คุณเคยสงสัยไหมว่า ถ้าฝาแฝดแท้ 2 คู่ ต่างแต่งงานกันและมีลูก ลูกของพวกเขาจะมีความสัมพันธ์ทางพันธุกรรมอย่างไร? เจาะลึกเรื่องราวของฝาแฝดแท้ และการถ่ายทอด DNA ที่คาดไม่ถึงไปด้วยกัน
หากคู่ฝาแฝดแท้ 2 คู่ มาแต่งงานกันและมีลูก คุณอาจจะสงสัยว่า ลูกๆ ของพวกเขาจะถูกนับเป็น พี่น้อง หรือ ลูกพี่ลูกน้อง กันแน่? บทความนี้จะพาทุกคนไปรู้จักกับความลับทางพันธุกรรม และวิทยาศาสตร์ที่อยู่เบื้องหลังความสัมพันธ์ทางพันธุกรรมของเด็กๆ เหล่านี้ พร้อมเจาะลึกนิยามของฝาแฝดแท้ ฝาแฝดเทียม และการถ่ายทอดพันธุกรรมในครอบครัว ผ่านการปฏิสนธิของฝาแฝดเหล่านี้ไปด้วยกัน
หลายคนอาจเคยสงสัยว่า ทำไมฝาแฝดบางคู่ถึงหน้าตาเหมือนกันอย่างกับแกะ ในขณะที่บางคู่กลับดูแตกต่างกันอย่างชัดเจน ความลับของเรื่องนี้อยู่ที่กระบวนการปฏิสนธิ ซึ่งเป็นตัวกำหนดว่าฝาแฝดจะมีลักษณะเหมือนหรือแตกต่างกัน ซึ่งสามารถสรุปได้ดังนี้
1. การปฏิสนธิแบบปกติ
การปฏิสนธิแบบปกติเริ่มต้นเมื่อไข่จากเพศหญิงถูกปฏิสนธิโดยอสุจิจากเพศชาย หลังจากการปฏิสนธิ ไข่ที่ได้รับการปฏิสนธิจะกลายเป็นเซลล์ที่เรียกว่าไซโกต (zygote) และเริ่มแบ่งตัวกลายเป็นเอ็มบริโอ (embryo) โดยเอ็มบริโอนี้จะพัฒนาเป็นทารกเดี่ยวในครรภ์ต่อไป ซึ่งมีรหัสพันธุกรรมที่ประกอบไปด้วยข้อมูลจากพ่อและแม่อย่างละครึ่ง
2. การปฏิสนธิของฝาแฝดแท้ (Monozygotic Twins)
ฝาแฝดแท้ หรือแฝดจากไข่ใบเดียวกัน เกิดจากการปฏิสนธิของไข่ 1 ใบและอสุจิ 1 ตัว หลังจากที่เกิดการปฏิสนธิ เอ็มบริโอที่ก่อตัวขึ้นจะมีการแบ่งตัวเป็น 2 ส่วนอย่างสมบูรณ์ในช่วงเริ่มต้นของการพัฒนา ทำให้เกิดเป็น 2 เอ็มบริโอที่แยกจากกัน ทั้งสองเอ็มบริโอมีรหัสพันธุกรรมที่เหมือนกันเกือบทุกประการ เนื่องจากพวกเขามาจากไข่และอสุจิเดียวกัน จึงมีลักษณะทางกายภาพ เช่น สีตา สีผม และยีนที่เหมือนกันเกือบจะ 100% ทั้งนี้ในด้านอัตราการเกิดฝาแฝดแท้นั้นถือว่าค่อนข้างต่ำ เพราะฝาแฝดแท้จะมีเพียง 3-4 คู่ต่อการเกิด 1,000 คนเท่านั้น
ลักษณะของฝาแฝดแท้ (Monozygotic Twins)
3. การปฏิสนธิของฝาแฝดเทียม (Dizygotic Twins)
