Rated 4.98-stars across 2K+ reviews
Rated 4.98-stars across 2K+ reviews Rated 4.98-stars across 2K+ reviews Rated 4.98-stars across 2K+ reviews Rated 4.98-stars across 2K+ reviews Rated 4.98-stars across 2K+ reviews

การลดน้ำหนักด้วยวิธี Keto diet อันตรายต่อสุขภาพหรือไม่ ตรวจ dna บอกได้

GeneusDNA profile image By
GeneusDNA
|
Feb 21, 2024
|
1.02 k
รู้หรือไม่
สุขภาพ
keto diet
Summary
keto diet

คุณกำลังเสี่ยงต่อโรคร้ายหรือไม่ เมื่อต้องลดน้ำหนักด้วยวิธีการรับประทานคีโต

คุณกำลังเสี่ยงต่อโรคร้ายหรือไม่ เมื่อต้องลดน้ำหนักด้วยวิธีการรับประทานคีโต ตรวจ dna มีคำตอบ จากงานวิจัยล่าสุดที่ทำการวิจัยเกี่ยวกับการรับประทานอาหารแบบ ไขมันสูง คาร์โบไฮเครตต่ำ(high fat, low carbohydrate (HFLC) diet ) เมื่อตรวจ LDL-C(ไขมันเลว) พบว่ามีปริมาณเพิ่มขึ้นโดยเฉลี่ย 44% แต่ที่น่าสนใจไปกว่านั้น ก็คือ ในประชากรศึกษา มีการเพิ่มขึ้นของ LDL-C ที่แตกต่างกันมาก ตั้งแต่ 5% ไปจนถึง 107% นั้นก็คือ ร่างกายของเราแต่ละบุคคลนั้น ตอบสนองต่อไขมันที่รับประทานเข้าไปได้ไม่เหมือนกันนั่นเอง เป็นที่แน่ชัดว่าบางคนนั้นรับประทานอาหารที่มีไขมันสูงได้โดยไม่เกิดปัญหา ในขณะที่บางคนควรจะรับประทานไขมันในปริมาณที่พอเหมาะรวมไปถึงน้ำมันพืชที่เป็นนักฆ่าในมุมมืดสำหรับใครหลายๆคน วันนี้ เราจะมาทำความรู้จักกับ LDL สาเหตุที่ทำให้ LDL-C มีค่าสูง และวิธีรับประทานไขมันอย่างเหมาะสมกันครับ

keto diet

LDL-C คืออะไร

เราอาจจะพอทราบกันมาบ้างแล้ว หากว่าเคยไปตรวจระดับไขมันที่โรงพยาบาล เมื่อเราเจาะเลือดเพื่อตรวจระดับไขมัน ห้องปฏิบัติการจะตรวจไขมันแยกเป็นชนิดต่างๆ โดยปกติ ไขมันจะไม่ละลายในน้ำ แต่ว่าเลือดของเรานั้นเป็นน้ำเสียส่วนใหญ่ ดังนั้น จึงต้องมีสารที่เรียกว่า lipoproteins นำพา cholesterol ไปทั่วร่างกาย ทำหน้าที่เหมือนกับแท็กซี่ขนส่งผู้โดยสารไปรอบเมือง โดยปกติแล้ว cholesterol มันเป็นสารที่มีประโยชน์ แต่ถ้าไปอยู่ผิดที่ก็จะเป็นโทษแก่ร่างกาย เช่น ไปอยู่ที่ผนังหลอเลือดหัวใจ ทำให้เกิดโรคหัวใจขาดเลือด และทางเดียวที่มันจะเดินทางไปผนังหลอดเลือดหัวใจได้ นั่นคือตัวมันเกาะแท๊กซี่ lipoproteins ไป

