Rated 4.98-stars across 2K+ reviews
Rated 4.98-stars across 2K+ reviews Rated 4.98-stars across 2K+ reviews Rated 4.98-stars across 2K+ reviews Rated 4.98-stars across 2K+ reviews Rated 4.98-stars across 2K+ reviews

อาหาร ลดความเสี่ยงโรคอัลไซเมอร์ ทางเลือกของคนรักสุขภาพ

GeneusDNA profile image By
GeneusDNA
|
Jul 01, 2024
|
110
อาหาร
สุขภาพ
อัลไซเมอร์, อาหาร อัลไซเมอร์, อัลไซเมอร์ อาการ, โรคอัลไซเมอร์ วิธีรักษา
Summary
อัลไซเมอร์, อาหาร อัลไซเมอร์, อัลไซเมอร์ อาการ, โรคอัลไซเมอร์ วิธีรักษา

อัลไซเมอร์ โรคทางสมองใกล้ตัวกว่าที่คิด เริ่มดูแลตัวเองให้ถูกวิธี เพื่อป้องกันอาการทางสมอง ให้ตื่นตัวและความจำดี พร้อมเคียงข้างคนที่รักอยู่เสมอ

อัลไซเมอร์ อาการทางสมองที่กระทบทั้งผู้ป่วยและคนรอบข้าง ทำความเข้าใจว่าโรคอัลไซเมอร์คืออะไร พร้อมไขความลับ แนวทางการป้องกันตัวเองจากโรคอัลไซเมอร์ ตลอดจนแนะนำอาหารและวิตามินที่ควรทานเพื่อบำรุงสมอง ให้ปลอดภัยจากภัยเงียบที่พร้อมจะทำลายความทรงจำและการทำงานของสมองในระยะยาว

โรคอัลไซเมอร์ ต้นเหตุของความทรงจำที่หายไป ต้องหาวิธีป้องกันให้ดี

โรคอัลไซเมอร์ คืออะไร มีผลกระทบต่อผู้ป่วยอย่างไรบ้าง?

โรคอัลไซเมอร์ (Alzheimer disease; AD) คือโรคความผิดปกปกติทางสมองที่ต้องให้ความสำคัญอย่างมาก เนื่องจากโรคนี้ไม่ได้ส่งผลกระทบต่อชีวิตของผู้ป่วยเท่านั้น แต่ยังมีผลต่อชีวิตผู้คนรอบข้างที่เรารักอีกด้วย (ภาพที่ 1) จากข้อมูลทางสถิติพบว่าจำนวนผู้ป่วยโรคภาวะสมองเสื่อมในลักษณะนี้มีเพิ่มขึ้นขึ้นเรื่อยๆ อย่างน่าใจหาย และอาจจะเพิ่มเป็นสองเท่าในอีก 30 ปีข้างหน้า โดยผู้ป่วยโรคอัลไซเมอร์ในภาวะเริ่มต้นจะมีอาการทางสมองและความทรงจำ หากรุนแรงขึ้นจะส่งผลทำให้มีปัญหาเกี่ยวกับการรับรู้ ความทรงจำในระยะยาว และจะมีผลกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวัน ดูแลตนเองไม่ได้ ตลอดจนเกิดผลกระทบต่อคนรอบข้างในที่สุด

 ลักษณะของโรคอัลไซเมอร์

ภาพที่ 1 ลักษณะของโรคอัลไซเมอร์

อาหารที่ลดความเสี่ยงโรคอัลไซเมอร์


เมื่อไม่นานมานี้มีการศึกษาจากคณะผู้วิจัยจาก RUSH Unverisity Memory and Aging Ptoject in Chicago และ Virginia Tech Carilion School of Medicine เกี่ยวกับปริมาณของสารอาหารบางอย่างที่อาจจะแตกต่างกันในสมองของผู้ป่วยอัลไซเมอร์และคนทั่วไป โดยในช่วงแรกคณะผู้วิจัยได้ทำการศึกษาพฤติกรรม อาหาร และโครงสร้างของสมองของผู้ป่วยเทียบกับคนทั่วไป จากการศึกษาพบว่าในสมองของผู้ป่วยอัลไซเมอร์มีสารอาหารโดยเฉพาะกลุ่มแคโรทีนอยด์ (carotenoid) น้อยกว่าคนทั่วไป ได้แก่ Lutein, Zeaxanthin, Anhydrolutein, Retinol, Lycopene และ Alpha-tocopherol

