Rated 4.98-stars across 2K+ reviews
Rated 4.98-stars across 2K+ reviews Rated 4.98-stars across 2K+ reviews Rated 4.98-stars across 2K+ reviews Rated 4.98-stars across 2K+ reviews Rated 4.98-stars across 2K+ reviews

"สุขภาพดี" ง่ายๆ เริ่มต้นด้วยโภชนาการ

GeneusDNA profile image By
GeneusDNA
|
Feb 21, 2024
|
962
รู้หรือไม่
สุขภาพ
healthy unlock nutrition
Summary
healthy unlock nutrition

สุขภาพที่ดี คือ สิ่งที่ทุกคนต้องการ เรารู้ว่าไม่มีใครอยากเจ็บป่วยและอยากมีร่างกายที่แข็งแรง ซึ่งเราสามารถมีสุขภาพดีได้ง่ายๆ

สุขภาพดี คืออะไร?

สุขภาพที่ดี คือ สิ่งที่ทุกคนต้องการ เรารู้ว่าไม่มีใครอยากเจ็บป่วยและอยากมีร่างกายที่แข็งแรง ซึ่งเราสามารถมีสุขภาพดีได้ง่ายๆ เริ่มต้นด้วยโภชนาการ อาหารการกิน สารอาหารที่เราได้รับ รวมไปถึงการพฤติกรรมในชีวิตประจำวันของเรา เช่น การออกกำลังกาย และการควบคุมอารมณ์

สมัยเด็กๆ คุณพ่อคุณแม่และคุณครู มักจะสอนเรื่องโภชนาการอาหารเพื่อให้มีสุขภาพดี ว่าจะต้องรับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ แต่คุณรู้หรือไม่ว่า มีคนจำนวนไม่น้อยเลยที่ไม่สามารถตอบได้ว่า อาหาร 5 หมู่ประกอบด้วยอะไรบ้าง และสิ่งที่มักจะถูกลืมเสมอเลยคือ วิตามินและแร่ธาตุ ทั้งๆที่เป็นส่วนสำคัญในการช่วยให้คุณมีสุขภาพที่ดี

 

 

"อโรคยา ปรมา ลาภา" ความไม่มีโรค คือลาภอันประเสริฐ

สุขภาพดี คือความไม่มีโรค เราไม่มีทางเข้าใจเลยว่า ภาษิตข้างต้นเป็นจริงเพียงใด จนกว่าคุณหรือคนใกล้ตัวคุณเจ็บป่วย จำเป็นต้องรักษา เข้าโรงพยาบาลและเสียค่าใช้จ่ายในการรักษานั้น หรือแม้กระทั่งได้รับความทุกข์ทรมานจากอาการของโรค แม้ว่าคุณจะมีเงินในบัญชีมากเท่าไหร่ ก็ไม่สามารถซื้อความสมบูรณ์ของร่างกายตัวเองให้กลับมาแข็งแรงหรือมีสุขภาพที่ดีเหมือนก่อนหน้าได้

แล้วจะดีกว่าไหมนะ? ถ้าเรามีสุขภาพดี โดยเริ่มป้องกันโรคภัยไข้เจ็บต่างๆได้ตั้งแต่ต้น จากการรับประทานอาหารในชีวิตประจำวันของเรา

สุขภาพดี จากสมดุลทางโภชนาการ

สมดุลทางโภชนาการ คือการที่เราได้รับสารอาหารครบถ้วนตามความต้องการของร่างกายเพื่อนำไปสู่การมีสุขภาพที่ดี

ความเข้าใจด้านสมดุลทางโภชนาการเป็นกุญแจสำคัญต่อสุขภาพและสุขภาวะที่ดี และแน่นอนว่าเราสามารถเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตให้ดีขึ้นได้โดยเติมเต็มโภชนาการให้ร่างกายอย่างเหมาะสม และนำไปสู่การบรรลุเป้าหมายของการมีสุขภาพที่ดีที่สุดในแบบฉบับของเรา

 

 

สุขภาพดี บอกได้โดยการตรวจเลือด

การตรวจเลือดหรือตรวจสารอาหารรองสำหรับวิตามินและแร่ธาตุ (micronutrient panel tests) เป็นที่รู้จักกันดีในคลินิกและโรงพยาบาลหลายแห่ง การตรวจนี้จะให้ข้อมูลโดยละเอียดเกี่ยวกับภาวะ โภชนาการของแต่ละบุคคลอย่างจำเพาะ ผลจากการตรวจเลือดจะช่วยให้เราทราบถึงระดับวิตามินและแร่ธาตุในร่างกายโดยอ้างอิงจากประชากรส่วนใหญ่ (ประชากรไทย) ดังแสดงใน ตารางที่ 1

