Rated 4.98-stars across 2K+ reviews
Rated 4.98-stars across 2K+ reviews Rated 4.98-stars across 2K+ reviews Rated 4.98-stars across 2K+ reviews Rated 4.98-stars across 2K+ reviews Rated 4.98-stars across 2K+ reviews

ผู้หญิงที่มีโครโมโซมเพศชาย XY กับข้อโต้แย้งในฐานะนักกีฬา

GeneusDNA profile image By
GeneusDNA
|
Aug 03, 2024
|
3.06 k
สุขภาพ
พันธุศาสตร์
ผู้หญิงที่มีโครโมโซมเพศชาย XY
Summary
ผู้หญิงที่มีโครโมโซมเพศชาย XY

ทำความเข้าใจ ผู้หญิงที่มีโครโมโซมเพศชาย XY เกิดขึ้นได้อย่างไร สามารถมีลูก หรือแข่งกีฬากับเพศหญิงที่มีโครโมโซม XX ได้จริงไหม และแตกต่างกับคนข้ามเพศ หรือ Transgender อย่างไรบ้าง


การเข้าใจเรื่องความหลากหลายทางเพศ ถือเป็นสิ่งสำคัญในโลกสมัยใหม่ อย่างเช่นในกรณีข่าวดังระดับโลก เกี่ยวกับการแข่งชกมวยหญิงในโอลิมปิก 2024 หลังมีการค้นพบว่า ผู้หญิงที่มีโครโมโซม XY แบบเพศชาย สามารถขึ้นชกกับผู้หญิงที่มีโครโมโซม XX ได้ ทำให้เกิดกระแสวิพากษ์วิจารณ์ และข้อถกเถียงทั่วโลก 

บทความนี้จึงจะพาทุกคนไปทำความเข้าใจว่า เพศกำเนิดที่หลากหลาย (Intersex) คืออะไร ทำไมผู้หญิงถึงมีโครโมโซม XY และมีข้อได้เปรียบทางความแข็งแรงกว่าเพศหญิงที่มีโครโมโซม XX จริงหรือไม่?

Intersex คนเพศกำกวม ทำไมผู้หญิงถึงมีโครโมโซมเพศชาย XY

เพศกำเนิดหลากหลาย (Intersex) คืออะไร?

เพศกำเนิดหลากหลาย (Intersex) หรือที่เรียกว่า คนเพศกำกวม หมายถึง กลุ่มของสภาวะที่บุคคลหนึ่ง เกิดมาพร้อมกับลักษณะทางเพศ หรืออวัยวะสืบพันธุ์ ที่ไม่เข้ากับนิยามปกติของเพศชาย หรือเพศหญิงโดยตรง ซึ่งอาจเกี่ยวข้องกับโครโมโซม ต่อมเพศ ฮอร์โมนเพศ หรือการพัฒนาอวัยวะเพศที่ผิดปกติ 

ผู้หญิงที่มีโครโมโซมเพศชาย XY

ภาพจาก http://www.mayaposch.com/intersex.php 

ผู้หญิงที่มีโครโมโซมเพศชาย XY

หนึ่งในสภาวะที่เป็นที่รู้จักกันดีในกลุ่ม Intersex คือการที่ผู้หญิงมีโครโมโซม XY ซึ่งมักพบในผู้ที่มีภาวะการต่อต้านฮอร์โมนแอนโดรเจน (Androgen Insensitivity Syndrome - AIS) โดยผู้หญิงที่มีภาวะนี้ มีรูปแบบโครโมโซมเพศชาย (XY) แต่เนื่องจากร่างกายไม่สามารถตอบสนอง ต่อฮอร์โมนแอนโดรเจนได้ ทำให้เกิดการพัฒนาอวัยวะเพศภายนอกเป็นแบบผู้หญิง และโดยทั่วไปผู้ที่มีภาวะ AIS จะได้รับการเลี้ยงดูเป็นหญิง และมักจะถูกระบุเพศเป็นหญิงด้วย

ทั้งนี้ AIS จัดเป็นส่วนหนึ่งของ DSD (Differences in Sexual Development) ซึ่งหมายถึง ภาวะที่มีความหลากหลายในลักษณะทางเพศตั้งแต่กำเนิด อาจเกิดขึ้นจากความแตกต่างในโครโมโซม ฮอร์โมน หรือโครงสร้างทางกายภาพของอวัยวะเพศ โดยภาวะ DSD นี้ สามารถทำให้บุคคลมีลักษณะทางเพศที่ไม่ตรงกับเพศที่ได้รับการกำหนดเมื่อเกิดนั่นเอง

