รับกลิ่นได้น้อยลง ติด COVID19 ?
สวัสดีครับ ช่วงนี้สถานะการ COVID19 ไม่ค่อยดีนักเมืองไทยนั้นเข้าสู้ Phase 3 แล้ว ก็ได้มีการประกาศให้เกือบทุกคนต้องหยุดงาน กักตัวอยู่กับบ้านตามนโยบาลของภาครัฐบาล เพื่อลดการแพร่กระจายของเชื้อโรค หวังว่าทุกท่านจะให้ความร่วมมือเพื่อที่จะผ่านช่วงเวลาอันเลวร้ายนี้ไปด้วยกัน วันนี้ผู้เขียนมีบทความที่น่าสนใจ จาก ENT UK(แผนกหูคอจมูกประเทศสหราชอาณาจักร)มานำเสนอ เกี่ยวกับอาการสำคัญที่น่าจะบ่งชี้ว่าเราอาจจะติด COVID19 แล้ว
ท่านผู้อ่านบางท่านคงจะเคยมีประสบการณ์เกี่ยวกับอาการสูญเสียความรู้สึกในการดมกลิ่นกันบ้างแล้ว โดยที่ 40% ของอาการดังกล่าว เกิดขึ้นจากการติดเชื้อไวรัสทางเดินหายใจส่วนบน จำพวกไข้หวัดใหญ่กว่า 200 สายพันธุ์ โดยที่อาการดังกล่าวเกิดจากความผิดปกติของเส้นประสาทคู่ที่ 1(Olfactory Nerve) ที่คอยรับกลิ่นจากจมูกแล้วคอยแปรเปลี่ยนเป็นสัญญาณทางเคมีส่งขึ้นไปยังสมอง แล้วน่าทึ่งว่าเคสที่มีอาการเสียความรู้สึกดมกลิ่นนั้นเกิดจากการติดเชื้อ coronaviruses มากถึง 10-15% ดังนั้นจึงไม่แปลกใจเลยที่ COVID-19 จะมีโอกาสทำให้เราแสดงอาการรับรู้กลิ่นเปลี่ยนไป
จากหลักฐานที่พบในคนไข้ที่ติดเชื้อ COVID-19 ในประเทศ เกาหลีใต้ จีน และอิตาลี พบว่ามีหลายเคสแสดงอาการไม่ได้กลิ่น/รับรู้กลิ่นน้อยลง(anosmia/hyposmia) คนไข้ในเยอรมันพบว่ามีอาการดังกล่าวถึง 2 ใน 3 เคส จากคนไข้ทั้งหมด ส่วนในเกาหลีใต้พบว่าคนไข้แสดงอาการดังกล่าวถึง 30%
มีรายงานเพิ่มเข้ามาเรื่อยๆเกี่ยวกับคนไข้ที่เป็น COVID-19 แต่ไม่แสดงอาการอะไรเลยยกเว้นการสูญเสียความสามารถในการรับกลิ่นทั้งในประเทศ อิหร่าน และสหรัฐอเมริกาซึ่งคาดกันว่า บุคคลเหล่านี้จะเป็นส่วนในการแพร่กระจายเชื้อสู้คนอื่นได้มาก เนื่องจากอาการไม่เข้ากับเกณฑ์ในการตรวจหา COVID-19 ทำให้พวกเขาเหล่านั้นไม่ได้ป้องกันตัว และไม่ได้กักตัวตามที่ควรจะเป็น
จากตัวเลขที่เจอสูงขึ้นพบว่ามีคนที่ไม่แสดงอาการอื่น แต่สูญเสียการรับรู้กลิ่นไป ซึ่งคนไข้กลุ่มนี้อาจจะเกิดจากการติดเชื้อหวัดธรรมดา(typical rhinovirus, coronaviruses) หรือเกิดจาก COVID-19 ก็ได้ ดังนั้นจึงควรพิจารณาเกณฑ์นี้เข้าไป เพื่อให้มีการตรวจ COVID-19 และเพิ่มมาตรการกักตัว
เนื่องจากการรักษาอาการรับรู้กลิ่นไม่ได้โดยปกติแล้วคือการให้ยากลุ่มเสตียรอยด์แก่ผู้ป่วย และช่วงนี้มี COVID-19 ระบาด ทางเราไม่แนะนำการใช้ยากลุ่มเสตียรอยด์ในคนไข้ติดเชื้อ เนื่องจากจะทำให้อาการรุนแรงมากขึ้นโดยเฉพาะอย่างยิ่ง คนไข้ที่มาด้วย anosmia/hyposmia โดยที่ไม่มีประวัติศีรษะบาดเจ็บ และไม่มีความผิดปกติในจมูก(เช่นติ่งเนื้อในจมูก Nasal polyps)
เป็นอย่างไรกันบ้างครับ กับบทความวันนี้ หวังว่าท่านผู้อ่านจะนำความรู้นี้ไปใช้ได้ ทั้งการสังเกตตนเองง่ายๆที่บ้าน หรือนำไปใช้ถามอาการคนไข้เพื่อประกอบการวินิจฉัยโรคก็ได้ครับ โดยที่อาจจะทดสอบโดยการให้คนไข้ดมกลิ่น สบู่ หรือ กาแฟ
References :