Rated 4.98-stars across 2K+ reviews
Rated 4.98-stars across 2K+ reviews Rated 4.98-stars across 2K+ reviews Rated 4.98-stars across 2K+ reviews Rated 4.98-stars across 2K+ reviews Rated 4.98-stars across 2K+ reviews

ค้นพบแล้วยีนทำที่ให้ผอม แต่เป็นยีนมะเร็ง?

GeneusDNA profile image By
GeneusDNA
|
Jun 20, 2020
|
392
รู้หรือไม่
สุขภาพ
slim gene
Summary
slim gene

จากงานวิจัยล่าสุดที่มีการตีพิมพ์ที่ Cellในปี 2020 นี้ แสดงให้เห็นว่าคนที่มีการแปรผันของยีน anaplastic lymphoma kinase (ALK) นั้นจะทำให้ผอม กินได้มากและไม่อ้วน

จากงานวิจัยล่าสุดที่มีการตีพิมพ์ที่ Cellในปี 2020 นี้ แสดงให้เห็นว่าคนที่มีการแปรผันของยีน anaplastic lymphoma kinase (ALK) นั้นจะทำให้ผอม กินได้มากและไม่อ้วน

 

 

นักวิจัยชื่อ Josef Penninger จากมหาวิทยาลัย University of British Columbia กล่าวไว้ว่ามีคนในโลกนี้อยู่ประมาณ 1% ของประชากรที่สามารถรับประทานอาหารเท่าไรก็ได้ตามที่พวกเขาต้องการโดยไม่เป็นโรคอ้วน และโรคเผาผลาญสารอาหารผิดปกติ (Metabolic Syndrome)

ในสมัยก่อนนั้นเรามักจะไปเฟ้นหายีนที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการทำให้เกิดโรคอ้วนขึ้นมา ซึ่งมันก็มีมากมากกว่า 700 SNPs(ความแตกต่างของลำดับเบส 1 จุดบนสาย DNA แต่ละบุคคล) ที่มีความสัมพันธ์กับค่า body mass index(BMI) แต่ก็มียีนเพียงไม่กี่ยีนที่เราสามารถระบุได้ว่าทำหน้าที่เกี่ยวกับการควบคุมน้ำหนัก ดังนั้นแทนที่จะมุ่งเน้นไปค้นหายีนที่ทำให้อ้วนเหมือนที่งานวิจัยอื่น ๆ เคยทำในอดีต Josef Penninger และคณะกลับมุ่งเน้นไปค้นหายีนที่ทำให้ผอมแทน

การศึกษา Genome-wide association

การศึกษา Genome-wide association จากข้อมูลทางพันธุกรรมชาวเอสโตเนียของ Estonia Biobank โดยการเปรียบเทียบระหว่างกลุ่มคนสองกลุ่ม กลุ่มแรกคือกลุ่มควบคุม(control) นั้น BMI อยู่ที่เปอร์เซ็นไทล์ที่ 50 และกลุ่มผอมคือ BMI อยู่ที่เปอร์เซ็นไทล์ที่ 6 โดยได้มีการปรับค่า BMI ตามเพศและอายุ รวมทั้งตัดปัจจัยรบกวนที่จะทำให้ผลลัพธ์คลาดเคลื่อน อย่างเช่นคนที่มีภาวะ lipodystrophy หรือ anorexia nervosa ออกไปแล้ว พบว่ามีตำแหน่งความแปรผันทางพันธุกรรมที่มีนัยสำคัญทางสถิติอยู่ทั้งหมด 5 ตำแหน่ง แบ่งออกเป็น intergenic(ตำแหน่งระหว่างยีน) 2 ตำแหน่งและ intronic loci(ตำแหน่งที่อยู่ในยีน แต่ถูกตัดออกตอนที่จะมีการแสดงออกของยีน) 3 ตำแหน่ง

 

 

ซึ่งหนึ่งในนั้นน่าตกใจเป็นอย่างมากนั่นคือยีน anaplastic lymphoma kinase (ALK) ซึ่งเป็นยีนที่เรารู้กันดีอยู่แล้วว่าหากมีการแสดงออกของยีนที่มากผิดปกติจะทำให้เสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งนั่นเอง จากการศึกษา GWAS data ทั้งในแมลงวัน และหนูพบว่าการแปรผันทางพันธุกรรมของยีน ALK นั้นมีผลกับระดับไขมัน (triglyceride) และระดับฮอโมน adiponectin ในกระแสเลือด รวมไปถึงการควบคุมสมดุลระดับน้ำตาลในเลือด

การศึกษาการลดการแสดงออกของยีน ALK (Knockout)

มีการศึกษาว่า หากให้อาหารหนูด้วยอาหารไขมันสูงนานติดต่อกันนาน 16 สัปดาห์ โดยเปรียบกันระหว่างหนูปกติ (wildtype) กับหนูที่ลดการแสดงออกของยีน ALK(Knockout) ผลออกมาว่าหนูที่ ALK knockout นั้นมีน้ำหนักน้อยกว่า ปริมาณไขมันน้อยกว่า ปริมาณกล้ามเนื้อปกติดี อีกทั้งยังมีความไวต่อน้ำตาลกลูโคสเป็นอย่างดี พวกมันมีการใช้พลังงานต่อวันที่สูงกว่าหนูทั่วไป ดังนั้นจึงสรุปได้ว่ายีนดังกล่าวนี้มีผลต่อการควบคุมความอ้วนอย่างแน่นอน

ในหนูทดลอง ยีน ALK นี้จะแสดงผลมากที่สมองส่วน cerebellum, cortex และ hypothalamus ซึ่งเป็นสมองส่วนควบคุมประสาทอัตโนมัติ แต่จะไม่แสดงผลที่เนื้อเยื่อที่เกี่ยวข้องกับระบบเผาผลาญเช่น ตับ กล้ามเนื้อ ไขมันขาว ไขมันน้ำตาล การที่ยับยั้งการแสดงออกของยีน ALK(ALK knockout) จึงส่งผลที่สมองเป็นหลัก หากยับยั้งการแสดงออกในสมองส่วน hypothalamus ก็จะทำให้ร่างกายเกิดระบบประสาทกระตุ้น(sympathetic activity) เป็นสาเหตุทำให้หนูตัวนั้นใช้พลังงานมาก ใช้น้ำตาลมาก สลายไขมันมาก ทำให้ผอมนั่นเอง

โดยในปัจจุบันนี้มีการใช้ยาที่ยับยั้งการแสดงออกของ ALK อยู่แล้วในผู้ป่วยมะเร็งบางชนิด ดังนั้นในอนาคตข้างหน้าใครจะไปรู้ว่า เราอาจจะได้เห็นยาที่สามารถยับยั้งการเกิดมะเร็ง อีกทั้งยังมีประโยชน์ทำให้ผอมได้อีกด้วย

น.พ. หลักเขต เหล่าประไพพรรณ

(Anti-aging and Integrative Medicine)

 

Reference :

https://www.genomeweb.com/microarrays-multiplexing/alk-gene-linked-natural-thinness-genetic-functional-studies?fbclid=IwAR1sYAvFTHu9_MwHDq9HBWwJJKlg_ixL-hVqRdf_i_uJEUEJyYZYLyx-F2g#.XuwhDp4zbyX 

https://www.cell.com/cell/fulltext/S0092-8674(20)30497-9

 

chat line chat facebook