สำหรับการกำหนดเพศของมนุษย์ หากอ้างอิงตามหลักวิทยาศาสตร์ จะขึ้นอยู่กับการมีหรือไม่มีโครโมโซม Y โดยทั่วไปเพศหญิงจะมีโครโมโซม XX และเพศชายจะมีโครโมโซม XY อย่างไรก็ตาม ภาวะที่พบเจอได้บ่อยอย่างหนึ่งก็คือ สภาวะที่บุคคลที่มีโครโมโซม XY แต่มีการพัฒนาเป็นเพศหญิง ซึ่งเรียกว่า Androgen Insensitivity Syndrome (AIS) หรือภาวะการต้านฮอร์โมนแอนโดรเจน

Androgen Insensitivity Syndrome (AIS) แบ่งออกเป็น 2 ประเภทหลัก ได้แก่

1. Complete Androgen Insensitivity Syndrome (CAIS): บุคคลที่มีภาวะ CAIS จะมีอวัยวะเพศภายนอกที่เป็นหญิงสมบูรณ์ และมักจะได้รับการระบุเพศเป็นหญิงตั้งแต่เกิด

2. Partial Androgen Insensitivity Syndrome (PAIS): บุคคลที่มีภาวะ PAIS อาจมีอวัยวะเพศภายนอกที่มีลักษณะเป็นชายหรือหญิง หรือมีทั้งสองอย่างผสมกัน ขึ้นอยู่กับระดับของการตอบสนองต่อแอนโดรเจน 

ทำไมผู้หญิงมีโครโมโซม XY

ผู้หญิงที่มีโครโมโซมเพศชาย XY ต่างกับคนข้ามเพศ (transgender) อย่างไร?

การมีภาวะ DSD (Differences in Sexual Development) และการเป็นคนข้ามเพศ (transgender) นั้นไม่เหมือนกัน เนื่องจากทั้งสองมีความหมาย และลักษณะเฉพาะที่แตกต่างกัน ภาวะ DSD เป็นเรื่องของความหลากหลายทางกายภาพและชีววิทยาที่เกิดขึ้นตั้งแต่เกิด ซึ่งเกี่ยวข้องกับโครโมโซม ฮอร์โมน หรือโครงสร้างของอวัยวะเพศที่ไม่ตรงกับลักษณะทางเพศที่ปกติ โดยตัวอย่างของ DSD ได้แก่ Androgen Insensitivity Syndrome (AIS) และ Congenital Adrenal Hyperplasia (CAH) ซึ่งผู้ที่มีภาวะเหล่านี้อาจมีลักษณะทางเพศที่ไม่ชัดเจนหรือมีลักษณะทางเพศที่แตกต่างจากเพศที่ได้รับการกำหนดเมื่อเกิด

ในขณะเดียวกัน การเป็นคนข้ามเพศหมายถึงการที่บุคคลมีอัตลักษณ์ทางเพศ (gender identity) ที่ไม่ตรงกับเพศที่ได้รับการกำหนดเมื่อเกิด คนข้ามเพศอาจมีเพศสภาพ (gender expression) ที่แตกต่างไปจากเพศที่ได้รับการกำหนดเมื่อเกิด และอาจเลือกที่จะแปลงเพศหรือไม่ก็ได้ การเป็นคนข้ามเพศเกี่ยวข้องกับความรู้สึกภายในและอัตลักษณ์ของบุคคล ซึ่งไม่จำเป็นต้องเกี่ยวข้องกับลักษณะทางกายภาพหรือชีววิทยาที่เกิดขึ้นตั้งแต่เกิด

ดังนั้น การมีภาวะ DSD และการเป็นคนข้ามเพศจึงมีความหมายที่แตกต่างกัน ภาวะ DSD เป็นเรื่องของลักษณะทางกายภาพและชีววิทยาที่เกิดขึ้นตั้งแต่เกิด ในขณะที่การเป็นคนข้ามเพศเป็นเรื่องของอัตลักษณ์ทางเพศที่ไม่ตรงกับเพศที่ได้รับการกำหนดเมื่อเกิด แต่เกี่ยวข้องกับความรู้สึกภายในมากกว่า ฉะนั้นการทำความเข้าใจความแตกต่างนี้ เป็นสิ่งสำคัญเพื่อให้สามารถรับรู้และเคารพในความหลากหลายทางเพศและอัตลักษณ์ของบุคคลได้อย่างถูกต้อง 

