Rated 4.98-stars across 2K+ reviews
Rated 4.98-stars across 2K+ reviews Rated 4.98-stars across 2K+ reviews Rated 4.98-stars across 2K+ reviews Rated 4.98-stars across 2K+ reviews Rated 4.98-stars across 2K+ reviews

กินกล้วย ดีหรือไม่?

GeneusDNA profile image By
GeneusDNA
|
Feb 21, 2024
|
402
อาหาร
สุขภาพ
banana dna
Summary
banana dna

คำตอบของคำถามที่ว่า กินกล้วยแล้ว ดีต่อสุขภาพหรือไม่นั้น ขึ้นอยู่กับว่า คุณถามใคร นักวิทยาศาสตร์บางคนเชื่อว่ามีประโยชน์มาก

คำตอบของคำถามที่ว่า กินกล้วยแล้ว ดีต่อสุขภาพหรือไม่นั้น ขึ้นอยู่กับว่า คุณถามใคร นักวิทยาศาสตร์บางคนเชื่อว่ามีประโยชน์มาก ในขณะที่นักวิทยาศาตร์บางกลุ่ม เชื่อว่ามีโทษมากกว่าประโยชน์ เนื่องจากปริมาณน้ำตาลที่ค่อนข้างสูง แต่แท้จริงแล้ว ขึ้นอยู่กับพันธุกรรมของผู้บริโภคด้วย ในกลุ่มผู้บริโภคที่ตรวจยีน (ตรวจDNA)พบเสี่ยงเกิดโรคเบาหวานประเภทที่ 2 และดื้อต่ออินซูลินก็ไม่ควรรับประทานมาก ในขณะที่กลุ่มคนปกติสามารถรับประทานได้

ข้อดีของกล้วย

  1. กากใย และ แป้งทนการย่อย กล้วยนั้น มีกากใยสูงมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ตอนที่ยังไม่สุกมาก จัดเป็นแป้งทนการย่อย นั่นหมายถึง จะมีส่วนที่เกิดการหมักได้ของกล้วย ตกไปอยู่ที่ลำไส้ใหญ่ เกิดการหมักได้เป็นกรดไขมันสายสั้น ซึ่งเป็นอาหารของจุลินทรีย์ชนิดดีในลำไส้ใหญ่ ทำให้ผนังเซลล์ลำไส้ใหญ่แข็งแรง เมื่อเรารับประทานอาหารที่มีคาร์โบไฮเดรตสูง แต่มีกากใยต่ำ เช่นพวกเมล็ดขัดสี(ข้าวขาว) สารอาหารเกือบทั้งหมดจะถูกดูดซึมที่ลำไส้เล็ก พร้อมทั้งยังเป็นการให้อาหารจุลินทรีย์ที่ไลไส้เล็กอีกด้วย ซึ่งมันไม่ควรจะอยู่ตำแหน่งนั้น หลังการดูดซึมสารอาหาร ทำให้ระดับน้ำตาลในกระแสเลือดสูงมาก ทำให้เกิดกระบวนการอักเสบในร่างกาย ถึงแม้ว่ากล้วยดิบนั้นจะเป็นแหล่งของแป้งทนการย่อยชั้นดีก็ตาม แต่ตัวมันเองประกอบไปด้วยแป้ง ดังนั้นถ้ากินมากเกินไปก็ทำให้น้ำตาลสูงอยู่ดี

  2. อุดมไปด้วย วิตตามิน b6 และ potassium กล้วยนั้น อุดมไปด้วยสารอาหาร และแร่ธาตุหลายชนิด หนึ่งในนั้นเป็นที่รู้ดีว่าคือ potassium ซึ่งกล้วย 1 ลูกมี potassium สูงถึง 422 mg หรือคิดเป็น 10% ของความต้องการ potassium ในวันนหนึ่ง การรับประทาน potassium อย่างเพียงพอ มีผลต่อความดันที่ปกติ ส่วนอาหารอื่นที่มี potassium สูงเช่นกันและสูงกว่ากล้วย นั่นคือ มันฝรั่ง อะโวคาโด กล้วยยังมีวิตตามิน b6 สูงอีกด้วย สูงถึง 0.5 มิลลิกรัมต่อลูก ซึ่งวิตตามิน b6 เป็น co-factor ที่สำคัญในการผลิตเอนไซม์ diamine oxidase ซึ่งมีบทบาทในการทำลาย histamine ในลำไส้ ทำให้ลำไส้มีสุขภาพที่ดี

  3. ต้านมะเร็ง ? มีการทดลอง ในหลอดทดลอง เกี่ยวกับอาหารและเซลล์มะเร็งตับ พบว่าสารสะกัดจากกล้วย มีผลทำให้เซลล์มะเร็งเติบโตช้าลง แต่ถ้ากินกล้วยทั้งลูก อาจจะไม่ใช่เรื่องดี เนื่องจากต้องใช้ปริมาณมาก ทำให้น้ำตาลสูง เป็นผลร้ายต่อสุขภาพเสียมากกว่า
  4. สะดวกซื้อ และราคาประหยัด

 ข้อเสียของกล้วย

  1. มี histamine สูง โดยเฉาะอย่างยิ่งในกล้วยสุก มีปริมาณ histamine สูงมาก ซึ่งจะเกิดผลเสียในคนที่เป็นโรคภูมิแพ้ และคนที่มีปัญหาแบคทีเรียในลำไส้ไม่สมดุลอยู่เดิม

  2. มี amylose สูง amylose จัดเป็นแป้งทนการย่อยชนิดหนึ่ง แล้วมันก็เป็นสิ่งที่ดีไม่ใช่หรือ ? จริงในสภาวะที่ของคนปกติ แต่จากการศึกษาโดยหมอนักวิจัยด้านเชื้อรา ศึกษาในผู้ป่วยที่มีปัญหาด้านเชื้อราในลำไส้ผิดปกติ และคนไข้ที่เป็นโรคแพ้ภูมิคุ้มกันตนเอง โดยให้รับประทานอาหารที่มี amylose และน้ำตาลต่ำ ทำให้จุลชีวะในลำไส้กลับมาปกติได้ ดังนั้น กล้วยจึงไม่ใช่ทางเลือกที่ดีสำหรับคนไข้กลุ่มนี้

  3. มีน้ำตาลสูง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง น้ำตาล fructose ในกลุ่มคนที่ทานคีโต ควรหลีกเลี่ยงกล้วย เนื่องจากมันมีน้ำตาลมาก โดยเฉพาะ fructose ทำให้ระดับน้ำตาลในกระแสเลือดสูง

แล้วแท้จริงแล้ว กล้วยทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูงได้แค่ไหน ?

เมื่อเราพิจารณาจาก ค่าดัชนีน้ำตาล (Glycemic Index) (ค่าที่บอกว่าน้ำตาลในอาหารนั้นๆถูกดูดซึมมากเพียงไร) หากมีค่าสูงจะดูดซึมน้ำตาลไว ระดับน้ำตาลในเลือดจะสูงตาม ซึ่งเป็นเรื่องไม่ดีเนื่องจากร่างกายจะเกิดกระบวนการอักเสบ จากฐานข้อมูลพบว่า กล้วยมีค่าดัชนีน้ำตาลอยู่ที่ 51 ซึ่งเป็นตัวเลขที่ค่อนข้างดีเมื่อเทียบกับมันฝรั่ง (90) แครอท (70) แต่ แครอทกับมันฝรั่งไม่มีน้ำตาล fructose ในกล้วยลูกหนึ่งมี fructose อยู่ 7.1 กรัม จากน้ำตาลโดยรวม 14 กรัม 1 ช้อนชาของน้ำตาล คือน้ำตาล 4 กรัม ดังนั้น กล้วย 1 ลูก มีน้ำตาล 3.5 ช้อนชา นั่นเป็นเหตุผลที่ว่า เราควรกินกล้วยเพียงวันละครึ่งลูก แต่อย่างไรก็ตาม คนเราตอบสนองต่อน้ำตาลที่กินเข้าไปได้ไม่เท่ากัน ดังนั้น ในคนที่กังวลเรื่องระดับน้ำตาลในกระแสเลือดมาก จำเป็นต้องซื้อเครื่องวัดระดับน้ำตาลมาตรวจดู ว่าผลไม้แต่ละชนิดที่กินเข้าไป ทำให้ระดับน้ำตาลเป็นเช่นไร

ดังนั้น กล้วยเป็นผลไม้ที่รับประทานได้ ในปริมาณที่จำกัด และควรหลีกเลี่ยงในผู้ป่วยเรื่องรังบางชนิด

 

chat line chat facebook