ตัวอย่างเช่น ระดับของวิตามินจากการตรวจเลือดสามารถจำแนกได้จากสเปกตรัมสีที่แสดงในตารางด้านล่าง ระดับต่ำ (สีแดง) ระดับกลาง (สีเหลือง) และระดับสูง (สีเขียว)

 

ตาราง 1 ผลที่แสดงระดับวิตามินและแร่ธาตุจากการตรวจเลือดเมื่อเปรียบเทียบกับประชากรอ้างอิง

 

สุขภาพดี ทราบได้โดยไม่ต้องเจาะเลือด ด้วยนวัตกรรมใหม่จากการตรวจ DNA

การตรวจดีเอ็นเอเป็นอีกทางเลือกหนึ่งเพื่อให้ทราบถึงภาวะโภชนาการแทนการตรวจเลือดแบบปกติ การตรวจ DNA นั้น ทำได้ง่ายๆ โดยใช้อุปกรณ์เก็บตัวอย่างถูเบาๆ ที่กระพุ้งแก้มด้านในซึ่งจะเป็นการเก็บ DNA จากน้ำลายของเราโดยไม่ต้องใช้เข็ม ปัจจุบันนี้การตรวจดีเอ็นเอเพื่อให้เห็นภาพรวมของความสามารถในการดูดซึมวิตามินและแร่ธาตุที่เฉพาะเจาะจงได้รับความนิยมอย่างมาก เนื่องจากมีหลักฐานมากมายยืนยันว่าการตรวจดีเอ็นเอสามารถระบุความแปรผันทางพันธุกรรมที่เฉพาะเจาะจงและเผยให้เห็นความแตกต่างในการดูดซึมวิตามินและแร่ธาตุต่างๆ ของแต่ละคน

นอกจากนี้การตรวจดีเอ็นเอสามารถให้ข้อมูลเชิงลึกว่าสารอาหารใดที่เราจำเป็นต้องได้รับมากขึ้น และอาหารประเภทใดเหมาะสมที่สุดสำหรับร่างกายของเรา

หลักการสำคัญคือการตรวจดีเอ็นเอจะแสดงให้ทราบถึงการแปรผันของยีนและทำให้ทราบว่าร่างกายของเราอาจดูดซึมสารอาหารบางชนิดได้ไม่ดี เช่น วิตามินจากอาหาร นั่นหมายความว่าเรามีความเสี่ยงต่อการขาดวิตามินนี้เพิ่มมากขึ้นกว่าบุคคลอื่น ในกรณีนี้จึงแนะนำให้ทานวิตามินเฉพาะบุคคลเพื่อส่งเสริมให้คุณมีสุขภาพที่ดี กล่าวอีกนัยหนึ่ง การทานวิตามินเฉพาะบุคคลมีเป้าหมายเพื่อเติมเต็มความต้องการวิตามินที่เรามีแนวโน้มว่าจะขาดวิตามินนั้นตามพันธุกรรมของเรา

สุขภาพดี และการกำจัดสารพิษในตับ

เพื่อให้บรรลุเป้าหมายของการมีสุขภาพที่ดีที่สุด นอกจากสมดุลทางโภชนาการแล้ว ความสามารถของร่างกายในการกำจัดสารพิษถือเป็นสิ่งสำคัญ ในชีวิตประจำวัน เราได้รับสารพิษมากมายรวมถึงสารก่อมะเร็งและสารก่อกลายพันธุ์ สารทั้งสองนี้จะเพิ่มอนุมูลอิสระในร่างกายและนำไปสู่ปัญหาสุขภาพมากมาย เช่น ความชราของเซลล์ ปัญหาด้านสายตาและการมองเห็น โรคเบาหวาน และภาวะสมองเสื่อม

อย่างไรก็ตาม ร่างกายของเรามีกลไกการป้องกันอนุมูลอิสระตามธรรมชาติโดยการกำจัดสารพิษจากตับ

เอนไซม์หลัก 2 ชนิดที่ใช้กำจัดสารพิษในตับคือ glutathione S-transferases (GST) และ Superoxide dismutase (SOD) เอนไซม์นี้เกี่ยวข้องกับการกำจัดอนุมูลอิสระ ดังแสดงใน รูปที่ 1

ด้วยเทคโนโลยีที่ล้ำสมัยของการตรวจดีเอ็นเอ นักวิทยาศาสตร์สามารถประเมินการทำงานของยีน GST และ SOD และเผยให้เห็นถึงความสามารถในการกำจัดสารพิษออกจากร่างกายและชี้แนะแนวทางเพื่อนำไปสู่วิถีชีวิตที่มีสุขภาพดีขึ้นในแบบของเราได้

 

รูปที่ 1 ผลจากความเครียดออกซิเดชันต่อชิ้นส่วนของพืชและกลไกการป้องกันที่แตกต่างกัน อนุมูลอิสระทำให้เกิดความเสียหายร้ายแรงต่อเซลล์โดยการยับยั้งโปรตีน ทำลาย DNA และเมตาบอลิซึมอื่นๆ