ผู้หญิงที่มีโครโมโซมเพศชาย xy ไม่ใช่สาวประเภทสอง transgender

ภาพจาก https://www.dw.com/en/fact-check-do-trans-athletes-have-an-advantage-in-elite-sport/a-58583988 

ลักษณะของผู้หญิงที่มีโครโมโซม XY

ผู้หญิงที่มีโครโมโซม XY และมีภาวะ CAIS มักจะมีลักษณะภายนอก และการพัฒนาทางเพศเหมือนผู้หญิงทั่วไป แต่พวกเขาไม่มีมดลูกและท่อนำไข่ ทั้งยังไม่มีประจำเดือน ซึ่งคนกลุ่มนี้อาจสามารถมีลูกได้ โดยใช้การแพทย์ทางเลือก เช่น 

การใช้ไข่ของผู้อื่น (Egg Donation)

การใช้ไข่ของผู้อื่นเป็นวิธีการแพทย์ทางเลือก สำหรับผู้หญิงที่มีโครโมโซมเพศชาย XY ซึ่งไม่สามารถผลิตไข่เพื่อมีลูกได้เอง วิธีนี้จะมีการนำไข่จากผู้บริจาคมาใช้ในกระบวนการปฏิสนธิ โดยจะเลือกจากผู้บริจาคไข่ที่มีสุขภาพดี และมีคุณสมบัติตรงตามที่ต้องการ ซึ่งวิธีนี้เปิดโอกาสให้ผู้หญิงที่มีโครโมโซม XY มีโอกาสมีลูกที่มีพันธุกรรมของคนรักของพวกเขาได้

การผสมเทียม (Artificial Insemination)

การผสมเทียม เป็นกระบวนการทางการแพทย์ที่นำสเปิร์มของผู้ชาย ใส่เข้าไปในระบบสืบพันธุ์ของผู้หญิงโดยตรง แบบไม่ต้องมีเพศสัมพันธ์ วิธีนี้มักใช้เพื่อช่วยเหลือคู่ที่มีปัญหาภาวะมีบุตรยาก โดยการผสมเทียมสามารถทำได้ ทั้งแบบฉีดสเปิร์มเข้าไปในมดลูก (IUI - Intrauterine Insemination) หรือในปากมดลูก (ICI - Intracervical Insemination) ซึ่งช่วยเพิ่มโอกาสในการตั้งครรภ์ โดยในกลุ่มผู้หญิงที่ไม่มีมดลูก หรือมีโครโมโซมเพศชาย สามารถนำวิธีนี้ไปใช้ได้โดยการผสมเทียมสเปิร์ม เข้ากับไข่ของหญิงอุ้มบุญที่จะตั้งครรภ์แทนตน

การทำเด็กหลอดแก้ว (In Vitro Fertilization - IVF)

การทำเด็กหลอดแก้วหรือ IVF เป็นกระบวนการที่ไข่จากผู้บริจาค ถูกนำมาผสมกับสเปิร์มในห้องปฏิบัติการ เพื่อสร้างตัวอ่อน โดยตัวอ่อนที่พัฒนาขึ้นจะถูกย้ายไปยังมดลูกของผู้หญิงที่อาสาเป็นแม่อุ้มบุญ ซึ่งการ IVF เป็นวิธีที่มีประสิทธิภาพสูงในการช่วยให้ผู้หญิงที่มีโครโมโซม XY สามารถมีลูกได้ แม้ว่าพวกเธอจะไม่มีมดลูกหรือท่อนำไข่ก็ตาม

การให้ผู้อื่นตั้งครรภ์แทน หรืออุ้มบุญ (Surrogacy) 

การให้ผู้อื่นตั้งครรภ์แทนหรืออุ้มบุญเป็นวิธีที่ผู้หญิงตัวแทนการตั้งครรภ์จะอุ้มท้อง และคลอดลูกให้กับผู้หญิงที่มีโครโมโซมเพศชาย XY ที่ไม่สามารถตั้งครรภ์เองได้ โดยตัวอ่อนที่สร้างขึ้นจากการผสมเทียม หรือการทำเด็กหลอดแก้วจะถูกย้ายไปยังมดลูกของผู้หญิงอุ้มบุญ ซึ่งวิธีการอุ้มบุญเป็นกระบวนการที่ช่วยให้ผู้หญิงที่ไม่สามารถตั้งครรภ์เองได้มีโอกาสเป็นแม่ด้วย

