foods support immune

มีการอ้างอิงถึงสรรพคุณของผลิตภัณฑ์เสริมอาหารต่างๆ มากมายในช่วงวิกฤตการแพร่ระบาดของไวรัส COVID-19 ซึ่งมีข้อมูลมากมายที่มนุษย์เราได้ค้นพบ

มีการอ้างอิงถึงสรรพคุณของผลิตภัณฑ์เสริมอาหารต่างๆ มากมายในช่วงวิกฤตการแพร่ระบาดของไวรัส COVID-19 ซึ่งมีข้อมูลมากมายที่มนุษย์เราได้ค้นพบ ในขณะเดียวกันก็ยังมีข้อมูลอีกมากที่เรายังไม่ทราบถึงที่มาที่ไปและกำลังหาคำตอบกันอยู่ ดังนั้นสิ่งสำคัญคือการไม่ตื่นตระหนกจนเกินไป และเริ่มต้นดูแลสุขภาพด้วยความตระหนัก เริ่มต้นด้วยภาพรวมของวิตามินและแร่ธาตุที่จำเป็น รวมถึงสมุนไพรต่างๆ ที่วันนี้เราได้รวบรวมมานำเสนอให้คุณ

วิตามินและแร่ธาตุที่จำเป็น

 

1. วิตามินและเกลือแร่ : พื้นฐานของการดูแลสุขภาพเริ่มจากการได้รับสารอาหารที่ดี จะดีกว่าถ้าเรารับประทาน วิตามินและแร่ธาตุต่างๆ ตามความต้องการของร่างกายซึ่งผล DNA ของคุณจะช่วยบอกได้ว่าร่างกายคุณมีแนวโน้มจะขาดวิตามินชนิดใดบ้าง หรือถ้าหากคุณยังไม่ได้รับการวิเคราะห์ผล DNA หรือไม่แน่ใจว่าจะรับประทานวิตามินยี่ห้อไหนดี อาจจะลองเลือกมาเลยสักหนึ่งยี่ห้อ ดูที่มีคุณภาพ พร้อมทั้งมีวิตามินและแร่ธาตุรวมกันหลายชนิด

 

 

2. วิตามิน D3 : การได้รับวิตามิน D อย่างเพียงพอนั้นสำคัญมากสำหรับการเสริมสร้างภูมิต้านทานให้แก่ร่างกาย ซึ่งการรับประทานวิตามิน D เสริมจากอาหารเสริมจะช่วยให้เราได้รับสารอาหารชนิดนี้อย่างพอเพียง และรวดเร็ว จากงานวิจัยพบว่าคนที่ขาดวิตามิน D นั้นมีความเสี่ยงที่จะติดหวัด หรือเป็นไข้หวัดมากกว่าคนทั่วไปถึง 11 เท่า ในขณะที่การรับประทานวิตามิน D เสริมนั้น จะช่วยลดความเสี่ยงเหล่านั้นมากถึง 42% ถ้าหากการตรวจ DNA พบว่าคุณมีความเสี่ยงที่จะขาดวิตามิน D แล้วนั้น การตรวจเลือดเพื่อยืนยันว่าระดับวิตามิน D ในเลือด ชนิด 25-OH มีปริมาณไม่ต่ำกว่า 30 ng/ml ก็จะช่วยให้เราสามารถปรับปริมาณของวิตามินที่เราควรจะเสริมได้ดีทีเดียว สำหรับผู้ใหญ่ อาจจะเริ่มที่ 2,000 IU ต่อวัน ส่วนสำหรับเด็กนั้น ประมาณ 1,000 IU ต่อวันก็เพียงพอแล้ว

 

 

3. วิตามิน C รูปแบบ Buffered : บทบาทของวิตามิน C ในการเสริมสร้างภูมิคุ้มกันนั้นเป็นที่ศึกษากันมานาน โดยเลือกรับประทาน 500-1,000 mg ต่อวัน ขึ้นอยู่กับว่าคุณมีแนวโน้มจะขาดวิตามิน C หรือเปล่า

 

 

4. อาหารที่มีสังกะสี : คุณควรเลือกรับประทานอาหารที่อุดมไปด้วยสังกะสี เนื่องจากว่าแร่ธาตุชนิดนี้จะช่วยเสริมสร้างภูมิคุ้มกันให้กับร่างกายได้ดีเลยทีเดียว โดยเฉพาะในหอยนางรม เนื้อแดง รวมถึงที่หารับประทานได้ง่ายๆเช่น เมล็ดฟักทอง ซึ่งเป็นแหล่งของสังกะสีชั้นดี สำหรับปริมาณที่ควรรับประทานต่อวันเท่ากับ 30 มก.

