แคลเซียมสำหรับเด็ก มีประโยชน์มากกว่าที่คิด พ่อแม่มือใหม่ควรรู้ อาหารเสริมแบบไหน ช่วยให้ลูกของคุณเติบโตขึ้นอย่างแข็งแรงและสมบูรณ์ที่สุด
ชวนรู้จัก แคลเซียมสำหรับเด็ก ต้องซื้ออาหารเสริมแคลเซียมแบบไหนเพื่อสุขภาพที่ดีที่สุดของลูกน้อย รวมเกร็ดความรู้ด้านสุขภาพเด็กมาฝากกันที่นี่แล้ว
เชื่อว่าหลายคนคงเคยได้ยินว่า "แคลเซียม" มีประโยชน์ต่อกระดูก แต่รู้กันหรือเปล่าว่า แคลเซียมมีทั้งหมดกี่ประเภท? นั่นก็เพราะว่า อาหารเสริมแต่ละแบบใช้แคลเซียมแต่ละชนิดที่แตกต่างกัน ดังนั้นเราจึงต้องทำความเข้าใจว่า ลูกหลานของเราควรทานแคลเซียมเสริมประเภทไหนกันแน่? เนื่องจากในปัจจุบันมีอาหารเสริมด้าน แคลเซียมสำหรับเด็ก จำนวนมาก ไม่ว่าจะเป็น แคลเซียมคาร์บอเนต แคลเซียมซิเตรท แคลเซียมแอลทรีโอเนต แคลเซียมแลคเตท แคลเซียมแอลแอสคอร์เบตไดไฮเดรต และแคลเซียมไฮดรอกซีอะพาไทต์ ฉะนั้นการจะเลือกแคลเซียมให้เหมาะสมกับลูกจึงเป็นเรื่องสำคัญที่พ่อแม่ไม่ควรมองข้าม
แคลเซียม เป็นผลิตภัณฑ์เสริมอาหารที่ได้รับความนิยมอย่างมาก เนื่องจากมีส่วนสำคัญในการช่วยเพิ่มความสูงและส่งเสริมสุขภาพที่ดีของกระดูก เพื่อให้ร่างกายมีมวลกระดูกที่แข็งแรง อีกทั้งแคลเซียมยังช่วยสนับสนุนการทำงานของกล้ามเนื้อและเส้นประสาท ซึ่งเป็นองค์ประกอบสำคัญที่ทำให้กระบวนการแข็งตัวของเลือดทำงานอย่างปกติ ตลอดจนเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานของระบบภูมิคุ้มกันได้อีกด้วย
รู้จักกับ "แคลเซียมในผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร" ของคุณให้มากขึ้น เนื่องจากผลิตภัณฑ์เสริมอาหารแต่ละชนิดใช้แคลเซียมที่แตกต่างกัน ดังนั้น สิ่งสำคัญก็คือการรู้ว่าอาหารเสริมที่คุณรับประทานอยู่นั้นเป็นแคลเซียมชนิดใด เพราะการวิจัยพบว่าแคลเซียมแต่ละชนิดมีสัดส่วนของแคลเซียม และผลข้างเคียงต่อร่างกายที่แตกต่างกันออกไป โดยแคลเซียมที่นิยมใช้ในผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร มีดังนี้
แคลเซียมคาร์บอเนต เป็นแคลเซียมรูปแบบที่ใช้มากที่สุดและราคาถูกที่สุด มีสัดส่วนของแคลเซียมต่อหน่วยสูงสุดถึง 40% แต่ข้อเสียของแคลเซียมคาร์บอเนตที่สำคัญคือ แคลเซียมคาร์บอเนตละลายน้ำยากมาก ดังนั้นหากได้รับในปริมาณมากไปอาจนำไปสู่การเกิดหินปูนในหลอดเลือดได้ ส่งผลให้แคลเซียมคาร์บอเนตสามารถเข้าไปเพิ่มความเสี่ยงของการเกิดนิ่วในไต อาการท้องผูกและท้องอืดได้นั่นเอง
แคลเซียมซิเตรท เป็นแคลเซียมที่ละลายน้ำได้ดี และการดูดซึมจะเพิ่มขึ้นเมื่อทานหลังจากรับประทานอาหาร โดยแคลเซียมซิเตรทมีสัดส่วนของแคลเซียมต่อหน่วยสูงเป็นอันดับสอง คิดเป็น 21% ซึ่งเป็นรองจากแคลเซียมคาร์บอเนต ทั้งยังมีงานวิจัยที่พบว่าแคลเซียมซิเตรททำให้ความเสี่ยงของการเกิดหินปูนในหลอดเลือด อาการท้องผูกและการเกิดนิ่วในไตลดลงด้วย แพทย์จึงมักนำแคลเซียมซิเตรทมาใช้ในผู้ป่วยที่มีปัญหาในระบบทางเดินอาหาร
แคลเซียมแอลทรีโอเนต เป็นแคลเซียมที่สกัดมาจากพืช 100% เนื่องจากสกัดมาจากข้าวโพด ทำให้มีสารพฤกษเคมีและสารต้านอนุมูลอิสระที่ช่วยลดความเสี่ยงของการเกิดโรคลำไส้ใหญ่ และทวารหนักมากกว่าแคลเซียมจากสัตว์ โดยนักวิจัยพบว่าแคลเซียมแอลทรีโอเนต จะเข้าไปกระตุ้นการดูดซึมแมกนีเซียมที่ช่วยลดอาการท้องผูกได้
