Coronaviruses คือชื่อของครอบครัวไวรัสที่ส่วนมากจะก่อให้เกิดโรคหวัด และโรคติดเชื้อระบบทางเดินหายใจส่วนบน
Coronaviruses คือชื่อของครอบครัวไวรัสที่ส่วนมากจะก่อให้เกิดโรคหวัด และโรคติดเชื้อระบบทางเดินหายใจส่วนบน
WHO หรือองค์การอนามัยโลก เป็นผู้ตั้งชื่อ Coronavirus สายพันธุ์ใหม่ที่พบครั้งแรกเมื่อปี 2019 ว่า COVID19 มาจากคำว่า coronavirus disease 2019
ตัวเลขผู้ติดเชื้อสูงขึ้นเรื่อยๆเป็นจำนวนมาก เราสามารถติดตามได้ที่เว็บไซต์ของ WHO ณ ปัจจุบัน(22/3/63) ทั่วโลกมีผู้ติดเชื้อแล้ว 316,545 คน เสียชีวิตแล้ว 13,599 คน เนื่องจากมีการติดเชื้อรวดเร็วและเป็นวงกว้างไปหลายเมือง หลายประเทศ ทางองค์การอนามัยโลกจึงจัดให้โรคนี้เป็น Pandemic (การระบาดใหญ่/ทั่วโลก)
บางคนติดเชื้อแล้วไม่มีอาการอะไรเลย บางคนมีอาการไข้ต่ำๆ ปวดมื่อยตามตัว ไอ มีน้ำมูก คัดจมูก เจ็บคอ บางคนมีอาการที่รุนแรงขึ้นมาอีก เช่น ไข้สูง ไอมาก หายใจหอบเหนื่อย
เนื่องจากเป็นโรคใหม่ ข้อมูลที่มีจึงไม่มากพอ โดยหลังจากสัมผัสเชื้อแล้วจะเริ่มแสดงอาการได้ตั้งแต่ 3 วันไปจนถึง 13 วัน จากสถิติโดยเฉลี่ยเวลาเพาะเชื้อคือประมาณ 5 วัน
เชื้อตัวนี้แพร่จากคนสู่คน เกิดจากคนที่เป็นโรคไอจาม มีละอองสารคัดหลั่งออกมาในอากาศแล้วมีผู้มาสูดหายใจเข้าไปหรือตกลงบนปากผู้อื่น(3 ชั่วโมง) อีกทั้งยังแพร่ผ่านทางการสัมผัสกับวัตถุ (24 ชั่วโมง)แล้วนำมือมาป้ายปาก ตา จมูกได้อีกด้วย
โอกาสเสียชีวิตเมื่อติด COVID-19 อยู่ที่ 3-4% ซึ่งน้อยกว่าโรคติดเชื่อที่เคยเกิดขึ้นมาแล้วเช่น SARS 11% และ MERS 35% โดยที่ความเสี่ยงในการเสียชีวิตนั้นจะขึ้นอยู่กับอายุ และสุขภาพโดยรวม เด็กและวัยรุ่นจะแสดงอาการน้อยและเสี่ยงต่อการเสียชีวิตต่ำ ขณะที่ผู้สูงอายุโดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้มีโรคเรื่องรัง(เบาหวาน หัวใจ ปอด) มีโอกาสแสดงอาการรุนแรงและเสียชีวิตจากปอดอักเสบ
ได้แก่ผู้สูงวัย โดยเฉพาะอย่างยิ่งรายที่มีโรคหลอดลมอักเสบเรื้อรัง ถุงลมโป่งพอง หัวใจล้มเหลวเบาหวาน และผู้ที่มีโรคประจำตัวดังต่อไปนี้ ไม่ว่าจะอายุเท่าไรก็ตามจะสามารถมีอาการรุนแรง ได้แก่
กลไกลการทำงานของยารักษาคือต้องออกฤทธิ์เฉพาะจุดเพื่อยับยั้งการแพร่พันธุ์ของไวรัส อีกทั้งยังต้องไม่ก่อให้เกิดโทษต่อตัวคนเรามากนัก จึงผลิตยาได้ยาก และธรรมชาติไวรัสนั้นแบ่งตัวไวทำให้มันกลายพันธุ์และมีโอกาสดื้อยาสูง
การกระทำดังต่อไปนี้ จะช่วยป้องกันการแพร่กระจาย COVID19 และ ไข้หวัดใหญ่
