เจาะลึกเรื่องใกล้ตัว คอเลสเตอรอล และ ไขมันดี-ไขมันเลว ต่างกันอย่างไร เพื่อทำความเข้าใจร่างกายของตัวเอง พร้อมวางแผนสุขภาพให้ดีขึ้น
สนใจแค่รูปลักษณ์ภายนอกกันอย่างเดียวคงไม่พอ เพราะร่างกายคนเราต้องการความใส่ใจมากกว่านั้น โดยเฉพาะปัญหาในเรื่องของไขมันและโคเลสเตอรอล ที่อาจส่งผลกระทบต่อสุขภาพระยะยาวในอนาคต บทความนี้เราจึงจะพาทุกท่านไปศึกษาด้วยกันว่า คอเลสเตอรอล และ ไขมันดี-ไขมันเลว คืออะไร พร้อมทริคดีๆ ในการลดไขมันเลวและโคเลสเตอรอลให้ร่างกายตื่นมารับวันใหม่ๆ ด้วยความแข็งแรงมากขึ้น
เมื่อพูดถึงเรื่องเกี่ยวกับสุขภาพ สิ่งหนึ่งที่คนเรามักพูดถึงกันเสมอคือ คอเลสเตอรอล (cholesterol) LDL และ HDL บางครั้งก็ได้ยินจากปากคุณหมอที่บอกว่า “คุณต้องคุมอาการ ลดโคเรสเตอรอลนะ” ยังไม่นับรวมรายละเอียดข้อมูลโภชนาการที่ติดอยู่บนบรรจุภัณฑ์ของอาหารต่างๆ ซึ่งได้มีการบ่งบอกปริมาณคอเลสเตอรอลเช่นเดียวกัน แต่ถึงอย่างนั้นก็ไม่ใช่ทุกคนที่จะรู้ว่า คอเลสเตอรอล LDL และ HDL คืออะไร
ความจริงแล้วคอเลสเตอรอลมีความสำคัญต่อร่างกายคนเรามาก เพราะคอเลสเตอรอล คือโครงสร้างในเยื่อหุ้มเซลล์ (cell membrane) ถือเป็นแหล่งสร้างพลังงานและช่วยในการสังเคราะห์สารบางชนิดภายในเซลล์ (ภาพที่ 1) คอเลสเตอรอลจึงต้องมีการจัดการอย่างเหมาะสม และสิ่งที่ทำหน้าที่เป็นรถบรรทุกขนส่งคอเลสเตอรอลไปยังส่วนต่างๆในร่างกายคือ LDL (low density lipoproteins) และ HDL (high density lipoproteins) นั่นเอง
ภาพที่ 1 องค์ประกอบภายในเซลล์ที่ประกอบด้วยคอเลสเตอรอล เช่น เยื่อหุ้มเซลล์
LDL ในร่างกายทำหน้าที่ขนส่งคอเลสเตอรอลจากตับไปยังเซลล์ในส่วนต่างๆ ของร่างกายเพื่อใช้งาน อย่างไรก็ตามหากรถบรรทุกคันนี้ขนคอเลสเตอรอลหนักจนเกินไป คอเลสเตอรอลก็อาจจะหล่นตามถนนระหว่างทาง ซึ่งเปรียบเสมือนปริมาณคอเลสเตอรอลที่กระจายไปตามหลอดเลือดของเรานั่นเอง
ทำให้ถนนหรือหลอดเลือดเหล่านี้เกิดความเสียหาย เกิดการจราจรติดขัด จนเลือดไหลเวียนไม่สะดวก นำไปสู่ปัญหาโรคหัวใจหรือโรคหลอดเลือดในสมองได้ (ภาพที่ 2) จะเห็นได้ว่าโรคเหล่านี้อาจจะอันตรายถึงชีวิต เป็นเหตุให้ LDL ถูกเรียกว่าไขมันเลว
เมื่อมีไขมันเลวแล้วก็ต้องมีไขมันดี ซึ่งไขมันดีก็คือ HDL โดย HDL จะทำหน้าที่ขนส่งคอเลสเตอรอลจากเซลล์ต่างๆ กลับไปยังตับ เปรียบเสมือนรถเทศบาลเก็บขยะตามทางเพื่อให้ถนนหรือหลอดเลือดของเราสะอาด ไหลเวียนได้อย่างสะดวกนั่นเอง (ภาพที่ 2) ดังนั้นหากเราอยากมีสุขภาพดี ลดความเสี่ยงจากโรคที่เกี่ยวกับหลอดเลือดต่างๆ เราต้องรักษาระดับ HDL ให้สูงกว่าปริมาณของ LDL นั่นเอง
