probiotic prebiotic

Probiotic กับ Prebiotic ต่างกันอย่างไร และมีวิธีการเลือกซื้ออย่างไร วันนี้เรามีคำตอบ

หลังจากที่ทุกท่านได้อ่านเกี่ยวกับ ยีนของจุลินชีพในร่างกายเราสำคัญไฉน? ไปแล้วนั้น หลายท่านอาจจะได้ตระหนักถึงความสำคัญที่ชีวิตของคนเราต้องอาศัยอยู่ร่วมกับจุลินชีพเหล่านี้

เนื่องจากจุลินชีพเหล่านี้ไม่ได้ช่วยเราเพียงแค่เรื่องของการขับถ่ายที่ดีเท่านั้น แต่ยังรวมไปถึงเรื่องอื่น ๆ อีกมากมายที่จะทำให้เรามีสุขภาพที่ดี มีส่วนช่วยป้องกัน บรรเทา และรักษาโรคต่าง ๆ ได้ ขึ้นอยู่กับสายพันธุ์ของจุลินชีพว่าจะมีความสามารถทางด้านไหนเป็นพิเศษ ซึ่งอ้างอิงตามงานวิจัย

ซึ่งหากเรามีความไม่สมดุลของจุลินชีพเกิดขึ้นในลำไส้ ก็จะทำให้เกิดโรคต่าง ๆ ตามมา ความไม่สมดุลของจุลินชีพได้แก่ 

  1. เชื้อตัวดีน้อยลง
  2. เชื้อตัวร้ายมากขึ้น
  3. ความหลากหลายทางชีวภาพของจุลินชีพน้อยลง  

และในเมื่อเรารู้ถึงความสำคัญแล้ว หลาย ๆ ท่านคงต้องการที่จะหาซื้อมารับประทานเป็นอาหารเสริมกันแล้ว วันนี้ทาง Geneus DNA จะมาแนะนำว่าเราควรที่จะเลือกซื้อ Prebiotic หรือ Probiotic อย่างไรถึงจะเหมาะสมสำหรับตัวเรามากที่สุด

Prebiotic

 

 

Prebiotic นั้นคืออาหารของจุลินชีพชนิดดี ที่ร่างกายของเราไม่สามารถย่อยหรือดูดซึมเอาไปใช้งานได้ โดยส่วนมากแล้ว Prebiotic จะเป็นสารอาหารชนิดคาร์โบไฮเดรต แต่ก็มีบางส่วนที่ไม่ใช่คาร์โบไฮเดรต เช่น กรดไขมัน phenolics และ phytochemicals ต่างๆ

โดยสารที่เป็น Prebiotic ชื่อดังได้แก่ oligosaccharides ที่สามารถเกิดการหมักได้ เช่น inulin, fructooligosaccharides(FOS) และ galactooligosaccharides (GOS) และนอกไปจากนั้นยังมีพวกไฟเบอร์ต่างๆ ที่เราได้

 

แผนภาพแสดงถึงสารที่เป็น Prebiotic และไม่ใช่ Prebiotic

 

ดังนั้น โดยปกติคนที่รับประทานผักและผลไม้อย่างเพียงพอ ก็มักจะได้รับสาร Prebiotic เข้าไปในร่างกายเป็นประจำอยู่แล้วจากกากใยต่าง ๆ แต่หากคิดว่ารับประทานผักและผลได้ไม่เพียงพอก็สามารถรับประทานในรูปแบบอาหารเสริมต่าง ๆ ที่มีสาร inulin หรือ fructooligosaccharides(FOS) เพิ่มเติมได้เลยครับ

