สังเกตตัวเองว่ามีอาการ ปัสสาวะเป็นเลือดหรือไม่? เพราะอาจเสี่ยงเป็นโรคมะเร็งกระเพาะปัสสาวะได้ แล้วจะรู้ได้อย่างไรว่า เรามีโอกาสเป็นมะเร็งกระเพาะปัสสาวะมากน้อยแค่ไหน บทความนี้มีคำตอบ
การพบว่าปัสสาวะมีสีแดงหรือสีน้ำตาล อาจเป็นสัญญาณของภาวะที่เรียกว่า ปัสสาวะเป็นเลือด (Hematuria) ซึ่งไม่เพียงแต่บ่งบอกถึงปัญหาสุขภาพทั่วไป แต่ยังอาจเป็นสัญญาณของ โรคมะเร็งกระเพาะปัสสาวะได้อีกด้วย การทำความเข้าใจสาเหตุของปัสสาวะเป็นเลือด, สาเหตุของมะเร็งกระเพาะปัสสาวะ, อาการที่เกี่ยวข้อง, และการตรวจยีนเพื่อประเมินความเสี่ยง จะช่วยให้คุณสามารถจัดการ และรักษาสุขภาพได้อย่างถูกต้อง
ปัสสาวะเป็นเลือด อาจเป็นสัญญาณเตือนโรคมะเร็งกระเพาะปัสสาวะได้
ปัสสาวะเป็นเลือดเกิดจากอะไร
ปัสสาวะเป็นเลือด (ฉี่เป็นเลือด) คือภาวะที่มีเลือดปนอยู่ในปัสสาวะ ซึ่งอาจมีสาเหตุมาจากหลายปัจจัยที่แตกต่างกัน เช่น
- การติดเชื้อในทางเดินปัสสาวะ (UTI): การติดเชื้อที่กระเพาะปัสสาวะหรือไตอาจทำให้เกิดเลือดในปัสสาวะได้ โดยอาจมีอาการอื่นๆ ที่มักเกิดร่วมด้วย ได้แก่ ความรู้สึกแสบร้อนเมื่อปัสสาวะ, ปัสสาวะบ่อย, และอาจมีไข้
- การบาดเจ็บที่ไตหรือกระเพาะปัสสาวะ: การบาดเจ็บจากการกระแทกหรือการตกจากที่สูง อาจทำให้มีเลือดออกในกระเพาะปัสสาวะหรือไต ซึ่งจะส่งผลให้ปัสสาวะมีสีแดงได้
- นิ่วในกระเพาะปัสสาวะ: นิ่วที่เกิดขึ้นในกระเพาะปัสสาวะหรือไต สามารถทำให้เกิดการระคายเคือง และมีเลือดปนในปัสสาวะได้ นอกจากนี้การเคลื่อนที่ของนิ่วในทางเดินปัสสาวะ ยังอาจทำให้เกิดการอักเสบและเลือดออกด้วย
- การอักเสบของกระเพาะปัสสาวะ: การอักเสบที่เกิดจากการติดเชื้อ หรือการระคายเคืองจากยาหรือสารเคมี สามารถทำให้มีเลือดปนในปัสสาวะได้เช่นกัน
อาการของโรคมะเร็งกระเพาะปัสสาวะ
หากท่านเริ่มมีความกังววลว่า อาจป่วยเป็นมะเร็งกระเพาะปัสสาวะ ให้ลองสังเกตอาการเบื้องต้นเหล่านี้
- ปัสสาวะเป็นเลือด: อาการนี้มักเป็นสัญญาณที่พบได้บ่อยในมะเร็งกระเพาะปัสสาวะ ซึ่งปัสสาวะอาจมีสีแดงสดหรือสีน้ำตาล ขึ้นอยู่กับปริมาณเลือดที่ปนอยู่
- ปัสสาวะบ่อยหรือรู้สึกเจ็บปวดเมื่อปัสสาวะ: ผู้ป่วยที่เสี่ยงเป็นมะเร็งกระเพาะปัสสาวะ อาจรู้สึกเจ็บปวดหรือไม่สบายเมื่อปัสสาวะ รวมถึงมีความรู้สึกอยากปัสสาวะบ่อยผิดปกติ
- ปวดบริเวณกระเพาะปัสสาวะ: อาการปวดในบริเวณท้องน้อย อาจเกิดขึ้นพร้อมกับการปัสสาวะเป็นเลือด ซึ่งอาจส่งผลต่อคุณภาพชีวิต และความเป็นอยู่ของผู้ป่วย
สาเหตุของโรคมะเร็งกระเพาะปัสสาวะ
มะเร็งกระเพาะปัสสาวะ เป็นมะเร็งที่เกิดขึ้นในกระเพาะปัสสาวะ ซึ่งอาจทำให้ฉี่เป็นเลือดได้ โดยสาเหตุของมะเร็งกระเพาะปัสสาวะเกิดได้จากหลายอย่าง ดังนี้
- การสูบบุหรี่: การสูบบุหรี่เป็นปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญที่สุดสำหรับการเกิดโรคมะเร็งกระเพาะปัสสาวะ เพราะสารเคมีในบุหรี่สามารถถูกขับออกจากร่างกายผ่านปัสสาวะ ซึ่งจะทำให้เกิดการระคายเคือง และอักเสบในกระเพาะปัสสาวะจนเสี่ยงเป็นมะเร็งได้