นอกจากนี้การศึกษายังพบข้อมูลที่น่าสนใจเพิ่มเติมว่า กลุ่มคนที่รับประทานอาหารประเภท MIND (the Mediterranean-DASH Intervention for Neurodegenerative Delay diet) ช่วยลดความเสี่ยง ความรุนแรงของโรคอัลไซเมอร์ได้ ทั้งยังมีการรับรู้และความทรงจำที่ดีขึ้น ซึ่งอาหารประเภท MIND คือเมนูอาหารที่ได้ออกแบบให้มีสารอาหารประเภทแคโรทีนอยด์และสารอาหารที่สำคัญอื่นๆ พร้อมลดอาหารที่ไม่ดีต่อสุขภาพบางอย่าง (ภาพที่ 2) ซึ่งอาหารที่เหมาะจะรับประทานมีด้วยกันหลายอย่าง เช่น แซลมอนในน้ำมันมะกอกเสริฟพร้อมกับควินัว ข้าวโอ้ต อัลมอนด์ และบลูเบอร์รี่ เป็นต้น 


 ตัวอย่างอาหารป้องกันโรคอัลไซเมอร์ ประเภท MIND

ภาพที่ 2 ตัวอย่างอาหารประเภท MIND

วิธีป้องกันโรคอัลไซเมอร์ เริ่มต้นได้ด้วยตัวเอง

นอกจากการเลือกรับประทานสารอาหารเหล่านี้ เราสามารถป้องกันหรือลดความเสี่ยงของโรคอัลไซเมอร์ รวมทั้งภาวะผิดปกติทางสมองอื่นๆ ได้โดยวิธีการดังนี้

1. การออกกำลังกายเป็นประจำสม่ำเสมอ จะช่วยให้สุขภาพโดยรวมดีขึ้น

2. รักษาสุขภาพทางเดินอาหาร เนื่องจากภาวะทางสมองเกี่ยวข้องกับสารอาหารที่ได้รับมาจากการรับประทานอาหาร ดังนั้นการรับประทานอาหารบางอย่าง เช่น น้ำมันตับปลา ใบแปะก๊วย และการดื่มชาในปริมาณที่เหมาะสม จะมีสารอาหารช่วยเสริมสร้างการทำงานของสมองและป้องกันโรคอัลไซเมอร์ได้

3. รักษาระดับไขมันดี (LDL) และลดระดับไขมันเลว (HDL) เพราะสามารถช่วยลดความเสี่ยงของโรคอัลไซเมอร์ได้จริง

4. การมีงานอดิเรกที่ช่วยฝึกการใช้ความคิดเป็นประจำ จะช่วยลดความเสี่ยงของโรคอัลไซเมอร์ พร้อมกระตุ้นการทำงานของสมอง

บริการตรวจ DNA วิเคราะห์โอกาสเกิดโรคอัลไซเมอร์

เห็นได้ชัดว่า แม้โรคอัลไซเมอร์จะเป็นโรคที่ส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตเป็นอย่างมาก แต่ก็มีวิธีการต่างๆ มากมายในการป้องกันโรค พร้อมเสริมสร้างการทำงานของสมองได้  และนอกจากปัจจัยทางอาหาร ตลอดจนพฤติกรรมต่างๆ ที่มีผลต่อความเสี่ยงในการเกิดโรค การเกิดโรคอัลไซเมอร์ก็ยังเกี่ยวข้องและถูกควบคุมด้วยลักษณะพันธุกรรมของเราเช่นเดียวกัน ซึ่งการแสดงออกทางพันธุกรรมเหล่านี้จะแตกต่างกันไปในแต่ละบุคคล