Probiotic

Probiotic หมายความถึงจุลินชีพตัวดีที่ก่อให้เกิดประโยชน์แก่ร่างกายของเรา ซึ่งถูกนำมาใช้ในทางการแพทย์อย่างแพร่หลาย โดยในปัจจุบันนั้นมี Probiotic ให้เลือกรับประทานเสริมได้หลายแบบมาก ๆ ตัวอย่างที่เห็นได้ชัด ๆ นั่นก็คือ โยเกิร์ต กิมจิ และข้าวหมาก ซึ่งอาหารเหล่านี้ล้วนผ่านกรรมวิธีการหมักมาแล้วทั้งสิ้น โดยในอาหารแต่ละชนิด ก็จะมีจุลินชีพที่เด่น ๆ คนละสายพันธุ์แตกต่างกันออกไป และเชื้อจุลินชีพแต่ละตัวก็มีประโยชน์ที่แตกต่างกันออกไปเช่นกัน ยกตัวอย่างเช่น

  • เชื้อราที่ชื่อว่า Saccharomyces boulardii นั้นช่วยลดอุบัติการ การเกิดท้องเสียในเด็กที่ได้รับยาฆ่าเชื้อและช่วยลดอาการของโรคทางเดินอาหารผิดปกติ(IBS, Crohn's)
  • เชื้อแบคทีเรีย lactobacillus fermentum me-3 ช่วยให้ร่างกายสร้างสารต่อต้านอนุมูลอิสระ(Glutathione)

ซึ่งยังมีเชื้ออีกหลายสายพันธุ์ ที่ก่อประโยชน์อีกเยอะแยะมากมาย ซึ่งทาง Geneus จะมาเล่าให้ฟังในบทความถัด ๆ ไป แต่หากใครอยากรู้เพิ่มเติมว่า เชื้อจุลินชีพตัวไหนมีประโยชน์อย่างไรบ้าง สามารถเข้าไปดูได้ที่ Application นี้ได้เลย สามารถ Download ได้ทั้งใน iOS และ Android

 

 

สำหรับเลือกซื้อผลิตพันธ์ Probiotic ที่ปัจจุบันมีหลายยี่ห้อให้เราได้เลือกซื้อจนสับสนไปหมด

หลักการในการเลือกซื้อต้องดูตามนี้

  1. มีสายพันธุ์ของเชื้อ (Strain specified) ระบุไว้ชัดเจน
  2. มีบอกจำนวนของเชื้อ(CFU หรือ Colony Forming Unit)
  3. มีการการันตีว่าเชื้อจะอยู่รอดได้จนถึงวันหมดอายุ
  4. การเก็บรักษา เช่น ในตู้เย็น นอกตู้เย็น และอุณหภูมิเท่าไร

ที่สำคัญ ชื่อของสายพันธุ์นั้นมีผลอย่างมาก เนื่องจากเชื้อคนละ Strain นั้นให้ผลลัพธ์ และมีข้อบ่งชี้ในการใช้ในด้านที่แตกต่างกันออกไป รูปด้านล่างนี้เป็นลำดับการแสดงชื่อตาม Genus, Species และ Strain

 

 

Probiotic ด้านซ้ายนั้นให้ข้อมูลเชื้อได้มากกว่า (มีบอก Strain ด้วย) / ทั้งสองบอกจำนวนเชื้อ (CFU)

 

มีการการันตีต่าง ๆ ว่าจะมีคุณภาพ มีบอกวันหมดอายุ มีบอกวิธีการเก็บรักษา

 

ลักษณะของ Probiotic ที่ดี ได้แก่

  • สามารถเดินทางผ่านกระเพาะอาหารซึ่งมีความเป็นกรดสูง เข้าไปถึงลำไส้ได้โดยยังมีชีวิตอยู่
  • สามารถเกาะกับเนื้อเยื่อผนังลำไส้ได้
  • สามารถมีชีวิตอยู่ในลำไส้ได้นาน
  • สามารถใช้ หรือย่อยสารอาหาร และสารอื่นๆ ที่เรารับประทานเข้าไปได้
  • ไม่มีพิษ ไม่ก่อให้เกิดโรค
  • มีประโยชน์กับ Host
  • อดทนต่อการขนส่งตั้งแต่โรงงาน มายังมือผู้บริโภค

 

น.พ. หลักเขต เหล่าประไพพรรณ

(Anti-aging and Integrative Medicine)

 

Reference :

https://www.uptodate.com