ภาพที่ 2 การทำงานของ LDL และ HDL
สุขภาพดีเริ่มต้นจากตัวเราเอง คำกล่าวนี้ถูกต้องแน่นอน ซึ่งหากเราอยากจะมี HDL สูงและ LDL ต่ำ เราสามารถปรับวิถีการใช้ชีวิตของเรา ดังนี้ (ภาพที่ 3)
ภาพที่ 3 การปรับวิถีชีวิตเพื่อควบคุมระดับ HDL และ LDL
ในบางคนถึงแม้ว่าจะดูแลสุขภาพอย่างดี กินอาการที่ดี ออกกำลังกายเป็นประจำ ก็ยังจะมีแนวโน้มที่จะมีคอเลสเตอรอลและ LDL สูง สวนทางกับ HDL ที่ต่ำกว่าคนทั่วไป ซึ่งอาจจะเกิดจากปัจจัยทางพันธุกรรมที่ควบคุมลักษณะเหล่านี้ ดังนั้นการทราบพันธุกรรมหรือการตรวจดีเอ็นเอของตนเองเพื่อนำมาปรับวิถีชีวิตของเราจึงสำคัญมาก
ในปัจจุบันนี้ได้มีการคิดค้นเทคโนโลยีที่สามารถตรวจดีเอ็นเอหาแนวโน้มทางพันธุกรรมของระดับ LDL และ HDL รวมทั้งความเสี่ยงของโรคที่เกี่ยวข้องกับไขมันเหล่านี้ได้แล้ว นั่นก็คือบริการของ Geneus DNA นวัตกรรมวิเคราะห์สุขภาพจาก DNA (ภาพที่ 4) ซึ่งทำการถอดรหัสพันธุกรรมกว่า 20,000 ยีน ด้วยเทคโนโลยี Whole Genome-wide Array (วิเคราะห์จำนวน SNPs กว่า 10 ล้านตำแหน่ง)
การตรวจดีเอ็นเอสามารถทำได้ง่ายๆ โดยไม่ต้องเจาะเลือด ซึ่งนอกจากแนวโน้มของระดับ LDL และ HLD แล้ว ยังมีการแนะนำวิธีป้องกันและลดความเสี่ยงที่เกี่ยวกับระดับไขมันและโรคต่างๆ (ภาพที่ 5) ทั้งยังรู้ผลสุขภาพอื่นๆ อีกกว่า 500+ รายการได้ด้วย
ไม่ว่าจะเป็น ความเสี่ยงโรค อาหารและโภชนาการ ภูมิแพ้ การลดน้ำหนักที่เหมาะกับตัวคุณเอง เป็นต้น ซึ่งการตรวจดีเอ็นเอนี้สามารถตรวจได้ทั้งครอบครัว โดยจะมีการรายงานผลผ่านทางแอปพลิเคชัน และที่สำคัญการตรวจเพียงครั้งเดียว สามารถนำผลมาวิเคราะห์ได้ตลอดชีวิต การันตีคุณภาพจาก Lab มาตรฐานระดับโลกประเทศสหรัฐอเมริกาที่มีความแม่นยำ และมีแพทย์ให้คำแนะนำในการป้องกันได้ตรงจุด
ภาพที่ 4 ตัวอย่างผลการตรวจดีเอ็นเอหาแนวโน้มทางพันธุกรรมของระดับ LDL และ HDL
ภาพที่ 5 ตัวอย่างคำแนะนำจากผลการตรวจดีเอ็นเอเพื่อป้องกันโรค
อ้างอิง
ภาพ
https://www.icems.kyoto-u.ac.jp/en/news/3316/
https://www.allrecipes.com/article/hdl-vs-ldl-cholesterol/
ข้อมูล
Fernandez ML, et al. 2013. The LDL to HDL Cholesterol Ratio as a Valuable Tool to Evaluate Coronary Heart Disease Risk. Journal of the American College of Nutrition. 27(1), 1-5.