DNA นักกีฬามีจริงหรือไม่? ไขความลับวงการกีฬาสมัยใหม่ กับทฤษฎีการโกงที่อาจเกิดขึ้นจริงในอนาคต เพราะนักกีฬาอาจต้องมีมากกว่าการฝึกฝนที่เข้มงวด
ยีนนักกีฬามีจริงไหม? ไขข้อข้องใจที่หลายคนอยากรู้ เกี่ยวกับความสามารถของนักกีฬาที่อาจมีมากกว่าแค่การฝึกฝน พร้อมเฉลยความลับจากผลวิเคราะห์ DNA นักกีฬา
เราอาจจะเคยได้ยินกันมาบ้างแล้วว่า DNA เป็นสารเคมี ซึ่งก็คือสารทางพันธุกรรมที่เป็นแม่แบบในการก่อสร้างสิ่งมีชีวิต ให้มีลักษณะที่จำเพาะบุคคล และยังสามารถส่งต่อให้กับลูกหลานได้อีกด้วย โดยในปัจจุบันเราสามารถตรวจสุขภาพระดับ DNA ได้แล้ว ทำให้มนุษย์สามารถนำประโยชน์ของการตรวจนั้นมาใช้ได้หลายทาง หนึ่งในนั้นก็คือประโยชน์ทางด้านการกีฬาและการออกกำลังกายนั่นเอง เพราะมีงานวิจัยจำนวนมากที่ระบุว่า ความสามารถของนักกีฬามีผลมาจากทั้งพันธุกรรมและสิ่งแวดล้อม
ยังคงเป็นที่ถกเถียงกันถึงปัจจุบัน สำหรับความสามารถทางกีฬาของมนุษย์ว่าได้ถูกกำหนดด้วยพันธุกรรมหรือไม่? ซึ่งหากอ้างอิงจากข้อมูลของ Dr. Alun Williams ผู้อำนวยการด้านการกีฬาและพันธุศาสตร์ของมหาวิทยาลัย Manchester Metropolitan เขาได้กล่าวว่า การศึกษาของนักวิทยาศาสตร์ปัจจุบันทำให้ทราบว่า ความสามารถของนักกีฬานั้นขึ้นอยู่กับ 2 ปัจจัย ได้แก่ พันธุกรรมและสิ่งแวดล้อม
เนื่องจากคนที่มีพันธุกรรมที่เหมาะสมจะมีอนาคตด้านกีฬาที่ยาวไกลไปจนถึงแชมป์โลกได้ ซึ่งก็มีหลักฐานยืนยันออกมาว่า แชมป์กีฬาโอลิมปิกหลายๆ คนมียีนเหล่านี้อยู่ เช่น ชาวแอฟริกาตะวันออกจะมีความเก่งฉกาจในกีฬาวิ่งระยะยาว ส่วนชาวแอฟริกาตะวันตกนั้นก็เก่งมากในเรื่องวิ่งเร็วระยะสั้น
ในขณะที่ชาว Caucasians (ชาวผิวขาว หรือฝรั่ง) จะเก่งมากในเรื่องกีฬาที่ออกแรงจำพวกยกน้ำหนัก ดังนั้น การที่จะประสบความสำเร็จในด้านนี้แบบจริงๆ จำเป็นต้องมีทั้งสองปัจจัยนั่นคือ การคำนึงถึงเรื่องความหลากหลายทางพันธุกรรม เพื่อที่จะดูว่านักกีฬาคนนั้นมีร่างกายที่สันทัดกับกีฬาประเภทไหน อีกประการหนึ่งก็คือ การฝึกฝนและสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมนั่นเอง