HDL-C หรือ high density lipoproteins ทำหน้าที่ขนส่ง cholesterol จัดเป็นไขมันดี เพราะมันนำพา cholesterol จากผนังหลอดเลือด และในกระแสเลือด กลับมายังตับ LDL-C หรือ low density lipoproteins ทำหน้าที่ขนส่ง cholesterol จัดเป็นไขมันเลว เพราะมันจะนำพา cholesterol ไปสะสมที่ผนังหลอดเลือด ทำให้สะสมเกิดเป็นโรคหัวใจขาดเลือด โดยปกติแล้ว ถ้าตรวจโดยใช้วิธี calcium score จะสามารถวัดได้ว่า ผนังหลอดเลือดของเรามีไขมันเกาะอยู่มากเท่าไรแล้ว แต่การวัด LDL-C นั้นวัดเพียงแค่ปริมาณ cholesterol ใน LDL ดังนั้น หากเราตรวจเจอ LDL-C ที่สูง ไม่ได้หมายความว่า ผนังหลอดเลือดเรามีไขมันเกาะอยู่เท่าไร เพียงแต่บอกความเป็นไปได้ว่าเกิดไขมันเกาะอยู่มาก เหตุผลที่ว่า LDL-C ไม่สามารถบอกได้ว่าเรามีไขมันเลวอยู่เท่าไรจริงๆ นั้นเป็นเพราะว่า LDL นั้นสามารถขนส่งทั้ง cholesterol และ triglycerides ได้ด้วย

อะไรเป็นตัวกำหนดปริมาณ LDL-C ในกระแสเลือด ?

ปริมาณของ LDL-C นั้น ขึ้นอยู่กับว่า ร่างกายเราผลิตขึ้นมามากแค่ไหน และ ขับออกมากเท่าไร LDL-C นั้น ถูกผลิตขึ้นมาจาก cholesterol และการรับประทาอาหารประเภทไขมัน ซึ่งจาก VLDL จะกลายมาเป็น LDL ในที่สุด อย่างไรก็ตาม จากงานวิจัยพบว่า การรับประทานไขมันอิ่มตัว ไม่ได้ทำให้ประชากรส่วนมากมีค่า LDL-C สูงขึ้นอย่างมีนัยยะสำคัญ เช่นเดี่ยวกันกับการรับประทานไขมันจำพวก polyunsaturated fatty acid (PUFA) ที่มากขึ้น ไม่ได้ทำให้ร่างกายเราผลิต LDL สูงขึ้นตาม แต่การรับประทาน trans-fat มีผลทำให้ร่างกายผลิต LDL มากขึ้น มีหลักฐานสำคัญว่า ถ้าเราลดการรับประทาน trans-fat ลง จะทำให้ LDL-C เราต่ำลงด้วย

ดังนั้น ถ้าการผลิตไม่ใช่ปัญหาทำให้ LDL สูงหละ เราต้องมาดูที่การขับออกจากกระแสเลือด ถ้าเรา 
พิจรณาดูรูปด้านบน จะพบว่า LDL(และ cholesterol ที่มันขนส่งอยู่) จะถูกดูดซึมผ่าน LDL receptors (LDLR) ที่อยู่ผนังเซลล์ การรับประทานไขมันอิ่มตัว จะทำให้เรามี LDLR ลดน้อยลง และทำให้ร่างกายผลิต sterol regulator element binding protein 1 (SREBP1) ต่ำลง เป็นผลทำให้ LDL-C มากขึ้น ในทางตรงกันข้าม การทาน PUFA จำนวนมาก จะทำให้ LDLR มีปริมาณมากขึ้น ดังนั้น ปัญหาที่ LDL สูงส่วนมากเกิดมาจาก LDL receptor มีปริมาณต่ำ และการทานไขมันที่อิ่มตัวก็ขัดขวางการทำงานของ LDL receptor ยิ่งทำให้ LDL ในเลือดสูงเข้าไปใหญ่ 

