executive functions

ในในสมัยก่อนนั้น เรามักจะไม่ค่อยได้คุ้นชินกับคำว่า EF (Executive Functions) กันมากสักเท่าไรนัก เรามักจะได้ยินก็แต่คำว่า EQ(Emotional Quotient)

 

ในในสมัยก่อนนั้น เรามักจะไม่ค่อยได้คุ้นชินกับคำว่า EF (Executive Functions) กันมากสักเท่าไรนัก เรามักจะได้ยินก็แต่คำว่า EQ(Emotional Quotient)

EF หรือ Executive Functions คืออะไร?

EF คือความสามารถของสมองและจิตใจที่ใช้ในการควบคุมความคิด อารมณ์ และการกระทำเพื่อให้ถึงเป้าหมาย (Cr. ผศ.ดร.ปนัดดา ธนเศรษฐกร)

หลาย ๆ ครั้งที่เราสงสัยว่าเพราะอะไรเด็กคนหนึ่งถึงได้ดีกว่าเด็กอีกคนหนึ่ง คำตอบอยู่ที่ EF นั่งเองโดย EF นั้นต้องประกอบด้วย

  1. เรื่องของสมอง (เนื้อสมองในทางชีววิทยา) รวมไปถึง
  2. อำนาจจิตใจ 

ดังนั้นหากมีสมองที่ไม่ดีพอก็จะเสริมสร้าง EF ได้ยากกว่าปกติ แต่ก็ไม่ใช่เรื่องที่ทำไม่ได้นะครับ

ทักษะสมอง EF ประกอบด้วย 9 ด้าน ได้แก่

  • ทักษะความจำเพื่อใช้งาน (Working Memory)
  • ทักษะยั้งคิดไตร่ตรอง (Inhibition)
  • ทักษะยืดหยุ่นทางความคิด (Shift/Cognitive Flexibility/Flexible Mind)
  • ทักษะควบคุมอารมณ์ (Emotional Control)
  • ทักษะจดจ่อใจใส่ (Focus/ Task Attention)
  • ทักษะติดตามประเมินตนเอง (Self-Monitoring)
  • ทักษะริเริ่มและลงมือทำ (Initialing)
  • ทักษะวางแผนและจัดระเบียบดำเนินการ (Planning and Organizing)
  • ทักษะมุ่งเป้าหมาย (Goal-Directed Persistence)

EF นั้นจะเกิดขึ้นมาเมื่อเด็กพบสถานการณ์ที่ท้าทายร่วมกับมีการวางแผนที่สลับซับซ้อนในการแก้ปัญหา หรือสถานการณ์ที่ท้าทายให้มีการคิดวิเคราะห์ โดย EF จะเกิดได้ดีเมื่อมีการลงมือทำด้วยมือหรือการปฏิบัติจริง เนื่องจากมีการกระตุ้นนิ้วมือและระบบประสาทสัมผัสไปที่สมอง การที่จะพัฒนา EF ได้ดีนั้นมีช่วงเวลาของมัน นั่นคือ ช่วงที่เด็กมีอายุน้อยกว่า 10 ปี เนื่องจากหลังเวลาดังกล่าวสมองจะเกิดกระบวนการ synaptic pruning ซึ่งเป็นการตัดแต่งวงจรประสาท วงจรไหนที่ใช้บ่อยก็จะถูกเก็บไว้ วงจรไหนที่ไม่ได้ใช้ก็จะถูกย่อยสลายไป วงจรประสาทที่รองรับ EF คือวงจรที่เราอยากให้คงอยู่คือการควบคุมตนเองให้ไปถึงเป้าหมาย