ฝาแฝดเทียม หรือแฝดจากไข่คนละใบ เกิดจากการที่ไข่ 2 ใบจากเพศหญิงถูกปฏิสนธิพร้อมกันโดยอสุจิ 2 ตัวที่แตกต่างกัน ทำให้เกิดเอ็มบริโอ 2 ตัวที่มีรหัสพันธุกรรมต่างกัน เนื่องจากฝาแฝดเทียมเกิดจากไข่และอสุจิที่แตกต่างกัน พวกเขาจึงมีลักษณะทางพันธุกรรม และลักษณะทางกายภาพที่แตกต่างกัน เช่นเดียวกับพี่น้องทั่วไป
ลักษณะของฝาแฝดเทียม (Dizygotic Twins)
สืบเนื่องจากกรณีข่าวดังที่ฝาแฝดแท้เพศหญิง Brittany และ Briana แต่งงานกับฝาแฝดแท้เพศชายอย่าง Josh และ Jeremy ก่อนจะให้กำเนิดลูกชายที่มี DNA เป็นเหมือนพี่น้องแท้ๆ กัน ทั้งที่เป็นเพียงลูกพี่ลูกน้องกันเท่านั้น ทำให้หลายคนสงสัย เรื่องการถ่ายทอด DNA ของพวกเขา และต้องนับญาติพวกเขาว่าเป็นพี่น้อง หรือลูกพี่ลูกน้องกันแน่?
ทั้งนี้ตามทฤษฎีแล้ว เมื่อฝาแฝดแท้ 2 คู่แต่งงานและมีลูก ลูกของพวกเขาจะมี DNA คล้ายกันมากถึง 50% ซึ่งเทียบเท่ากับพี่น้องที่เกิดจากพ่อแม่เดียวกัน ไม่เหมือนลูกพี่ลูกน้องทั่วไปที่แบ่งปัน DNA เพียง 12.5% ทำให้มีการคาดากรณ์ถึงความเป็นไปได้ว่า ลูกๆ ของฝาแฝดแท้อย่าง Brittany และ Briana ที่แต่งงานกับฝาแฝดชายอย่าง Josh และ Jeremy จะมีลักษณะทางพันธุกรรมที่คล้ายคลึงกันมาก
การแบ่งปัน DNA ในระดับนี้หมายความว่า เด็กที่เกิดจากการแต่งงานของฝาแฝดแท้ จะมีลักษณะทางกายภาพและพฤติกรรมที่คล้ายคลึงกันในหลายประการ เช่น สีผม สีตา และรูปร่าง ซึ่งมากกว่าลูกพี่ลูกน้องทั่วไป
ในกรณีนี้ตัวอย่างนี้ได้มีการยืนยันจากนักวิชาการ เช่น Laura Almasy ศาสตราจารย์ด้านพันธุศาสตร์ จากมหาวิทยาลัยเพนซิลเวเนีย ที่ได้พูดถึงการแต่งงานของคู่ฝาแฝดแท้เอาไว้ด้วยว่า "ในทางทฤษฎี เราคาดหวังว่าลูกๆ ของพวกเขาจะมีพันธุกรรมคล้ายกัน เหมือนพี่น้องแท้ๆ"
การที่ฝาแฝดแต่งงานกัน และมีลูกๆ ที่แบ่งปัน DNA เหมือนกันถึง 50% หมายความว่า พวกเขามีความใกล้ชิดกันมากกว่าลูกพี่ลูกน้องทั่วไปที่แบ่งปัน DNA กันเพียง 12.5% ความใกล้ชิดนี้ทำให้ลูกของฝาแฝดแท้ มีลักษณะทางพันธุกรรมเหมือนพี่น้องแท้ๆ
ยิ่งไปกว่านั้น การที่เด็กเหล่านี้มี DNA ใกล้เคียงกันในระดับที่สูงยังส่งผลต่อสุขภาพ และพฤติกรรมของพวกเขาได้เช่นกัน เพราะเด็กที่มีความใกล้ชิดทางพันธุกรรม อาจมีแนวโน้มที่จะเกิดโรคทางพันธุกรรม เช่น โรคหัวใจ หรือเบาหวาน ในอัตราที่สูงขึ้น เนื่องจากพวกเขาได้รับยีนที่เหมือนกันจากทั้งพ่อและแม่