ดังนั้น เราควรจะรับประทาน PUFA และ MUFA แทนไขมันอิ่มตัวหรือไม่? คำตอบนั้นขึ้นอยู่กับพันธุกรรมของเรา คนทั่วๆไปนั้นไม่ต้องเลี่ยงไขมันอิ่มตัว ในขณะที่บางคน สามารถรับประทานไขมันอิ่มตัวในปริมาณมากๆได้ ถึงแม้ว่างานวิจัยจะชี้ว่าการรับประทานไขมันอิ่มตัวจะทำให้ LDL-C สูงขึ้น แต่ไม่ได้ถึงกับทำให้ LDL-C สูงขึ้นมาก และไม่ได้ทำให้เสี่ยงต่อโรคหัวใจมากนัก แต่ถ้าเราหันมาเลือกรับประทาน PUFA แทนพบว่ามีปัญหาใหญ่อยู่ เป้าหมายของเราคือต้องรับประทาน omega3(น้ำมันปลา) เท่าๆกับ omega6(น้ำมันถั่วและเมล็ด) อัตราส่วนที่ดีคือ 1:1 แต่ในความเป็นจริง เรามักจะรับประทาน omega 6 กันเสียมากกว่าเนื่องจากเรามักจะบริโภคน้ำมันพืช ยิ่งไปกว่านั้นน้ำมันพืชมักจะเกิดปฏิกิริยาทางเคมีกับ oxigen(oxidation) และจับตัวกับ Lipoprotein(a) ซึ่งจากงานวิจัยพบว่ามันมีอันตรายต่อหัวใจของคุณมากไปเสียกว่าไขมันอิ่มตัวอีก

ผลของไขมันอิ่มตัว ที่จะเพิ่ม LDL-C ในเลือดเราได้นั้น จะถูกควบคุมโดย LDL receptor ของแต่ละบุคคล ในคนที่มีพัธุกรรมสร้าง LDL receptor ได้น้อยก็ควรรับประทานไขมันน้อยลง แต่ในคนที่มีพันธุกรรมสร้าง LDL receptor ได้มาก สามารถรับประทานไขมันได้มาก ในบางคนการรับประทานอาหารไขมันสูงมีความเสี่ยงต่อโรคหัวใจเป็นอย่างมาก ในขณะที่บางคนไม่เสี่ยง คุณอาจจะจำเป็นต้องทราบว่าตนเองอยู่ในประเภทไหนหากต้องการทานคีโต ยกตัวอย่างเช่น การดูดซึม cholesterol ในแต่ละคนนั้นแตกต่างกันตั้งแต่ 20% ไปจนถึง 80% ของ cholesterol ที่เรารับประทานเข้าไป (จากงานวิจัยของ Retterstøl และคณะ) ซึ่งจากงานวิจัยนี้ประชากรศึกษาไม่ได้เยอะมาก เราไม่สามารถสรุปได้ชัดเจนนักเพราะการทาน LCHF เพิ่งจะเริ่มมีมา และคนทำงานวิจัยยังไม่มากนัก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกลุ่มคนสุขภาพดี

จากงานวิจัยสรุปว่า คนที่ทาน LCHF diet (5% carbohydrate) โดยเฉลี่ยจะมี LDL-C สูงขึ้นถึง 44% เมื่อเวลาผ่านไป 3 สัปดาห์

เมื่อเราพิจรณารายบุคคลจากงานวิจัย พบว่าหลังทาน LCHF ค่า LDL-C ที่ตรวจได้มีค่าหลากหลาย ตั้งแต่เพิ่มขึ้น 5% ไปจนถึง 107% นั้นเป็นผลมาจากคนเรามี LDL receptor ไม่เท่ากัน

คำถามต่อมาคือ อาหารอะไรที่ทำให้ LDL-C เราต่ำ จากงานวิจัยเราเห็นชัดแล้วว่า ทั้งหมดนี้มันขึ้นอยู่กับพันธุกรรมของแต่ละบุคคล แต่สิ่งที่อยากบอกทุกคนคือ

  1. หลีกเลี่ยงไขมันทรานส์ (trans fat)
    ไขมันทรานส์ ทำให้ LDL-C สูงขึ้นทุกคน ไม่ว่าจะมีพันธุกรรมแบบไหน แต่การจะเลี่ยงไขมันทรานส์นั้นยากมาก เนื่องจาก อาหารบางประเภทที่ติดฉลากว่า free of trans fat ดันมีไขมันทรานส์อยู่ แต่น้อยกว่า 0.5 กรัมต่อหน่วยบริโภค คุณทราบหรือไม่ว่าน้ำมันพืชนั้นมีไขมันทรานส์เป็นส่วนประกอบอยู่ด้วยเล็กน้อย หากคุณเป็นคนที่ไวต่อการดูดซึม choresterol คุณก็จะดูดซึม sterol(ไขมันจากพืช)มากด้วยเช่นกัน ทำให้เมื่อคุณรับประทานน้ำมันพืช คุณก็จะได้รับทั้ง omega6, ไขมัน oxidized(แย่ต่อหัวใจ), trans fat
    ดังนั้นหากคุณอยากให้ LDL ต่ำ คุณจำเป็นต้องหลักเลี่ยงน้ำมันพืช รวมไปถึงอาหารที่ปรุงด้วยน้ำมันพืช ซึ่งนั่นเป็นเรื่องที่ยากมาก เพราะร้านอาหารส่วนใหญ่นั้นใช้น้ำมันพืช