ผู้หญิงที่มีโครโมโซมเพศชาย XY มีลูกยังไง

ภาพจาก https://omegagoldenfertility.com/are-children-conceived-from-donor-egg-ivf-your-biological-children/ 

การวินิจฉัยและการรักษา Intersex ผู้หญิงที่มีโครโมโซมเพศชาย

การวินิจฉัยภาวะ AIS มักเกิดขึ้นเมื่อเด็กไม่มีประจำเดือนตอนที่ถึงวัยเจริญพันธุ์ หรือเมื่อมีการตรวจพบความผิดปกติของอวัยวะเพศหลังเกิด การตรวจวินิจฉัยประกอบด้วย การตรวจเลือดเพื่อวัดระดับฮอร์โมน การตรวจโครโมโซม และการตรวจภายในตามหลักการแพทย์

การรักษาภาวะ AIS ขึ้นอยู่กับลักษณะ และความต้องการของบุคคล โดยการให้คำปรึกษาเกี่ยวกับ การทำความเข้าใจเพศ และการยอมรับตัวเองสำหรับผู้ที่มีภาวะนี้ถือเป็นสิ่งสำคัญ นอกจากนี้ยังอาจมีการผ่าตัด หรือการบำบัดฮอร์โมน เพื่อให้สอดคล้องกับเพศที่ระบุในภายหลังได้

ความเข้าใจและการยอมรับในสังคม

ผู้หญิงที่มีโครโมโซม XY มักต้องเผชิญกับความท้าทายทั้งทางร่างกายและจิตใจ การให้การสนับสนุน จากครอบครัว แพทย์ และสังคม จึงเป็นสิ่งสำคัญในการเสริมสร้างความมั่นใจ และความเข้าใจในตัวเอง ซึ่งจะช่วยให้ผู้ที่มีภาวะ AIS สามารถใช้ชีวิตได้อย่างมีคุณภาพและมีความสุข

นักมวยหญิง โครโมโซมเพศชาย โอลิมปิก2024

ภาพจาก https://www.pbs.org/newshour/world/who-is-olympian-imane-khelif-an-algerian-woman-boxer-is-facing-anti-trans-backlash 


ข่าวการชกมวยหญิง ในโอลิมปิก ปารีส 2024 กรณีนักชกมวยหญิงมีโครโมโซมเพศชาย XY

มีการถกเถียงกันอย่างกว้างขวาง เกี่ยวกับการมีส่วนร่วมของนักกีฬาที่มีความแตกต่างทางเพศกำเนิด ในกีฬาหญิง โดยเฉพาะในกีฬาโอลิมปิกที่กำลังเกิดขึ้นในปี 2024 กฎระเบียบและแนวทางของคณะกรรมการโอลิมปิกสากล (IOC) มีการกำหนดเพื่อให้มั่นใจถึงความยุติธรรมในการแข่งขัน ซึ่งอาจรวมถึงข้อกำหนดเฉพาะเกี่ยวกับ ระดับฮอร์โมนเทสโทสเตอโรน (Testosterone) ซึ่งเป็นฮอร์โมนเพศชาย ของนักกีฬาที่แข่งขันในประเภทหญิง

ทั้งนี้บางคนเชื่อว่านักกีฬาที่มีระดับฮอร์โมนเทสโทสเตอโรนสูง อาจมีข้อได้เปรียบในการแข่งขันกีฬา แต่บางคนเห็นว่าการกำหนดข้อจำกัดเรื่องฮอร์โมน เป็นการลิดรอนสิทธิ์ของนักกีฬาบางกลุ่ม

ในขณะเดียวกันการตัดสินใจ และการเปลี่ยนแปลงกฎระเบียบ มีผลกระทบอย่างใหญ่หลวง ต่อนักกีฬาที่มีความผิดปกติของฮอร์โมน เช่น การที่นักกีฬาต้องปรับระดับฮอร์โมน เพื่อให้สอดคล้องกับกฎระเบียบของการแข่งขัน ซึ่งอาจมีผลกระทบต่อสุขภาพ และประสิทธิภาพร่างกายได้

 

chat line chat facebook