ดังนั้นหากเราทราบลักษณะทางพันธุกรรมของเรา ก็จะสามารถระมัดระวัง พร้อมลดความเสี่ยงและความรุนแรงของโรคอัลไซเมอร์และภาวะทางสมองอื่นๆ ได้อย่างดียิ่งขึ้น โดยในปัจจุบันนี้เรามีเทคโนโลยีที่สามารถตรวจหาพันธุกรรมของลักษณะที่เกี่ยวข้องกับโรคอัลไซเมอร์และโรคที่เกี่ยวข้องต่างๆ ได้ ด้วย Geneus DNA นวัตกรรมวิเคราะห์สุขภาพจาก DNA (ภาพที่ 3 และ 4) ซึ่งทำการถอดรหัสพันธุกรรมกว่า 20,000 ยีน ด้วยเทคโนโลยี Whole Genome-wide Array (วิเคราะห์จำนวน SNPs กว่า 10 ล้านตำแหน่ง) 

ตัวอย่างผลการตรวจ DNA เพื่อบอกแนวโน้มการเป็นโรคอัลไซเมอร์

ภาพที่ 3 ตัวอย่างผลการตรวจ DNA เพื่อบอกแนวโน้มการเป็นโรคอัลไซเมอร์

เพียงแค่เก็บตัวอย่างน้ำลาย ไม่ต้องเจาะเลือด และสามารถรู้ผลทางสุขภาพและลักษณะทางพันธุกรรมมากกว่า 500+ รายการได้ ไม่ว่าจะเป็นลักษณะทางกายภาพต่างๆ ความสามารถในการดูดซึมสารอาหาร ความเสี่ยงโรค ภูมิแพ้ การแพ้ยา และอื่นๆ อีกมากมาย ซึ่งสามารถตรวจได้ทั้งครอบครัว โดยจะมีการรายงานผลขึ้น Application ตรวจครั้งเดียวรายงานผลตลอดชีวิต จากการวิเคราะห์ด้วย Lab มาตรฐานระดับโลกจาก USA ที่มีความแม่นยำ และมีแพทย์ให้คำแนะนำในการป้องกันได้อย่างตรงจุด




 ตัวอย่างผลการตรวจ DNA เพื่อบอกแนวโน้มลักษณะต่างๆที่เกี่ยวข้อง

ภาพที่ 4 ตัวอย่างผลการตรวจ DNA เพื่อบอกแนวโน้มลักษณะต่างๆที่เกี่ยวข้อง

ซื้อที่ตรวจดีเอ็นเอ โรคอัลไซเมอร์

โรคอัลไซเมอร์ ตรวจยังไง


อ้างอิง

ภาพ

https://blog.thebristal.com/try-the-mind-diet-for-better-cognitive-health  


ข้อมูล

https://draxe.com/nutrition/mind-diet-plan-benefits   

  • Boyle PA, et al. 2017. Varied effects of age-related neuropathologies on the trajectory of late life cognitive decline. Brain. 140(9):2492-2506.
  • Breijyeh Z, et al. 2020. Comprehensive review on Alzheimer’s disease: causes and treatment. Molecules. 25(24):5789.
  • de Souza LC, et al. 2014. Biological markers of Alzheimer's disease. Arquivos de Neuropsiquiatria. 72(10):767-779.
  • Doran E, et al. 2017. Down syndrome, partial trisomy 21, and absence of Alzheimer's disease: the role of APP. Journal of Alzheimer's Disease. 61(3):957-967.
  • Hardy J, et al. 2002. The amyloid hypothesis of Alzheimer's disease: progress and problems on the road to therapeutics. Science. 297(5580):353-356.
  • Jack CR, Jr., et al. 2011. Neuropathologically defined subtypes of Alzheimer's disease with distinct clinical characteristics: a retrospective study. The Lancet Neurology. 10(11):976-988.
  • Kang S, et al. 2017. Metabolism-centric overview of the pathogenesis of Alzheimer's disease. Yonsei Medical Journal. 58(3):479-492.
    Kling MA, et al. 2013. Vascular disease and dementias: paradigm shifts to drive research in new directions. Alzheimer's & Dementia. 9(7):761-777.
  • Mucke L. 2009. Alzheimer's disease: risk factors and potentially protective measures. Nature. 461(7260):803-811.
    Muller UC, et al. 2017. Not just amyloid: physiological functions of the amyloid precursor protein family. Nature Reviews Neuroscience. 18(11):688-701.
  • Querfurth HW, et al. 2010. Alzheimer's disease. The New England Journal of Medicine. 362(23):2206-2212.
chat line chat facebook