ทำให้การส่งเซลล์เม็ดเลือดขาวไปกำจัดสารพิษหรือเชื้อโรคนั้น เป็นไปได้ช้าลง

แล้วโรคหัวใจส่งผลกับภูมิคุ้มกันของเราอย่างไรบ้าง? 

 

 

โรคหัวใจ ซึ่งหมายรวมถึงกลุ่มอาการของ โรคหลอดเลือดหัวใจ โรคหัวใจที่เป็นมาแต่กำเนิด หรือภาวะใดๆก็ตามที่ส่งผลต่อกล้ามเนื้อหัวใจ ลิ้นหัวใจ และจังหวะการเต้นของหัวใจผิดปรกติ แล้วส่งผลทำให้การไหลเวียนของเลือดนั้นเป็นไปได้ยากขึ้น หรือพบว่ามีหลอดเลือดตีบตันร่วมด้วย และอาจส่งผลเสียต่อภาวะหัวใจวายและโรคหลอดเลือดสมองได้ ซึ่งภาวะที่กล่าวมาจะส่งผลคล้ายๆกันกับสาเหตุของการติดเชื้อรุนแรงในผู้ป่วยโรคเบาหวาน คือการที่ระบบไหลเวียนเลือดผิดปกติ ทำให้ระบบภูมิคุ้มกันนั้นทำหน้าที่ได้ไม่ดีเท่าที่ควร

ในคนที่เป็นโรคหัวใจนั้น ระบบภูมิคุ้มกันจะรับรู้ถึงการมีพล้าคและคลอเลสเตอรอล ภายในผนังหลอดเลือด และรับรู้ได้ว่าสิ่งนี้คือสิ่งแปลกปลอม และต้องกำจัด นี่เป็นกระบวนการในช่วงแรกที่ระบบภูมิคุ้มกันของเราทำงาน หลังจากนั้น ร่างกายก็จะค่อยๆพยายามเพิ่มกำลังในการกำจัดสิ่งที่มาอุดตันอยู่ตามผนังหลอดเลือดเหล่านั้น จนเกิดการอักเสบเรื้อรังบริเวณดังกล่าว อาจจกล่าวโดยคร่าวว่า เปรียบเสมือนระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายถูกเบี่ยงเบนความสนใจจากจุดอื่นๆ มายังจุดนี้กันหมด จนส่งผลต่อระบบภูมิคุ้มกันโดยรวม

นอกจากนี้โรคหัวใจยังส่งผลต่อการทำงานของปอดอีกด้วย หัวใจที่ได้รับความเสียหายนั้น จะส่งผลให้การสูบฉีดเลือดที่ส่งมาจากปอดไปยังส่วนต่างๆของร่างกายได้ประสิทธิภาพน้อยลง และอาจส่งผลให้ความดันภายในหลอดเลือดที่รับเลือดดีมาจากปอด (Pulmonary vein) ก่อนจะส่งไปยังส่วนต่างๆของร่างกายนั้นสูงขึ้น และอาจดันให้เกิดเลือดย้อนกลับไปยังปอดได้ ซึ่งจะส่งผลให้เกิดภาวะหายใจลำบาก และทำให้การติดเชื้อ COVID-19 นั้นรุนแรงมากขึ้น

แล้วคนที่เป็นโรคปอดเรื้อรัง อย่างเช่น โรคหลอดลมอุดกั้น(COPD), โรคหอบหืด และ กรณีที่มีพังผืดที่ปอด ส่งผลอย่างไรกับระบบภูมิคุ้มกันบ้าง?

 

 

ภาวะการเจ็บป่วย ที่ระบบทางเดินหายใจดังที่กล่าวมานั้น เป็นกลุ่มโรคที่จะมีปัญหาเรื่องการอุดกลั้นระบบทางเดินหายใจ ทำให้หายใจได้ยากลำบากมากขึ้น ซึ่งโรคเหล่านี้ส่งผลโดยตรงกับระบบภูมิคุ้มกันโดยไปกระตุ้นเซลล์ปอดให้อักเสบมากขึ้น โดยเฉพาะในกลุ่มที่พบร่วมกับการอักเสบที่ปอดอยู่แล้ว

การอักเสบที่เซลล์เนื้อเยื่อปอดนั้น จะยิ่งทำให้ปอดได้รับความเสียหายไปเรื่อยๆในระยะยาว และทำให้ระบบภูมิคุ้มกันในระบบทางเดินหายใจแย่ลง ทำให้ไวรัสอย่างเจ้า COVID-19 นั้นยิ่งอันตรายมากขึ้นไปอีก

แล้วในกลุ่มที่มีภูมิคุ้มกันบกพร่อง หรือผู้ป่วยมะเร็งที่ได้รับยาอยู่ล่ะ ?