ปัจจุบันเริ่มมีงานวิจัยเรื่อง Sports Genetic Test ซึ่งก็คือ การตรวจพันธุกรรมเพื่อการเล่นกีฬาออกมามากขึ้น เนื่องจากผู้เชี่ยวชาญจำนวนมากระบุว่า ยีนสมรรถภาพด้านกีฬานี้มีความสลับซับซ้อน ซึ่งมีผลมาจากทั้งพันธุกรรมและสิ่งแวดล้อม จนเริ่มมีการศึกษาที่มุ่งเน้นไปที่ความเหมือน และความแตกต่างของสมรรถภาพร่างกายในครอบครัวเดียวกัน รวมไปถึงในฝาแฝด จนได้มีข้อสรุปการค้นพบที่น่าสนใจว่า ปัจจัยทางพันธุกรรมนี้ทำให้สมรรถภาพออกมาแตกต่างกันประมาณ 30-80% เลยทีเดียว
ทั้งนี้ได้มีการระบุเพิ่มเติมว่า การที่มียีนนักกีฬาที่เหมาะสมร่วมกับการฝึกฝนและรักษาสุขภาพอย่างดี จะทำให้นักกีฬารายนั้นเป็นคนที่สุดยอดกว่าคนอื่น ยกตัวอย่างเช่น ยีน ACTN3 ซึ่งเป็นยีนตัวที่โด่งดัง รู้กันในชื่อ "ยีนแห่งความไว" โดยในความเป็นจริงแล้ว ACTN3 นั้นมีอะไรมากกว่าแค่เรื่องของความไว ซึ่งหากวิเคราะห์จากนักกีฬาทีมชาติอย่าง Craig Pickering และ John Kiely ซึ่งเป็นผู้ร่วมในงานวิจัย 19 การศึกษาที่เกี่ยวข้องกับการแสดงออกของสมรรถภาพ (phenotype) จะสามารถสรุปได้อย่างชัดเจนว่าพันธุกรรมมีผลกับสมรรถภาพการกีฬา โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ยีนที่เรารู้จักกันดีในชื่อ ACTN3 นั้นมีผลเกี่ยวข้องกับการแสดงออกถึงความไว ตลอดจนแสดงออกในด้านความแข็งแรงของกล้ามเนื้อด้วย
ในยุคใหม่ของการกีฬานี้มีบางสโมสรหรือครูฝึกบางแห่ง พยามตรวจพันธุกรรมของนักกีฬาและวิเคราะห์ออกมาว่า แต่ละคนนั้นได้รีดศักยภาพทั้งหมดออกมาจากยีนแล้วหรือยัง ยกตัวอย่างเช่น ทีมจาก FA Premier League clubs ที่ไม่ประสงค์ออกนาม 2 ทีม ก็ได้มีการตรวจ DNA เพื่อวิเคราะห์ความสามารถของตนทั้งด้าน พละกำลัง ความทนทานของกล้ามเนื้อ และความไวในการฟื้นฟูร่างกาย
นอกจากนี้แล้วการตรวจดีเอ็นเอนักกีฬา ยังครอบคลุมไปถึงการวิเคราะห์โอกาสเกิดอาการบาดเจ็บของเอ็นและกล้ามเนื้อ ตลอดจนความไวต่ออาหารชนิดต่างๆ เช่น คาร์โบไฮเครต หรือไขมันอิ่มตัวด้วย ซึ่งทีมชาติอังกฤษที่แข่ง World cup 2014 ก็ได้มีการตรวจวิเคราะห์ DNA เพื่อเป็นแนวทางในโปรแกรมฝึกฝนอย่างตรงจุดเช่นกัน
มีเพียงเส้นบางๆ ระหว่างการที่ตรวจพันธุกรรมแล้วนำไปใช้อย่างถูกต้อง กับการนำไปใช้งานในทางที่ผิดทางจริยธรรม เนื่องจากในปัจจุบันมีบริษัทรับตรวจพันธุกรรมบางแห่ง เริ่มขายไอเดียที่อ้างว่า สามารถตรวจพันธุกรรมเพื่อบอกความสามารถด้านกีฬาที่เหมาะสม แก่ลูกๆของลูกค้าได้ ซึ่งการกระทำดังกล่าวนั้น อาจส่งผลให้เด็กจำนวนมากเสียโอกาสในการลองเล่นกีฬาที่เขาอาจจะชื่นชอบไปอย่างน่าเสียดาย