  2. เลือกทาน monounsaturated fats (MUFA)ให้มากกว่า Omega 6 PUFAs และไขมันอิ่มตัว
    การที่เราจะทำให้เกิดความสมดุลของไขมันเหล่านี้ เราต้องเลี่ยงการทานเมล็ดพันธุ์ขัดสี เนื้อจากโรงงาน น้ำสลัดถูกๆ และอาหารที่จุ่มลงในน้ำมันพืช และเลือกรับประทานน้ำมันมะกอก ไขมันจากพืชธรรมชาติ(ถั่ว, เมล็ดพันธุ์, อะโวคาโด) พืชที่มีโคลีนเยอะ เช่น ถั่วชิกพี และเนื้อสัตว์ที่เคี้ยวเอื้อง เช่น เนื้อวัว(ในปริมาณต่ำ)

  3. คนที่มีพันธุกรรมแบบ ไวต่อการดูดซึม หรือผลิตchoresterol จะได้ประโยชน์จากการลดรับประทานไขมันอิ่มตัว
    ควรจะหลีกเลี่ยงอาหารที่มีไขมันอิ่มตัวสูง อันได้แก่ เนื้อหมู เนื้อวัว ไขมันปลา น้ำมันมะพร้าว ชีส ซึ่งนั่นจะทำให้ LDL-C และ LDL-P สูงขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งในคนที่ตอบสนองไว โดยมีเทคนิคง่ายๆเพื่อดูว่าเราเป็นคนที่ตอบสนองไวหรือไม่ โดยการตรวจค่าไขมันในเลือดสองรอบ รอบแรกให้ลองรับประทานแต่พืชไขมันต่ำ 2 สัปดาห์ ส่วนรอบที่สองให้ทานอาหารประเภทเนื้อสองสัปดาห์ หากค่าไขมันสูงเกิดคนปกติ แสดงว่าคุณเป็นคนที่ตอบสนองไว

  4. ส่งตรวจ PCSK9 Genes (โปรตีนที่ควบคุมการสลายและการแสดงออกของ LDL receptor)
    PCSK9 SNPs อาจจะช่วยทำนายว่าเราควรทาน LCHF หรือไม่ หากเราเป็นคนที่ตอบสนองไว ก็ไม่ควรลดน้ำหนักด้วยวิธีนี้ เนื่องจากทำให้เราเสี่ยงเป็นโรคหัวใจ

  5. อย่าไปสนใจผู้เชี่ยวชาญด้านการลดน้ำหนักโดยวิธีกิน
    การทาน LCHF ทานคีโต ใช้ไม่ได้สำหรับทุกๆคน จากงานวิจัยของ Retterstol นั้นมีประชากรจำนวน 7 คนขอถอนตัวออกจากงานวิจัย เนื่องด้วยมีอาการปวดหัว อาการอ่อนเพลีย และมีจำนวน 2 คนเกิดปัญหาใหญ่ได้แก่ โรคกล้ามเนื้อหัวใจผิดปกติ และไทรอยด์อักเสบหลังจากเริ่มทาน LCHF ได้ไม่กี่วัน ถึงแม้ว่าคุณจะลองทานคีโตแล้วไม่เกิดผลข้างเคียงในระยะสั้น แต่ในระยะยาว จะทำให้เกิดโรคหัวใจขาดเลือดได้ในที่สุด ดังนั้น คุณควรมีข้อมูลด้านพันธุกรรมก่อนตัดสินใจทานคีโต

reference :

https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/12897193/

https://www.sciencedirect.com/science/article/abs/pii/S0021915018314321#bib30

https://www.nature.com/articles/ng1161

chat line chat facebook