บรรได 7 ขั้นจาก EF

  1. ช่วงอายุ 12 เดือนแรกต้องมี ความไว้ใจ(trust) สร้างแม่ที่มีอยู่จริงขึ้นมา ทำได้ด้วยการเลี้ยงลูกด้วยตนเองให้ได้มากที่สุด ใช้เวลากับเด็กให้ได้มากที่สุด อุ้ม กอด บอกรัก ให้นม โอ๋ ทำความสะอาด จนเด็กเกิดความไว้ใจ พ่อและแม่ ไว้ใจโลก
  2. ช่วงอายุ 2-3 ปี เป็นช่วงที่ต้องเน้นสร้างสายสัมพันธ์(Attachment) ให้ลูกรู้ว่ายังมีพ่อและแม่คอยให้กำลังใจอยู่เบื้อหลัง ไม่มีวันทอดทิ้งเราไปไหน
  3. ช่วงปลายอายุ 3 ปี มีการสร้างตัวตน(Self) มีการแยกตัวตนออกมา เป็นตัวของตัวเอง แยกจากบุคคลอื่นโดยสิ้นเชิง
  4. ช่วงอายุ 3-5 ปี เป็นช่วงที่สร้างความเชื่อมั่นในตนเอง(Self esteem) เป็นช่วงที่เด็กจะทดสอบกติกาว่ามีอะไรบ้างที่สามารถทำได้ และมีอะไรบ้างที่ไม่สามารถทำได้ หากทำได้และมีคนคอยชื่นชมก็จะเกิด Self esteem ที่ดี มีความมั่นใจในตัวเอง
  5. ช่วงอายุ 3-7 ปี เป็นช่วงที่มีการฝึกควบคุมตนเอง(Self control) ต้องรู้จักควบคุมตัวเองว่า อะไรบ้างสามารถทำได้ อะไรบ้างไม่สามารถทำได้ ไม่ทำตามอำเภอใจไปทั้งหมด เริ่มตั้งแต่เรื่องใกล้ตัว ไปยังเรื่องภายในบ้าน และเรื่องสาธารณะ
  6. ช่วงอายุ 3-7 ปี เป็นช่วงที่ฝึก EF ได้เป็นอย่างดีที่สุด ประกอบไปด้วยการควบคุมตนเอง การบริหารความจำใช้งาน(Working memory) และการวิเคราะห์อย่างยืดหยุ่น โดยทุกอย่างจะเกิดขึ้นได้เมื่อมีการลงมือทำ ลงมือเล่นเพื่อบรรลุเป้าหมาย หรือทำงานบางอย่างเพื่อให้บรรลุเป้าหมายอย่างเช่น การทำงานบ้าน เป็นต้น
  7. ช่วงอายุ 7-20 ปี เป็นช่วงเวลาแห่งการเรียนรู้ในโรงเรียน เรียนรู้ทั้งวิธีการคิดวิเคราะห์ และเนื้อหาทางวิชาการโดยวิธีที่ดีในปัจจุบันที่โรงเรียนทันสมัยใช้นั่นคือ การสอนเด็กแบบ PBL(Problem-based Learning) คือการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน โดยปัญหานั้นเป็นเรื่องที่ใกล้ตัวและเกี่ยวข้องสัมพันธ์กับผู้เรียน อาจเป็นเรื่องที่ผู้เรียนสนใจหรือ มีความหมายกับผู้เรียนที่สามารถนำมาสร้างกระบวนการเรียนรู้ได้โดยปัญหา

หากว่าเราสามารถเลี้ยงเด็กได้ตามบรรได 7 ขั้นตามช่วงอายุผมเชื่อว่า ผลลัพธ์ที่เด็กจะได้ออกมานั้นจะสามารถเป็นเด็กที่ดีได้ และเป็นเด็กที่เก่งได้ด้วยตัวเองในอนาคตอย่างแน่นอน เพราะเด็กที่มี EF ดี จะสามารถควบคุมตนเองได้เป็นอย่างดี เพื่อให้บรรลุเป้าหมายที่ตนเองวางไว้ ไม่วอกแวกไปในทางที่มิดีมิชอบ ถึงแม้จะไม่มีผู้ปกครองอยู่คอยควบคุมความประพฤติแล้วก็ตาม

 

น.พ. หลักเขต เหล่าประไพพรรณ

(Anti-aging and Integrative Medicine)

 

Cr. หนังสือเลี้ยงลูกอย่างไรให้ได้ EF โดยนายแพทย์ประเสริฐ ผลิตผลการพิมพ์