การที่ร่างกายมีภูมิคุ้มกันบกพร่องลง หมายความว่า ร่างกายนั้นยากที่จะต่อสู้กับเชื้อโรคอยู่แล้ว และสาเหตุที่คนเราจะมีภูมิคุ้มกันอ่อนกำลังลงนั้นมีได้จากหลายอย่าง เช่น คนที่กำลังได้รับการรักษามะเร็งและต้องรับประทานยาหรือได้รับยาบางอย่างอยู่ หรือคนที่กำลังจะต้องปลูกถ่ายไขกระดูกหรืออวัยวะอื่นๆ หรือแม้กระทั่งคนที่มีเชื้อ HIV อยู่แล้วและควบคุมได้ไม่ค่อยดี

ซึ่งคนที่ภูมิคุ้มกันอ่อนกำลังลงนั้นจะสร้าง ที-เซลล์ (T cells) , แมโครฟาจ (macrophages) และสิ่งต่างๆที่เป็นหัวใจสำคัญของระบบภูมิคุ้มกันได้น้อยลง และเมื่อร่างกายได้รับไวรัส COVID-19 เข้ามา (ซึ่งถึงเป็นไวรัสที่มีความรุนแรงสูง) ระบบภูมิคุ้มกันก็อาจจะต่อสู้กับเชื้อตัวนี้ได้ไม่ดีเท่าที่ควร

ท้ายสุดแล้ว ถึงแม้คุณจะมีโรคประจำตัวดังที่กล่าวมา ที่อาจทำให้ความรุนแรงของเชื้อ COVID-19 รุนแรงขึ้นได้ แต่หากดูแลตัวเองได้ดี ออกกำลังกายอย่างพอเหมาะ ไม่หักโหมจนเกินไป ควบคุมระดับน้ำตาล ระดับไขมัน หรือมีการรับประทานยาประจำตัวอย่างถูกต้องและสม่ำเสมอ ความเสี่ยงที่จะมีอาการรุนแรงจากการติดเชื้อหวัด หรือเชื้อ COVID-19 นั้นก็จะลดลง

ซึ่งสิ่งที่ดีที่สุดที่เราทำได้ในสถานการณ์การระบาดของ COVID-19 นี้คือการที่เราต้องมีสติ รับฟังข่าวสารและคัดกรองข่าวสารที่ได้รับอย่างมีวิจารณญาณ รวมถึงการดูแลสุขภาพร่างกายให้แข็งแรง และพยายามไม่เอาตัวเองไปยังที่ๆมีคนอยู่เยอะ ก็จะช่วยให้เราสามารถป้องกันการติดเชื้อนี้ได้

หากคุณสนใจติดตามเรื่องราว หรือเรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับการดูแลตัวเองในช่วงสถานการณ์นี้ เราแนะนำให้อ่านบทความที่เขียนโดยทีมแพทย์ของเราได้เพิ่มเติมที่นี่เลยค่ะ

การตรวจ DNA เพื่อวิเคราะห์หาแนวโน้มการขาดวิตามินและแร่ธาตุ ความไวต่ออาหาร การออกกำลังกายที่เหมาะสม รวมถึงความเสี่ยงในการเกิดโรคต่างๆมากถึง 12 โรค

จะช่วยให้คุณสามารถปรับเปลี่ยนไลฟ์สไตล์ในการชีวิตไปในทางที่ดีขึ้นได้ และตรงจุดมากขึ้น สามารถสั่งซื้อชุดตรวจ DNA ได้ที่ ลิงค์นี้เลยค่ะ

คุณสามารถใช้โปรโมชันโค้ดนี้ : 1FREE1

สำหรับสั่งซื้อชุดตรวจ DNA ในโปรโมชัน 1 แถม 1 ได้ตลอดเวลา


บทความนี้อ้างอิงจาก