หากไม่มีมาตรการป้องกันดังกล่าวจำนวนผู้ติดเชื้อจะสูงขึ้นดังกราฟสีดำด้านบนอย่างรวดเร็วจน โรงพยาบาลไม่สามารถดูแลผู้ป่วยที่มีอาการหนักไหว แต่หากป้องกันการติดเชื้อได้มากจำนวนผู้ติดเชื้อจะสูงขึ้นช้ากว่าดังกราฟสีแดง ทำให้โรงพยาบาลสามารถรับมือกับผู้ป่วยรุนแรงได้ง่าย มีเครื่องมือที่ทันสมัยใช้ดูแลู้ป่วยอย่างเพียงพอ การเสียชีวิตก็จะน้อยลง
เมื่อมีเชื้อโรค หรือสิ่งแปลกปลอมเข้าสู่ร่างกาย เช่นไวรัสไข้หวัดใหญ่ ไวรัส COVID19 ร่างกายเราจะมีการสนองและรักษาร่างกาย โดยใช้ระบบภูมิคุ้มกัน ตามแนวทางการมีสุขภาพดี เราควรปฏิบัติดังนี้
ล้างบ่อยๆ นานครั้งละ 20 วินาทีขึ้นไป โดยเฉพาะอย่างยิ่งหลังเข้าห้องน้ำ ก่อนรับประทานอาหาร หลังจากไอหรือจาม
ในตอนนี้ยังไม่ทราบข้อมูล แต่มีความเป็นไปได้ที่จะติดเชื้อ coronavirus หรือ COVID19 ซ้ำได้หากว่าตัวเชื้อสามารถกลายพันธุ์จนร่างกายเราจำไม่ได้ว่าเป็นเชื้อตัวนี้ เหมือนที่เจอในไข้ขวัดใหญ่ สามารถติดซ้ำได้ทุกปี
ถูกต้องครับที่ไข้หวัดใหญ่รุนแรงกว่า(มีจำนวนผู้เสียชีวิตมากกว่า) แต่ถ้านับความง่ายของการติดต่อ COVID19 นี้สามารถแพร่กระจายได้เยอะกว่ามาก อีกทั้งยังมีโอกาสเสียชีวิต 3-4% โชคดีที่มาตรการป้องกันการแพร่เชื้อนั้นเหมือนกันกับไข้หวัดใหญ่นั่นคือ การล้างมือบ่อยๆ ไม่ใช้มือสัมผัสหน้า เมื่อมีการไอจามให้ใช้ทิชชู่หรือข้อศอกเป็นที่ปิดปาก หลีกเลี่ยงให้ห่างคนที่คิดว่าป่วย และกักตัวเมื่อคิดว่าตัวเองป่วย ในขณะนี้ยังไม่มียาต้านไวรัส หรือวัคซีนที่ใช้ในการรักษาหรือป้องกัน COVID19
เป็นได้แต่ส่วนมากอาการไม่รุนแรง มีส่วนน้อยที่มีอาการรุนแรง โดยเฉพาะเด็กที่มีโรคประจำตัว
รับได้ ไม่มีปัญหา
ติดได้ หากผู้เตรียมอาหารมีเชื้อ แล้วมีการไอจามสารคัดหลั่งลงอาหาร COVID19 ยังพบได้ในอุจจาระของผู้ติดเชื้อ ดังนั้นหากผู้เตรียมอาหารล้างมือไม่สะอาด ผู้ที่รับประทานเข้าไปก็มีโอกาสติด COVID19
สมควรอย่างยิ่ง หากคุณมีอายุมากกว่า 60 ปี ถึงแม้จะไม่สามารถป้องกันไข้หวัดใหญ่ได้ 100% แต่อย่างน้อยหากเป็นหวัดขึ้นมาก็จะช่วยลดความเสี่ยงที่จะมีอาการรุนแรง แต่วัคซีนนี้ก็ไม่สามารถป้องกัน COVID19 ได้อยู่ดี
จากข้อมูลพบว่า ผู้ป่วย COVID19 ที่ทานยา Ibuprofen มีแนวโน้วที่อาการจะพัฒนาไปในทางที่แย่กว่า ถึงแม้ว่าจะยังไม่เป็นที่ฟันธงแน่นอน เนื่องจากข้อมูลขณะนี้ยังไม่เพียงพอ ดังนั้นจึงแนะนำให้ทานยา Paracetamol วันละไม่เกิน 3000mg เพื่อนบรรเทาอาการไปก่อน หากผู้ป่วยไม่สามารถทานยา Paracetamol ได้ แนะนำให้เข้าปรึกษาแพทย์
ช่วงนี้นับว่าเป็นช่วงที่เลวร้ายสำหรับใครหลายคนไม่เฉพาะคนไทย ยังมีต่างชาติที่ลำบากอีกด้วย ผู้เขียนหวังว่าผู้อ่านทุกท่านจะมีสุขภาพที่ดี และผ่านสภาวะที่ยากลำบากนี้ได้ไปด้วยกันนะครับ
Reference :
https://www.health.harvard.edu/diseases-and-conditions/coronavirus-resource-center#Prevention