“ดื่มกาแฟปริมาณมากๆ เสี่ยงต่อโรคหัวใจ” เป็นสิ่งที่หลายๆ ท่านอาจเคยได้ยิน หรืออาจมีความกังวลเมื่อจำเป็นต้องดื่มกาแฟหลายๆ แก้วในแต่ละวัน นักวิทยาศาสตร์ได้ค้นพบว่า
“ดื่มกาแฟปริมาณมากๆ เสี่ยงต่อโรคหัวใจ” เป็นสิ่งที่หลายๆ ท่านอาจเคยได้ยิน หรืออาจมีความกังวลเมื่อจำเป็นต้องดื่มกาแฟหลายๆ แก้วในแต่ละวัน นักวิทยาศาสตร์ได้ค้นพบว่า มีคนเพียงบางกลุ่มเท่านั้นที่เสี่ยงต่อโรคหัวใจขาดเลือดมากขึ้น หากดื่มกาแฟปริมาณมากๆ ในแต่ละวัน นั่นก็เพราะว่า ร่างกายของเราตอบ สนองต่อสารที่ชื่อ “คาเฟอีน” ในกาแฟแตกต่างกัน และ DNA ก็เป็นปัจจัยสำคัญ ที่ส่งผลให้แต่ละคนมีการตอบสนอง และมีความเสี่ยงที่แตกต่างกัน
“คาเฟอีน” หรือ “กาเฟอีน” เป็นสารชนิดหนึ่งที่พบในธรรมชาติ ออกฤทธิ์โดยการกระตุ้นสมองและระบบประสาทส่วนกลาง คาเฟอีนพบมากที่สุดในกาแฟ ซึ่งในปัจจุบัน ทั่วโลกมีการบริโภคกาแฟรวมกันกว่า 1.4 พันล้านแก้วต่อวัน เพื่อให้รู้สึกตื่นตัวมากขึ้น บรรเทาความเหนื่อยล้า และเพิ่มสมาธิในการทำงาน
ย้อนไปในช่วงศตวรรษที่ 11 กาแฟได้ถูกค้นพบชายผู้เลี้ยงแพะชาวเอธิโอเปีย เมื่อวันหนึ่ง เขาได้สังเกตเห็นความเปลี่ยนแปลงทีเกิดขึ้นกับแพะที่เขาเลี้ยง หลังจากที่เจ้าแพะตัวนี้ได้ไปกัดกินผลไม้ชนิดหนึ่งบนต้นไม้ เขาพบว่า มันดูตื่นตัวและดูมีพลังงานมากขึ้น หลังจากนั้นไม่นานชาวเอธิโอเปียจึงได้คิดค้นการนำผลไม้ชนิดนี้มาทำให้แห้ง แล้วนำไปต้มเพื่อทำเครื่องดื่ม ซึ่งผลไม้ชนิดนี้ก็คือ “กาแฟ” นั่นเอง
ในช่วงปลายศตวรรษที่ 18 หรือช่วงปลายยุคปี 1800s น้ำอัดลมที่มีคาเฟอีนเป็นส่วนผสมได้เริ่มมีการจำหน่ายในท้องตลาด และได้รับความนิยมเพิ่มมากขึ้น ส่วนเครื่องดื่มชูกำลังที่มีคาเฟอีนก็ได้รับความนิยมตามมาหลังจากนั้นไม่นานเช่นกัน และในปัจจุบัน กว่า 80% ของประชากรทั่วโลก ดื่มเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีนเป็นประจำทุกวัน
คาเฟอีนทำให้เรารู้สึกตื่นตัวได้ โดยลดการทำงานของสารสื่อประสาทในสมองที่ชื่อ “อะดีโนซีน (adenosine)” โดยปกติในขณะที่เราตื่นอยู่นั้น สารอะดีโนซีนจะถูกสร้างขึ้นเรื่อยๆ ภายในสมองของเรา และเมื่อสารอะดีโนซีนนี้จับกับตัวรับ (adenosine receptor) จะทำให้เซลล์ประสาททำงานได้ช้าลง เมื่อสารอะดีโนซีนมีปริมาณมากขึ้นในระหว่างวัน เราจึงรู้สึกง่วงนอนนั่นเอง
เนื่องจากโมเลกุลของคาเฟอีน มีหน้าตาและรูปร่างคล้ายกับสารอะดีโนซีน เมื่อเข้าสู่สมองของเรา เจ้าโมเลกุลของคาเฟอีนนี้จึงสามารถจับกับตัวรับตัวเดียวกับสารอะดีโนซีนได้ แต่แทนที่จะทำให้เซลล์ทำงานช้าลง คาเฟอีนกลับมีฤทธิ์กระตุ้นการทำงานของเซลล์ประสาทเหล่านี้ ร่างกายของเราจึงรู้สึกตื่นตัว และไม่รู้สึกง่วงนอน หลังจากดื่มกาแฟนั่นเอง