นอกจากนี้เด็กๆ ที่เกิดจากฝาแฝดแท้ 2 คู่ที่แต่งงานกัน ยังอาจมีลักษณะบางอย่างที่คล้ายคลึงกัน เช่น ความสามารถทางกีฬา ทักษะการเรียนรู้ หรือแม้กระทั่งทัศนคติ และพฤติกรรมการแสดงออก
สำหรับผู้ที่สนใจอยากทราบผล DNA ของตัวเอง สามารถเข้ารับการตรวจวิเคราะห์ ได้ด้วยบริการของ Geneus DNA ซึ่งทำได้ง่ายๆ ด้วยการเก็บตัวอย่างน้ำลาย และไม่ต้องเจาะเลือด โดยทาง Geneus DNA ได้มีการนำเทคโนโลยี Whole Genome-wide Array ที่ล้ำสมัย มาใช้วิเคราะห์ SNPs กว่า 10 ล้านตำแหน่ง ทำให้ได้ข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวกับพันธุกรรมของคุณ ส่งผลให้คุณได้มีโอกาสรู้เรื่องราวพันธุกรรมในครอบครัวของตัวเองมากขึ้น
โดยหากใครที่มีพี่น้อง หรือฝาแฝด สามารถนำผลตรวจ DNA ที่ได้ ไปเปรียบเทียบกับพี่น้องหรือฝาแฝด รวมถึงคนในครอบครัวอื่นๆ เพื่อดูความแตกต่างและความใกล้เคียงของ DNA ได้เช่นเดียวกัน
โดยวิธีนี้ยังสามารถอธิบายได้ด้วยว่า ทำไมพี่น้องหรือลูกพี่ลูกน้องแต่ละคู่ ถึงมีผลตรวจ DNA ออกมาในลักษณะนั้นๆ เช่น หากตรวจ DNA ของลูกๆ จากครอบครัวฝาแฝดแท้เพศหญิง Brittany และ Briana ที่แต่งงานกับฝาแฝดแท้เพศชายอย่าง Josh และ Jeremy เราก็จะได้เห็นว่า ลูกๆ จากแฝดทั้ง 2 คู่ มีพันธุกรรมเหมือนเป็นพี่น้อง แต่ก็ไม่ได้เหมือนกันหมด 100%
นอกจากนี้แล้วบริการ Geneus DNA ยังเปิดโอกาสให้แต่ละครอบครัวที่มาใช้บริการ สามารถเข้าใจพันธุกรรมของตัวเอง ตามโครงสร้างแผนภูมิแสดงลำดับเครือญาติของวงศ์ตระกูล (Family tree) ด้วยการเปรียบเทียบและวิเคราะห์ผล DNA ว่ามีจุดเหมือนหรือจุดต่างกันมากน้อยแค่ไหน และมีลำดับความใกล้ชิดกันในเครือญาติอย่างไรบ้าง
ทั้งนี้ในปัจจุบันเทคโนโลยีมีความก้าวหน้าไปไกลมาก ทำให้เราสามารถทราบเรื่องราวทางพันธุกรรม ของตัวเองได้ผ่านการตรวจ DNA ไม่ว่าจะเป็นความเสี่ยงโรคทางพันธุกรรม ความสามารถ ความถนัด และสุขภาพโดยรวม ซึ่งทำให้เรารู้จักตัวเอง และประเมินความเสี่ยงทางสุขภาพ ของตัวเองได้กว่า 500 รายการ ทั้งยังติดตามผลการอัปเดตใหม่ๆ ผ่านแอปพลิเคชัน Geneus DNA ได้ตลอดชีวิตเลยทีเดียว