แต่สิ่งที่หลายคนเป็นกังวลมากที่สุดคือการโกงด้วยการตัดต่อยีนพิเศษ และนำไปใช้ในการหาผลประโยชน์ เนื่องจากผู้เชี่ยวชาญระบุว่า ยีนที่ใช้สร้างฮอร์โมนที่มีชื่อว่า erythropoietin (EPO) นี้ จะทำให้คนๆ นั้น มีปริมาณเม็ดเลือดแดงที่มากกว่าคนทั่วๆ ไป ทำให้สามารถออกกำลังกายได้อึดกว่าคนอื่น ไม่ว่าจะในรูปแบบการเล่นกีฬาปกติและการแข่งขันเพื่อเอาชนะ ซึ่งนับเป็นการเอาเปรียบผู้เล่นคนอื่นๆ เป็นอย่างมาก
ทำให้ในปัจจุบันมีองค์กรต้านการใช้สารต้องห้ามโลก (World Anti-Doping Agency หรือ WADA) เข้ามาควบคุมและตรวจสอบเรื่อง การทำ gene editing, Gene replacement therapy เพราะว่าการดัดแปลงที่ระดับ DNA เพื่อให้ได้วัตถุประสงค์ตามที่ต้องการนั้น ทำให้สามารถตรวจสอบการโกงได้ยากมากๆ ซึ่งการเจาะเลือดส่งตรวจไม่สามารถตรวจจับได้เลย เพราะยีนบางยีนสามารถควบคุมให้เปิดหรือปิดการใช้งานเป็นบางช่วงเวลาได้ ในขณะที่บางยีนก็มีผลกับเนื้อเยื่อกล้ามเนื้อเท่านั้น
การที่เรารู้ความลับเกี่ยวกับยีนและสมรรถภาพด้านกีฬานั้น เป็นกุญแจสำคัญในการเพิ่มประสิทธิภาพของนักกีฬาได้ก็จริง แต่อย่างไรก็ตาม ทีมสโมสรกีฬาและนักวิจัยต้องให้ความระมัดระวังเมื่อมีการใช้งานด้านดังกล่าว เพาะมีเพียงเส้นบางๆระหว่างคำว่าผิด และคำว่าถูกต้อง
โดยในปัจจุบันผู้คนตรวจ DNA กันปีละหลายล้านคน เพราะคนเราเกิดมาจาก DNA จำนวน 3 พันล้านคู่ แต่มีเพียง 0.1% ที่ทำให้คนเรามีลักษณะที่ต่างกัน ซึ่งอีกหน่อยการตรวจ DNA และการทำ DNA editing/therapies จะมีอิทธิพลอย่างมากในอนาคต เพื่อนำมาใช้ในการพัฒนาขีดความสามารถของนักกีฬาต่อไป
ทั้งนี้หากใครที่อยากทราบเกี่ยวกับพันธุกรรมและยีนของตัวเอง สามารถเลือกใช้บริการของ Geneus DNA เพื่อรับการรายงานผลทางสุขภาพกว่า 500+ รายการได้ ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อการวางแผนสุขภาพ ตรวจหาพรสวรรค์ด้านต่างๆ ตลอดจนแนวทางการออกกำลังกาย ทั้งของตัวเองและลูกน้อยในอนาคต
อ้างอิง :
https://metrifit.com/blog/genes-in-sport/
https://link.springer.com/article/10.1007/s40318-019-00141-y
https://www.euronews.com/2012/07/31/born-to-run-how-our-genes-affect-our-sporting-talent
https://link.springer.com/article/10.1007/s40318-019-00141-y