คาเฟอีนตามธรรมชาติในพืชหลายชนิด ได้แก่ เมล็ดกาแฟ ใบชา และเมล็ดในผลโกโก้ ดังนั้นเราจึงสามารถได้รับคาเฟอีนได้จากการรับประทานผลิตภัณฑ์ที่หลากหลาย ได้แก่ กาแฟ ชา และช็อกโกแลต ในปัจจุบันไม่เพียงแต่ชาและกาแฟเท่านั้น คาเฟอีนยังถูกเติมลงในน้ำอัดลม เครื่องดื่มชูกำลัง และยาบางชนิดก็มีคาเฟอีนเป็นส่วนประกอบเช่นกัน
กาแฟดริป 1 ถ้วย (237ml): 95mg (70-140mg)
กาแฟเอสเพรสโซ่ 1 ช็อต (30ml): 63mg
กาแฟลาเต้หรือมอคค่า 1 ถ้วย (237ml): 63-126mg
ชาดำ 1 ถ้วย (237ml): 55 mg
ชาเขียว 1 ถ้วย (237ml): 35mg
Coca-Cola 1 กระป๋อง (355ml): 32mg
หลังจากเราดื่มกาแฟ คาเฟอีนในกาแฟจะถูกดูดซึมเข้าสู่กระแสเลือด ซึ่งร่างกายใช้เวลาประมาณ 45 นาทีในการดูดซึมคาเฟอีนเข้าสู่กระแสเลือดจนหมด ความเข้มข้นของคาเฟอีนในเลือดจะสูงที่สุดในช่วง 15-120 นาทีหลังจากดื่ม โดยทั่วไป ครึ่งชีวิต*ของคาเฟอีนในร่างกายอยู่ที่ประมาณ 4 ชั่วโมง และมีหลายๆ ปัจจัยที่ทำให้เวลาดังกล่าวแตกต่างกันในแต่ละคน ซึ่งคาเฟอีนจะออกฤทธิ์ในร่างกายได้นานแค่ไหน และส่งผลให้เกิดผลข้างเคียง เช่น หัวใจเต้นเร็ว หรือกระสับกระส่าย หลังจากดื่มหรือไม่ ก็ขึ้นอยู่กับว่าร่างกายของเราสามารถกำจัดคาเฟอีนได้ช้าหรือเร็วเพียงใด นั่นเอง
*ครึ่งชีวิต (half-life) หมายถึง ระยะเวลาที่สารชนิดหนึ่งถูกทำให้สลายไป จนเหลือปริมาณเท่ากับครึ่งหนึ่งของปริมาณเริ่มแรก
ตับเป็นอวัยวะที่ทำหน้าที่สลายคาเฟอีนก่อนขับออกจากร่างกาย โดยมีเอนไซม์ชื่อ Cytochrome P450 1A2 ทำหน้าที่ในการสลายคาเฟอีนกว่า 95% ของคาเฟอีนในร่างกาย
การทำงานของเอนไซม์ Cytochrome P450 1A2 นี้ถูกควบคุมโดยยีนที่มีชื่อว่า ยีน CYP1A2 ซึ่งยีน CYP1A2 นี้มีลักษณะของยีนอยู่ 2 รูปแบบ คือ “รูปแบบเร็ว” และ “รูปแบบช้า” ซึ่งส่งผลต่อความเร็วในการกำจัดคาเฟอีนออกจากร่างกาย หรือระยะเวลาที่คาเฟอีนจะคงอยู่ในร่างกาย และส่งผลต่อปริมาณคาเฟอีนที่อาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพในแต่ละคน
ผู้ที่มีลักษณะของยีนเป็น “รูปแบบเร็ว” มีแนวโน้มที่จะสามารถกำจัดคาเฟอีนออกจากร่างกายได้อย่างรวดเร็วกว่า และเรียกว่าเป็น ‘fast metabolizer’ ส่วนผู้ที่มีลักษณะของยีนเป็น “รูปแบบช้า” เอนไซม์ที่ใช้ในการสลายคาเฟอีนในตับสามารถทำงานได้น้อยกว่า ซึ่งส่งผลให้คนกลุ่มนี้มีการกำจัดคาเฟอีนออกจากร่างกายได้ช้ากว่า จึงเรียกว่าเป็น ‘slow metabolizer’ จากผลการวิจัยทางวิทยาศาสตร์พบว่า ผู้ที่มียีน “รูปแบบเร็ว” ขับคาเฟอีนได้เร็วกว่าผู้ที่มียีน “รูปแบบช้า” ถึง 4 เท่า