ทั้งนี้อีกหนึ่งจุดเด่นของแคลเซียมแอลทรีโอเนต ก็คือความสามารถในการดูดซึมที่มากกว่าแคลเซียมรูปแบบอื่นถึง 8 เท่า เช่น แคลเซียมคาร์บอเนต และแคลเซียมซิเตรต
นอกจากนี้แล้ว ข้อดีอีกประการหนึ่งที่แคลเซียมแอลทรีโอเนตแตกต่างจากแคลเซียมรูปแบบอื่น ๆ นั่นก็คือความสามารถในการลดอาการท้องผูกและท้องอืด ตลอดจนช่วยลดความเสี่ยงของการเกิดหินปูนในหลอดเลือดได้ดีกว่าเมื่อเปรียบเทียบกับแคลเซียมรูปแบบอื่น ทำให้แคลเซียมชนิดนี้มีราคาค่อนข้างสูงเมื่อเทียบกับแคลเซียมชนิดอื่นๆ ในปริมาณเท่ากัน
แคลเซียมแลคเตท เป็นแคลเซียมรูปแบบที่ดูดซึมได้ดีและมีอยู่ในนม แม้ว่าแคลเซียมรูปแบบนี้จะมีสัดส่วนของแคลเซียมต่อหน่วยที่มากถึง 18.3% แต่เนื่องจากแคลเซียมแลคเตทสกัดจากนมจึงอาจไม่เหมาะสำหรับผู้ที่แพ้นมหรือน้ำตาลแลคโตส อีกทั้งแคลเซียมชนิดนี้ยังมีผลข้างเคียงที่พบได้อีกหลายอย่าง เช่น คลื่นไส้ ท้องผูก แคลเซียมในเลือดสูง สับสนและเหนื่อยล้า เป็นต้น
แคลเซียมแอลแอสคอร์เบตไดไฮเดรต เป็นแคลเซียมที่ประกอบด้วยแคลเซียมกับวิตามินซี มีสัดส่วนของแคลเซียมต่อหน่วยน้อยที่สุดเพียง 9.4% นอกจากนี้แคลเซียมแอลแอสคอร์เบตไดไฮเดรตยังจำเป็นสำหรับการสร้างกระดูกอ่อนและมักใช้เพื่อกระตุ้นการผลิตคอลลาเจนชนิดที่ 2 อย่างไรก็ตาม แคลเซียมแอลแอสคอร์เบตไดไฮเดรตมีผลข้างเคียงที่พบได้คือ ท้องผูก คลื่นไส้ และระดับแคลเซียมในเลือดที่พุ่งสูงขึ้นนั่นเอง
ปิดท้ายกันด้วยแคลเซียมไฮดรอกซีอะพาไทต์ ซึ่งเป็นสารที่คงตัวที่สุดภายใต้สภาวะรุนแรง เช่น อุณหภูมิสูง การเปลี่ยนแปลงของค่า pH และของเหลวในร่างกาย โดยข้อดีของแคลเซียมไฮดรอกซีอะพาไทต์ คือการเสริมสร้างกระดูกและมักใช้ในการรักษาโรคกระดูกพรุน แต่ถึงอย่างนั้น ร่างกายคนเราก็ไม่ควรรับประทานแคลเซียมนี้เกินวันละ 1500 มก. ต่อวัน เนื่องจากปริมาณที่มากเกินไปอาจส่งผลให้เกิดอาการท้องผูก อาหารไม่ย่อย มีลมในท้องและท้องอืดได้
ดังนั้นจะเห็นได้ว่า แคลเซียมสำหรับเด็ก ที่ดีที่สุดคือ แคลเซียมแอลทรีโอเนต เพราะเป็นสารสกัดจากธรรมชาติที่มีปริมาณแคลเซียมสูง ทั้งยังช่วยลดความเสี่ยงด้านสุขภาพให้ลูกน้อยได้หลายอย่าง ไม่ว่าจะเป็น การลดความเสี่ยงของการเกิดหินปูนในหลอดเลือด การลดอาการท้องผูกในเด็ก และความสามารถในการดูดซึมที่สูงกว่าแคลเซียมชนิดอื่นถึง 8 เท่า
Jelly CARE GRO+ มีแคลเซียมแอลทรีโอเนตมากถึง 1,000 มก. เทียบเท่ากับผักโขมหนึ่งจานใหญ่ (100 มก.) โดยเราได้คัดสรรแคลเซียมรูปแบบที่ดีที่สุดมาเป็นส่วนประกอบในผลิตภัณฑ์ ทำให้อุดมไปด้วยสารอาหารต่างๆ ที่สำคัญต่อการเสริมสร้างความสูงที่สมบูรณ์แบบและกระดูกที่แข็งแรง เช่น Colostrum-Based Protein (แอคทีฟโปรตีนจาก colostrum) วิตามินดี3 และวิตามินเค2 นอกจากนี้ Jelly CARE GRO+ ยังมีส่วนผสมสำคัญที่จะช่วยในการบำรุงสมองลูกน้อยได้อีกด้วย
ตารางเปรียบเทียบสัดส่วนของแคลเซียมต่อหน่วย ข้อดี ข้อเสีย ของแคลเซียมแต่ละชนิดที่พบในผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร
References: