Rated 4.98-stars across 2K+ reviews
Rated 4.98-stars across 2K+ reviews Rated 4.98-stars across 2K+ reviews Rated 4.98-stars across 2K+ reviews Rated 4.98-stars across 2K+ reviews Rated 4.98-stars across 2K+ reviews

อาการแพ้ยา ภัยใกล้ตัวที่คาดไม่ถึง เกิดขึ้นได้อย่างไร?

GeneusDNA profile image By
GeneusDNA
|
Aug 13, 2024
|
117
สุขภาพ
พันธุศาสตร์
แพ้ยา, อาการแพ้ยา
Summary
แพ้ยา, อาการแพ้ยา

อาการแพ้ยา เกิดขึ้นได้อย่างไร? เจาะลึกความลับทางสุขภาพ ทำไมบางคนถึงแพ้ยา ควรป้องกันหรือสังเกตอาการอย่างไร บทความนี้มีคำตอบ


การแพ้ยาเป็นปฏิกิริยาของระบบภูมิคุ้มกันที่มีต่อยา ซึ่งสามารถเกิดขึ้นได้กับยาใดๆ ก็ตาม ไม่ว่าจะเป็นยาที่สั่งโดยแพทย์ ยาสามัญที่หาซื้อได้ทั่วไป หรือแม้แต่ยาสมุนไพรเอง ก็สามารถกระตุ้นอาการแพ้ยาจนเกิดผื่นขึ้น หรืออาการต่างๆ ได้เช่นกัน แต่อย่างไรก็ตาม อาการแพ้จะแสดงออกแตกต่างกันไปในแต่ละคน ซึ่งบทความนี้จะพาทุกท่านไปทำความเข้าใจว่า ทำไมเราถึงแพ้ยา พร้อมเจาะลึกอาการแพ้ยาว่าต่างจากผลข้างเคียงของยาอย่างไร รวมถึงประเภทของยาที่คนแพ้บ่อยมีอะไรบ้าง เพื่อเป็นแนวทางในการดูแลตัวเอง หากร่างกายเกิดปฏิกิริยาแพ้ยาแบบไม่คาดฝัน

อาการแพ้ยา ไม่ใช่ผลข้างเคียงของยา ระวังสับสนจนเข้าใจผิด

อาการแพ้ยา - ผลข้างเคียงของยา ต่างกันอย่างไร?

อาการแพ้ยาเกิดขึ้นเมื่อระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายระบุยาว่าเป็นสารที่เป็นอันตราย และตอบสนองด้วยการปล่อยสารเคมีที่ทำให้เกิดอาการแพ้ อาการแพ้ยามักรวมถึงลมพิษ ผื่น ไข้ บวม หายใจลำบาก และในบางกรณีอาจเกิดภาวะแพ้รุนแรงเฉียบพลัน (Anaphylaxis - อนาฟัยแลกซิส) ซึ่งเป็นอาการแพ้ที่คุกคามถึงชีวิต ซึ่งอาการแพ้ยามีความเฉพาะเจาะจงกับผู้ที่มีภูมิคุ้มกันตอบสนองต่อยานั้นๆ โดยจะแสดงอาการเฉพาะเมื่อรับประทานหรือสัมผัสยาเข้าไป

ในทางตรงกันข้าม ผลข้างเคียงของยาเป็นปฏิกิริยาที่มีความเป็นไปได้ที่จะเกิดกับคนใช้ยานั้นๆ ทั่วไป และสามารถคาดการณ์ได้ล่วงหน้า ซึ่งผลข้างเคียงของยามีตั้งแต่เล็กน้อยถึงรุนแรง เช่น อาการปวดหัว คลื่นไส้ ท้องเสีย ง่วงนอน และอื่นๆ โดยผลข้างเคียงของยามักถูกระบุไว้ในฉลากยา และไม่เกี่ยวข้องกับระบบภูมิคุ้มกันของผู้ที่ใช้ยา 

สรุปได้ว่าอาการแพ้ยาเป็นการตอบสนองของระบบภูมิคุ้มกันที่เฉพาะเจาะจงกับผู้ที่แพ้ยาเท่านั้น ในขณะที่ผลข้างเคียงของยาเป็นปฏิกิริยาทั่วไปที่สามารถเกิดขึ้นกับผู้ใช้ยาเกือบทุกคน และมักถูกเขียนแจ้งไว้ที่ฉลากยาแล้ว พร้อมกันนี้อาการแพ้ยาและผลข้างเคียงของยา จะมีความแตกต่างกันทั้งในด้านสาเหตุและอาการที่เกิดขึ้นด้วย