 

 

5. โพรไบโอติกส์ : แบคทีเรียชนิดดีในลำไส้ จะช่วยเสริมสร้างให้ภูมิคุ้มกันในระบบทางเดินอาหารเราดีขึ้น ถ้าหากจะเลือกรับประทานในชนิดอาหารเสริม แนะนำว่าควรมีปริมาณเชื้อจุลินทรีย์อย่างน้อยๆ 5-10 หมื่นล้านตัวต่อแคปซูล โดยจุลินทรีย์ชนิด Lactobacillus plantarum จะช่วยเสริมสร้างภูมิต้านทานได้อย่างดีเยี่ยม แต่ถ้าหากไม่รู้ว่าจะซื้อโพรไบโอติกส์ได้ที่ไหน ง่ายที่สุดคือรับประทานโยเกิร์ตซึ่งสามารถสั่งซื้อได้ง่ายๆจากร้านค้าออนไลน์ในระหว่างที่ต้องทำ Social Distancing

 

 

6. น้ำมันตับปลา : อาหารเสริมสูตรนี้ ได้มีการส่งต่อกันมาเป็นเวลานานมากแล้ว และยังคงฮอตฮิตอยู่ในปัจจุบัน นอกเหนือไปจากได้รับไขมันดีๆจากปลาแล้ว ในตับปลาเช่น ปลาค็อด ยังอุดมไปด้วยวิตามิน A และวิตามิน D ซึ่งช่วยเสริมสร้างภูมิต้านทานได้ดีเลย

 

 

7. สารสกัดจากเห็ด : สารสกัดจากเห็ดไมตาเกะ ชิตาเกะ เป็นต้น หรือแม้กระทั่งถังเช่า ล้วนแล้วแต่ช่วยเสริมสร้างภูมิต้านทานได้ดี แต่ถ้าหากไม่รู้จะรับประทานยี่ห้อไหน ลองคิดเมนูเห็ดง่ายๆ เช่น ไก่ผัดขิง ซึ่งคุณสามารถเลือกใช้ เห็ดหูหนู ที่หาได้ง่ายๆ หรือหากแอดวานซ์สักเล็กน้อยก็เป็น เห็ดไมตากะ นอกจากเห็ดแล้วเมนูนี้ยังมีขิง ซึ่งช่วยเสริมภูมิต้านทานได้ดีเยี่ยม

 

เมนูไก่ผัดขิง เสริมภูมิคุ้มกัน

 

 

8. Resveratrol : สารแอนตี้ออกซิแดนท์ชนิดนี้พบมากในเปลือกองุ่นแดง หากเลือกรับประทานองุ่นแดงปลอดสารพิษหลังมื้อเย็น จะช่วยให้ร่างกายได้รับสารต้านอนุมูลอิสระที่เข้มข้นมากๆ ทำให้เซลล์มีสุขภาพดี และยังช่วยป้องกันการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจ และช่วยฟื้นฟูร่างกายหลังจากการออกกำลังกายได้ด้วย 


ที่กล่าวมานี้ ไม่ได้หมายความว่าต้องรับประทานทั้งหมดนะครับ อาจจะลองเริ่มจากวิตามินและแร่ธาตุเสริมก่อน นอกจากนี้ผู้เขียนขอให้ทุกคนใช้ชีวิตด้วยความไม่ประมาท หลีกเลี่ยงการไปยังที่ๆมีโอกาสเสี่ยงจะติดเชื้อ แต่ไม่ต้องวิตกกังวลจนเกินไป ดูแลตัวเองและครอบครัวให้ดีที่สุด ผู้เขียนเชื่อว่าการสร้างบรรยากาศดีๆเหล่านี้ให้กับคนในครอบครัว ทำอาหารรับประทานเองภายในบ้านโดยเลือกวัตถุดิบที่ช่วยเสริมสร้างภูมิต้านทาน เราทุกคนจะสามารถผ่านวิกฤติครั้งนี้ไปได้อย่างแน่นอน

References:

https://www.ncbi.nlm.nih.gov/books/NBK532266/

https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC4202470/

https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC6317057/

https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC5707683/

https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC3636409/