 

สุขภาพดีด้วยโภชนพันธุศาสตร์แห่งอนาคต

การวิจัยทางพันธุกรรมในปัจจุบันค้นพบความแปรผันทางพันธุกรรมใหม่ๆ อย่างต่อเนื่อง และแน่นอนว่าข้อมูลนี้สามารถนำไปใช้แสดงให้เห็นภาพรวมของภาวะทางโภชนาการของแต่ละบุคคลได้อย่างสมบูรณ์

ผลจากการตรวจดีเอ็นเอที่ได้รับความนิยมมากขึ้นและคำแนะนำเฉพาะบุคคลจากแพทย์ เราจะได้รับมุมมองที่หลากหลายของการมีสุขภาพที่เหมาะสมอย่างรอบด้าน

 

 

เพื่อบรรลุเป้าหมายสูงสุดของสุขภาวะที่ดี

เผยความลับจาก DNA ของคุณและปรึกษากับแพทย์เฉพาะทางด้านโภชนพันธุศาสตร์ที่พร้อมนำเสนอแนวทางเฉพาะบุคคลเพื่อสุขภาพที่ดีที่สุดในแบบของคุณ

 

References:

  1. Theethira, T. G., & Dennis, M. (2015). Celiac disease and the gluten-free diet: consequences and recommendations for improvement. Digestive Diseases, 33(2), 175-182.
  2. Salminen, E., Bishop, M., Poussa, T., Drummond, R., & Salminen, S. (2004). Dietary attitudes and changes as well as use of supplements and complementary therapies by Australian and Finnish women following the diagnosis of breast cancer. European journal of clinical nutrition, 58(1), 137-144.
  3. Lee, H.J., Shin, J., Hong, K. and Jung, J.H., 2015. Vitamin C Deficiency of Korean Homeless Patients Visiting to Emergency Department with Acute Alcohol Intoxication. Journal of Korean Medical Science, 30(12), pp.1874-1880.
  4. Vibrant-america.com. 2022. Micronutrient : Vibrant America. [online] Available at: <https://www.vibrant-america.com/micronutrient/> [Accessed 30 April 2022].
  5. Zhang, W., Ng, H. W., Shu, M., Luo, H., Su, Z., Ge, W., ... & Hong, H. (2015). Comparing genetic variants detected in the 1000 genomes project with SNPs determined by the International HapMap Consortium. Journal of genetics, 94(4), 731-740.
  6. Jenab, M., Slimani, N., Bictash, M., Ferrari, P. and Bingham, S.A., 2009. Biomarkers in nutritional epidemiology: applications, needs and new horizons. Human genetics, 125(5), pp.507-525.
  7. Jenab, M., Slimani, N., Bictash, M., Ferrari, P. and Bingham, S.A., 2009. Biomarkers in nutritional epidemiology: applications, needs and new horizons. Human genetics, 125(5), pp.507-525.
  8. Zerofsky, M. S., Jacoby, B. N., Pedersen, T. L., & Stephensen, C. B. (2016). Daily cholecalciferol supplementation during pregnancy alters markers of regulatory immunity, inflammation, and clinical outcomes in a randomized controlled trial. The Journal of Nutrition, 146(11), 2388-2397.
  9. Kafeel, S. (2020). Isolation of DNA from Saliva and Cheek Cells Using Household Chemicals. Journal of Life Sciences, 14, 22-24.
  10. Motulsky, A. G. (1987). Human genetic variation and nutrition. The American Journal of Clinical Nutrition, 45(5), 1108-1113.
  11. BDMS Wellness Clinic. 2022. BDMS Wellness Clinic. [online] Available at: <https://www.bdmswellness.com/en/our-programs/10/Micronutrient-Management.html> [Accessed 4 May 2022].
  12. Hasani-Ranjbar, S. and Larijani, B., 2017. Human microbiome as an approach to personalized medicine. Alternative therapies in health and medicine, 23(6), pp.8-9.
  13. Mansoor, S., Ali Wani, O., Lone, J. K., Manhas, S., Kour, N., Alam, P., ... & Ahmad, P. (2022). Reactive Oxygen Species in Plants: From Source to Sink. Antioxidants, 11(2), 225.
  14. Lampe, J. W. (2007). Diet, genetic polymorphisms, detoxification, and health risks. Altern Ther Health Med, 13(2), S108-S111.
  15. Lagouge, M., & Larsson, N. G. (2013). The role of mitochondrial DNA mutations and free radicals in disease and ageing. Journal of internal medicine, 273(6), 529-543.
  16. Li, C., Long, J., Hu, X., & Zhou, Y. (2013). GSTM1 and GSTT1 genetic polymorphisms and risk of anti-tuberculosis drug-induced hepatotoxicity: an updated meta-analysis. European journal of clinical microbiology & infectious diseases, 32(7), 859-868.
chat line chat facebook