แพ้ยา ผลข้างเคียงยา ต่างกันอย่างไร

อาการแพ้ยาที่พบเจอได้บ่อย

อาการแพ้ยามักเกิดขึ้นภายในหนึ่งชั่วโมงหลังจากรับประทานยา แต่ก็มีบางปฏิกิริยา เช่น ผื่น ที่สามารถเกิดขึ้นได้หลังจากทานยาไปแล้วหลายชั่วโมง หลายวัน หรือหลายสัปดาห์ โดยอาการที่พบบ่อยที่สุดของการแพ้ยาคือ ลมพิษ ผื่น หรือไข้ แต่สำหรับบางคน อาการแพ้ยาก็อาจทำให้เกิดปฏิกิริยารุนแรงได้ เช่น ภาวะร้ายแรงที่คุกคามชีวิตที่เรียกว่า อนาฟัยแลกซิส (anaphylaxis) ซึ่งควรไปพบแพทย์อย่างเร่งด่วน

อาการแพ้ยาที่พบได้บ่อย มีดังนี้

  • ผื่นขึ้นที่ผิวหนัง
  • ลมพิษ
  • มีอาการคัน
  • ไข้ขึ้น
  • มีอาการบวม
  • หายใจถี่
  • หายใจมีเสียงหวีดผิดปกติ
  • น้ำมูกไหล
  • ตาแดง คันตา หรือน้ำตาไหล

นอกจากนี้แล้ว ผู้ที่แพ้ยาบางคนจะมีปฏิกิริยาการแพ้ยาในรูปแบบที่พบได้น้อย และอาจเกิดขึ้นหลังจากสัมผัส หรือทานยาไปแล้วหลายวัน โดยบางรายอาจมีอาการหลงเหลือแม้จะหยุดใช้ยาไปแล้วก็ตาม ซึ่งอาจมีอาการดังนี้

  1. อาการแพ้แบบเซรุ่มซิกเนส (Serum sickness) อาจทำให้มีไข้ ปวดข้อ ผื่นขึ้น บวม และคลื่นไส้ อาจเจอบ่อยในผู้ที่ได้รับยาแก้พิษยาสัตว์
  2. ภาวะโลหิตจางจากยา (Drug-induced anemia) ซึ่งเป็นการลดลงของจำนวนเม็ดเลือดแดง อาจทำให้รู้สึกเหนื่อย หัวใจเต้นผิดปกติ มึนงง วิงเวียนศีรษะ และหายใจถี่
  3. อาการไตอักเสบ (nephritis) ซึ่งอาจทำให้มีไข้ ปัสสาวะเป็นเลือดหรือมีฟองในปัสสาวะ มีอาการบวมน้ำตามส่วนต่างๆ เช่น รอบตา ข้อเท้า และอาจมีอาการปวดหลัง ท้องเสีย มีไข้ เบื่ออาหาร ตลอดจนเลือดกำเดาไหลง่ายผิดปกติในบางราย

อาการแพ้ยา มีแบบไหนบ้าง

อาการแพ้ยาแบบไหนควรรีบไปหาหมอ เพราะอันตรายถึงชีวิต

อนาฟัยแลกซิส อาการแพ้ยารุนแรงที่อาจทำให้เสียชีวิตได้

อนาฟัยแลกซิส (anaphylaxis) คือ ปฏิกิริยาแพ้ยาที่อันตรายถึงชีวิต ซึ่งมักเกิดขึ้นแบบฉับพลัน และแม้จะพบเจอได้ยากกว่าการแพ้ยาทั่วไป แต่ระบบร่างกายของผู้ที่แพ้ยาถึงขั้นอนาฟัยแลกซิส จะทำให้เกิดการทำงานผิดปกติอย่างรุนแรง ซึ่งอาการของอนาฟัยแลกซิสที่สามารถเกิดขึ้นได้ มีดังนี้

  • หลอดลมและลำคอแคบลง ทำให้หายใจลำบาก
  • คลื่นไส้หรือปวดท้องอย่างรุนแรง
  • อาเจียนหรือท้องเสียรุนแรง
  • เวียนศีรษะหรือมึนงง
  • ชีพจรเต้นเร็วและอ่อนแรง
  • ความดันโลหิตลดลง
  • มีอาการชัก
  • หมดสติ

ทั้งนี้หากใครที่พบว่าตัวเองมีอาการผิดปกติอย่างรุนแรง หรือคาดว่าเสี่ยงเป็นอนาฟัยแลกซิส หลังจากใช้ยา ควรรีบขอความช่วยเหลือทางการแพทย์หรือโทร 1669 ส่วนใครที่มีอาการแพ้ยาแต่ไม่รุนแรง ให้ไปพบเภสัชกร หรือหมอด้านต่างๆ ที่เกี่ยวข้องโดยเร็วที่สุด

สาเหตุการแพ้ยาเกิดจากอะไร และคนส่วนใหญ่แพ้ยาแบบไหนบ้าง?