ผู้ที่ร่างกายขับคาเฟอีนได้ช้า หรือ slow metabolizer เมื่อบริโภคคาเฟอีน ฤทธิ์ของคาเฟอีนจะยังคงอยู่ในร่างกายนานกว่า เนื่องจากเอนไซม์ที่ใช้สลายคาเฟอีนในตับทำงานได้น้อยกว่า คนกลุ่มนี้จึงมีการขับคาเฟอีนออกจากร่างกายได้ช้ากว่าคนทั่วไป ซึ่งอาจนำไปสู่อาการข้างเคียงต่างๆ เช่น กระวนกระวาย หัวใจเต้นเร็ว นอนไม่หลับ และปวดศีรษะ เป็นต้น
หลายงานวิจัยยังได้ยืนยันผลกระทบต่อสุขภาพในผู้มียีน “รูปแบบช้า” ที่ดื่มกาแฟปริมาณมาก ดังนี้
ในขณะเดียวกัน งานวิจัยกลับค้นพบสิ่งที่ตรงกันข้าม ในผู้ที่ร่างกายขับคาเฟอีนได้รวดเร็ว หรือ fast metabolizer โดยพบว่า สำหรับผู้ที่ร่างกายขับคาเฟอีนได้รวดเร็ว การบริโภคคาเฟอีนในปริมาณปานกลาง (200-300 มิลลิกรัมต่อวัน หรือเท่ากับการดื่มกาแฟ 2-3 แก้วต่อวัน) ไม่มีผลใดๆ ต่อความเสี่ยงของโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดและโรคความดันโลหิตสูง ในทางตรงกันข้าม กลับช่วยลดความเสี่ยงของโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดได้อีกด้วย
คาเฟอีนส่งผลต่อร่างกายของแต่ละคนแตกต่างกัน ส่วนใหญ่ขึ้นอยู่กับความแตกต่างทางพันธุกรรม องค์การอาหารและยาแห่งสหรัฐอเมริกา (FDA) และหน่วยงานความปลอดภัยด้านอาหารแห่งสหภาพยุโรป (EFSA) แนะนำว่า สำหรับผู้ใหญ่ที่มีสุขภาพดี ควรจำกัดปริมาณคาเฟอีนที่ร่างกายได้รับจากอาหารทุกชนิดไม่ให้เกิน 400 มิลลิกรัมต่อวัน
คาเฟอีน 400 มิลลิกรัมต่อวัน เท่ากับ:
แต่สำหรับผู้ที่ขับคาเฟอีนได้ช้า หรือ slow metabolizer ผู้เชี่ยวชาญแนะนำว่า ควรจำกัดปริมาณคาเฟอีนไม่เกินวันละ 200 มิลลิกรัม หรือเลือกเครื่องดื่มที่มีการสกัดคาเฟอีนออก (decaf) แทน เพื่อป้องกันผลเสียต่อสุขภาพที่อาจเกิดหากได้รับคาเฟอีนในปริมาณมาก
สรุปก็คือ DNA หรือ พันธุกรรม มีส่วนสำคัญที่ทำให้ความเสี่ยงจากการดื่มกาแฟของเราแต่ละคนแตกต่างกันนั่นเอง อย่างไรก็ตาม อย่าลืมว่า ไม่ว่าร่างกายจะสามารถกำจัดคาเฟอีนได้เร็วหรือช้า เจ้าคาเฟอีนก็ยังออกฤทธิ์อยู่ในร่างกายเราได้นานหลายชั่วโมง American Academy of Sleep Medicine จึงแนะนำว่า เพื่อให้เรานอนหลับได้สนิท พร้อมตื่นขึ้นรับมือกับวันใหม่ได้อย่างมีประสิทธิภาพนั้น เราไม่ควรดื่มเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีนอย่างน้อย 6 ชั่วโมงก่อนเวลาเข้านอน
แล้วจะรู้ได้อย่างไรว่า ร่างกายของเรา กำจัด คาเฟอีน ได้เร็วหรือช้า? ชุดตรวจสุขภาพจากดีเอ็นเอ 500+ รายการ