- สารเคมีอันตราย: การทำงานในสถานที่ที่มีการสัมผัสสารเคมีอันตราย เช่น สารอะนิลีน (Aniline), สารที่ใช้ในอุตสาหกรรมสี, ยาง, พลาสติก, และสารที่ใช้ในกระบวนการผลิตยาหรือสารเคมีอื่นๆ เพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งกระเพาะปัสสาวะได้เช่นกัน
- การติดเชื้อทางเดินปัสสาวะเรื้อรัง: การติดเชื้อทางเดินปัสสาวะซ้ำๆ หรือการอักเสบในกระเพาะปัสสาวะเรื้อรัง อาจเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งได้
- การได้รับการฉายแสงที่บริเวณอุ้งเชิงกราน: ผู้ที่เคยได้รับการฉายแสงบริเวณอุ้งเชิงกรานเพื่อรักษามะเร็งในอวัยวะอื่นๆ เช่น มะเร็งต่อมลูกหมาก อาจมีความเสี่ยงที่จะเกิดมะเร็งกระเพาะปัสสาวะเพิ่มขึ้น
- ประวัติครอบครัว: ผู้ที่มีประวัติครอบครัวเป็นมะเร็งกระเพาะปัสสาวะ หรือโรคทางพันธุกรรมที่เพิ่มความเสี่ยงต่อมะเร็ง อาจมีความเสี่ยงสูงขึ้น
- อายุและเพศ: มะเร็งกระเพาะปัสสาวะพบมากในผู้ชายมากกว่าผู้หญิง และมีแนวโน้มความเสี่ยงเพิ่มขึ้นเมื่ออายุมากขึ้น โดยเฉพาะในผู้ที่มีอายุมากกว่า 55 ปี
การป้องกันมะเร็งกระเพาะปัสสาวะสามารถทำได้โดยการหลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่ และการสัมผัสสารเคมีอันตราย รักษาความสะอาดและสุขอนามัยของระบบทางเดินปัสสาวะ และพบแพทย์เพื่อตรวจร่างกายเป็นประจำเพื่อเฝ้าระวังความเสี่ยงต่อการเกิดโรค
การตรวจยีนหาแนวโน้มความเสี่ยงโรคมะเร็งกระเพาะปัสสาวะ
การตรวจยีนจากสาย DNA สามารถช่วยประเมินความเสี่ยงในการเกิดมะเร็งกระเพาะปัสสาวะได้
- การตรวจหายีนที่เกี่ยวข้องกับมะเร็ง: การตรวจสอบความผิดปกติของยีนที่อาจเกี่ยวข้องกับความเสี่ยงของมะเร็งกระเพาะปัสสาวะ เช่น ยีนที่มีความสัมพันธ์กับการตอบสนองต่อสารเคมีหรือยาที่อาจทำให้เกิดมะเร็ง
- การประเมินความเสี่ยงจากประวัติครอบครัว: การตรวจสอบประวัติครอบครัวว่ามีผู้ที่ป่วยเป็นโรคมะเร็งหรือไม่ อาจบ่งบอกถึงความเสี่ยง ในการเกิดมะเร็งกระเพาะปัสสาวะของเราได้
นอกจากนี้ท่านยังสามารถประเมินแนวโน้มความเสี่ยงโรคมะเร็งกระเพาะปัสสาวะ ได้ด้วยการใช้บริการ Geneus DNA เพราะทางจีเนียสได้มีการนำเทคโนโลยี Whole Genome-wide Array ที่ล้ำสมัย มาใช้วิเคราะห์ SNPs กว่า 10 ล้านตำแหน่ง ทำให้ได้ข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวกับพันธุกรรมของคุณ ซึ่งสามารถช่วยระบุความเสี่ยงของโรคต่างๆ ที่อาจเกิดขึ้นจากปัจจัยทางพันธุกรรม
ทำให้คุณสามารถวางแผนการดูแลสุขภาพที่เหมาะสม ป้องกันโรคมะเร็งต่างๆ รวมถึงโรคมะเร็งกระเพาะปัสสาวะ และโรคอื่นๆ ได้ตั้งแต่เนิ่นๆ พร้อมวางแผนแนวทางการดูแลตัวเองในอนาคตได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น ซึ่งการตรวจเพียงครั้งเดียว จะสามารถทราบการรายงานผลทางสุขภาพได้มากกว่า 500 รายการ และติดตามผลได้ตลอดชีวิต