การแพ้ยาเกิดขึ้นเมื่อระบบภูมิคุ้มกันของเราระบุว่ายาคือสิ่งแปลกปลอม หรือสารอันตรายที่อาจเป็นภัยต่อร่างกาย เช่น ไวรัสหรือแบคทีเรีย ทำให้มีการพัฒนาแอนติบอดีจากพลาสมาเซลล์เพื่อต่อสู้กับยานั้นๆ ขึ้นมา ทำให้เราเกิดอาการแพ้ ซึ่งอาการนี้อาจเกิดขึ้นได้ตั้งแต่ครั้งแรกที่เริ่มใช้ยา แต่ในบางรายก็เริ่มพัฒนาอาการเมื่อใช้ยาไปแล้วหลายครั้ง

ทั้งนี้ปฏิกิริยาการแพ้บางอย่าง อาจเกิดจากกระบวนการที่แตกต่างออกไป โดยนักวิจัยเชื่อว่าเมื่อร่างกายเรามีอาการแพ้ยาบางชนิด ระบบภูมิคุ้มกันของเราจะตอบสนองโดยการสร้างอิมมูโนโกลบูลินอี (immunoglobulin E : IgE) ซึ่งเป็นแอนติบอดี (Antibody) ขึ้นมาหลังจากสัมผัสกับยา 

จากนั้นแอนติบอดีจะเข้าไปเกาะติดกับสารดังกล่าว แล้วนำสารแปลกปลอมนั้นไปให้แมสต์เซลล์ (Mast Cells) ซึ่งเป็นเซลล์เม็ดเลือดขาวชนิดหนึ่งทำลาย โดยการปล่อยสารฮีสตามีน (Histamine) ที่อาจทำให้เกิดปฏิกิริยาการแพ้หลังใช้ยานั่นเอง 

นอกจากนี้แล้ว T-cells ซึ่งเป็นเม็ดเลือดขาวชนิดหนึ่งที่ช่วยปกป้องร่างกายจากการติดเชื้อ ก็อาจเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดอาการแพ้ได้เช่นกัน เพราะเมื่อ T-cells มองว่ายาคือสารแปลกปลอม ก็จะเกาะติดกับสารนั้น ทำให้การตอบสนองของระบบภูมิคุ้มกันช้าลง และแสดงอาการแพ้ออกมา เช่น ลมพิษ ผื่นคัน เป็นต้น

สำหรับยาที่ทำให้เกิดอาการแพ้บ่อยครั้ง มีดังนี้

  • ยาปฏิชีวนะ เช่น เพนิซิลลิน (penicillin) และ อะม็อกซีซิลลิน (Amoxicillin)
  • ยาแก้ปวด เช่น แอสไพริน (Aspirin)
  • ยาลดอาการอักเสบ เช่น ไอบูโพรเฟน (Ibuprofen)
  • ยาเคมีบำบัดสำหรับรักษามะเร็ง
  • ยาสำหรับโรคภูมิคุ้มกัน เช่น โรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ (rheumatoid arthritis)
  • ยาสำหรับรักษาโรคไทรอยด์ เช่น ไอโอดีน (Iodine) 
  • ยารักษาโรคเก๊าท์ เช่น อัลโลพูรินอล (Allopurinol)
  • ยารักษาผู้ติดเชื้อเอชไอวีหรือเอดส์ เช่น อะบาคาเวียร์ (Abacavir) และเนวิราปีน (Nevirapine)

ปัจจัยเสี่ยง สาเหตุที่ทำให้แพ้ยา

ปัจจัยเสี่ยงที่อาจทำให้แพ้ยา

แม้ว่าทุกคนสามารถมีปฏิกิริยาการแพ้ยาได้ แต่มีปัจจัยบางอย่างที่เพิ่มความเสี่ยง ให้คนบางกลุ่มมีแนวโน้มแพ้ยามากกว่าคนทั่วไปได้ ดังนี้

