เทรนด์การลดน้ำหนักที่กำลังเป็นที่นิยมในปัจจุบันคงจะต้องยกให้ คีโตไดเอท (Keto diet) หรือ คีโตเจนิคไดเอท (Ketogenic diet)
เทรนด์การลดน้ำหนักที่กำลังเป็นที่นิยมในปัจจุบันคงจะต้องยกให้ คีโตไดเอท (Keto diet) หรือ คีโตเจนิคไดเอท (Ketogenic diet) ที่เน้นการกินไขมันเพื่อลดน้ำหนักและไขมัน แต่รู้หรือไม่ พันธุกรรมหรือ DNA ก็มีส่วนเกี่ยวข้องกับการกินอาหารแบบคีโตไดเอทด้วยเช่นกัน เพราะ DNA อาจส่งผลให้บางคนอ้วนขึ้นเมื่อลดน้ำหนักด้วยอาหารที่มีไขมันสูงนั่นเอง
การกินอาหารแบบคีโต (Keto diet) หรือ คีโตเจนิคไดเอท (Ketogenic Diet) คือ การเน้นกินอาหารที่มีไขมันสูง ตามด้วยโปรตีน โดยตัดคาร์โบไฮเดรตและน้ำตาลให้เหลือในปริมาณน้อยมากๆ เพื่อให้ร่างกายรู้สึกเหมือนว่าเรากำลังอดอาหาร เพราะไม่ได้รับพลังงานจากน้ำตาล ทำให้เกิดภาวะคีโตซิส ซึ่งร่างกายต้องไปสลายไขมันเพื่อมาใช้เป็นพลังงานแทน
ไขมันอิ่มตัว (Saturated fat) 30%
ไขมันไม่อิ่มตัวเชิงเดี่ยว (Monounsaturated fat) 50%
ไขมันไม่อิ่มตัวเชิงซ้อน (Polyunsaturated fat) 20%
ไขมันอิ่มตัว (saturated fat) เป็นไขมันที่จับตัวเป็นของแข็งได้ที่อุณหภูมิห้อง ไขมันชนิดนี้พบได้ในอาหารที่มาจากสัตว์ ซึ่งอาหารที่มีไขมันอิ่มตัวสูง ได้แก่ เนื้อสัตว์ที่มีไขมัน เช่น เนื้อวัว เนื้อหมูและหนังของสัตว์ปีก เนื้อสัตว์แปรรูป เช่น ไส้กรอก เบคอน ผลิตภัณฑ์นมที่มีไขมันสูง เช่น ครีม ไอศกรีม นมสด และชีส
สมาคมโรคหัวใจแห่งสหรัฐฯ (American Heart Association: AHA) ได้แนะนำว่า ควรรับประทานไขมันอิ่มตัวในปริมาณไม่เกิน 10% ของพลังงานแคลอรี่ที่ได้รับต่อวัน ซึ่งหากได้รับพลังงาน 2,000 แคลอรี่ต่อวัน ปริมาณไขมันอิ่มตัวที่รับประทานได้ไม่ควรเกิน 22 กรัมต่อวัน
จะเห็นได้ว่า การรับประทานอาหารแบบคีโตไดเอทจะทำให้ร่างกายได้รับไขมันอิ่มตัวสูงเกินปริมาณที่แนะนำอย่างแน่นอน ซึ่งงานวิจัยทางวิทยาศาสตร์ได้ค้นพบว่า พันธุกรรมส่งผลให้ร่างกายของแต่ละคนตอบสนองต่อไขมันอิ่มตัวในอาหารต่างกัน โดยคนที่มียีน APOA2 แสดงผลเปลี่ยนไป มักจะมีน้ำหนักตัวเพิ่มขึ้น ลดน้ำหนักได้ช้าลง และเสี่ยงเป็นโรคอ้วน เมื่อกินอาหารที่มีไขมันอิ่มตัวสูง
ด้วยเหตุนี้เอง คนที่มียีนนี้แสดงผลเปลี่ยนไปจึงมีโอกาสที่จะมีน้ำหนักตัวเพิ่มขึ้น และอ้วนขึ้นได้ เมื่อรับประทานอาหารแบบคีโตไดเอทซึ่งเน้นอาหารที่มีไขมันอิ่มตัวสูง ทำให้การลดน้ำหนักด้วยวิธีนี้อาจใช้ไม่ได้ผลเท่าใดนักสำหรับคนกลุ่มนี้
อยากรู้ว่ายีน APOA2 มีการแสดงผลเปลี่ยนไปหรือไม่... ชุดตรวจสารอาหารจากดีเอ็นเอ 18 ชนิด สามารถบอกได้
อ่านเพิ่มเติมเกี่ยวกับชุดตรวจสุขภาพจากดีเอ็นเอ 400 รายการ ได้ที่นี่
อ้างอิง
https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/19901143
https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/24382995
https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/20975728
https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC4406948/
https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/20975728
https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC2716748
https://health.clevelandclinic.org/weight-loss-what-30-days-on-the-keto-diet-felt-like/
https://www.healthline.com/nutrition/ketogenic-diet-101