  • ประวัติการแพ้อื่นๆ เช่น การแพ้อาหาร หรือโรคจมูกอักเสบจากภูมิแพ้
  • คนในครอบครัวมีประวัติของการแพ้ยา
  • การสัมผัสยามากขึ้นเนื่องจากการใช้ยาในปริมาณสูง การใช้ซ้ำหรือการใช้เป็นเวลานานก็อาจทำให้แพ้ยาได้
  • โรคบางอย่างที่เกี่ยวข้องกับปฏิกิริยาการแพ้ยา เช่น การติดเชื้อเอชไอวี หรือไวรัสเอปสไตน์-บาร์

วิธีป้องกันอาการแพ้ยา

การป้องกันอาการแพ้ยาเป็นเรื่องที่ทำได้ยาก เนื่องจากกว่าคนโดยทั่วไปจะรู้ว่าตนแพ้ยา ก็ต้องเสี่ยงทานยาดังกล่าวเข้าสู่ร่างกายไปก่อน ซึ่งบางรายอาจโชคดีที่มีอาการแพ้ยาเพียงเล็กน้อย แต่บางรายก็อาจเสี่ยงถึงขั้นเสียชีวิตได้ ทั้งนี้ในปัจจุบันได้มีเทคโนโลยีการตรวจยีน ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของสายดีเอ็นเอ (DNA)  เพื่อดูแนวโน้มอาการแพ้ยาและภูมิแพ้อื่นๆ ของตนเองได้ และหากทราบผลการแพ้ยาแล้ว ก็ควรแจ้งเรื่องการแพ้ยาแก่บุคคลที่เกี่ยวข้อง เพื่อลดความเสี่ยงในอนาคต เช่น 

แจ้งเจ้าหน้าที่ดูแลสุขภาพ และตรวจสอบให้แน่ใจว่าการแพ้ยาได้ถูกระบุอย่างชัดเจน ในบันทึกทางการแพทย์ของตนเอง และต้องแจ้งให้ผู้ให้บริการด้านการดูแลสุขภาพอื่นๆ ทราบ เช่น ทันตแพทย์เมื่อไปทำฟัน หรือแพทย์ที่รักษาโรคต่างๆ และเภสัชกรที่จัดยาให้หากมีอาการป่วย

นอกจากนี้ผู้ที่แพ้ยายังสามารถสวมสร้อยข้อมือสัญลักษณ์การแพ้ยาได้ด้วย (เป็นวิธีที่ได้รับความนิยมในต่างประเทศ) โดยผู้ที่แพ้ยาสามารถแจ้งยาที่แพ้ และข้อมูลต่างๆ ได้บนสร้อยข้อมือ เพื่อลดโอกาสเสี่ยงหากมีเหตุฉุกเฉินที่ต้องได้รับการช่วยเหลือทางการแพทย์

บริการ Geneus DNA

สั่งซื้อ Geneus DNA

ตรวจดีเอ็นเอ (DNA) หาแนวโน้มการแพ้ยา

สำหรับผู้ที่ต้องการทราบโอกาสหรือแนวโน้มการแพ้ยาของตัวเอง สามารถทำได้ด้วยการใช้บริการของ Geneus DNA เพราะทางจีเนียสจะทำการถอดรหัสพันธุกรรมกว่า 20,000 ยีน ด้วยเทคโนโลยี Whole Genome-wide Array (วิเคราะห์จำนวน SNPs กว่า 10 ล้านตำแหน่ง) โดยหลังจากเข้ารับบริการ ท่านจะได้ทราบผลสุขภาพกว่า 500+ รายการ ซึ่งครอบคลุมตั้งแต่ โภชนาการ แนวโน้มความเสี่ยงโรคต่างๆ วิธีการออกกำลังกายที่เหมาะกับตัวเอง และอาการภูมิแพ้ ซึ่งรวมถึงการแพ้ยาด้วย


ทั้งนี้การตรวจดีเอ็นเอเพียงครั้งเดียว สามารถรู้ผลทางสุขภาพได้ตลอดชีวิต ผ่านแอปพลิเคชัน Geneus DNA บนหน้าจอโทรศัพท์มือถือ ซึ่งผลการวิเคราะห์ดังกล่าว จัดทำขึ้นโดยห้องแล็บที่ได้มาตรฐานระดับโลกจากประเทศสหรัฐอเมริกา ทำให้มีความแม่นยำมาก

 

 

chat line chat facebook