Rated 4.98-stars across 2K+ reviews
Rated 4.98-stars across 2K+ reviews Rated 4.98-stars across 2K+ reviews Rated 4.98-stars across 2K+ reviews Rated 4.98-stars across 2K+ reviews Rated 4.98-stars across 2K+ reviews

ดีเอ็นเอ ความแก่ และความลับของเทโลเมียร์

Dr. Taey profile image By
Dr. Taey
|
Jul 30, 2024
|
863
สุขภาพ
พันธุศาสตร์
เทโลเมียร์, เทโลเมียร์ คือ, วิธีเพิ่มความยาวเทโลเมียร์
Summary
เทโลเมียร์, เทโลเมียร์ คือ, วิธีเพิ่มความยาวเทโลเมียร์

รู้จัก เทโลเมียร์ (telomeres) กลุ่มรหัสพันธุกรรมที่อยู่ปลายสายดีเอ็นเอ ทำหน้าที่ป้องกันความเสียหายของดีเอ็นเอ มีความสำคัญต่อร่างกาย และความแก่ของเราอย่างไรบ้าง มีคำตอบ

เมื่ออายุมากขึ้น สิ่งที่เราไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ก็คือความแก่ แต่รู้กันหรือไม่ว่า คนเราแก่ได้อย่างไร? บทความนี้จะพาทุกคนไปหาคำตอบ เกี่ยวกับสาเหตุที่ทำให้เราแก่ขึ้น พร้อมไขข้อข้องใจ เทโลเมียร์ คืออะไร และมีความเกี่ยวข้องอย่างไรกับความแก่ของเรา

เทโลเมียร์ ความลับของความแก่ในร่างกายมนุษย์

เราอาจจะทราบกันแล้วว่าดีเอ็นเอ (DNA) เป็นสารพันธุกรรมของสิ่งมีชีวิตเกิดจากโมเลกุลเดี่ยวๆ ที่มีลำดับเบส (A, T, C, G) มาเรียงต่อกันเป็นสายยาวๆ เรียกลำดับนี้ได้ว่าเป็นรหัสพันธุกรรม ภายในสายดีเอ็นเอยาวๆ นี้ มีส่วนที่เรียกว่ายีน (gene) ซึ่งมีรหัสที่เป็นต้นแบบใช้ในการแสดงลักษณะต่างๆ ของสิ่งมีชีวิต (ภาพที่ 1) หากรหัสพันธุกรรมในบริเวณยีนนี้มีการเปลี่ยนแปลงไป ก็อาจทำให้ลักษณะที่แสดงออกมาแตกต่างกัน หรืออาจเกิดโรคต่างๆ ได้ นักวิทยาศาสตร์ได้ทำการศึกษา และตรวจดีเอ็นเอด้วยวิธีต่างๆ เพื่อหาทางป้องกันโรค นอกจากนี้เมื่อมีการแบ่งเซลล์ดีเอ็นเอสายยาวๆ นี้ ก็จะมาขดตัวเป็นแท่งโครโมโซมที่มีหน้าตาคล้ายๆ ปลาท่องโก๋ที่เราเห็นกันนั่นเอง  

เทโลเมียร์ คืออะไร

ภาพที่ 1 ดีเอ็นเอและโครโมโซม เราทราบรหัส DNA เหล่านี้จากการตรวจ DNA


ความแก่ เกิดจากปลายสายดีเอ็นเอที่สั้นลงจริงหรือไม่?

ในร่างกายของคนเราเกิดจากเซลล์หลายๆ เซลล์มาทำหน้าที่ร่วมกัน เมื่อเรามีการเจริญเติบโต เซลล์ก็จะต้องแบ่งเซลล์ (cell division) เพื่อเพิ่มจำนวนขึ้น ดีเอ็นเอซึ่งอยู่ภายในเซลล์ก็จะต้องเพิ่มจำนวนตัวเองไปด้วย (DNA replication) จากการตรวจดีเอ็นเอในเซลล์ภายหลังจากการแบ่งเซลล์พบว่า ในระหว่างกระบวนการเพิ่มจำนวนดีเอ็นเอ ดีเอ็นเอของเราจะโดนขลิบจากด้านปลายสาย ทำให้สายดีเอ็นเอสั้นลงไปเรื่อยๆ

เมื่ออายุมากขึ้นเราจะแบ่งเซลล์หลายๆ รอบ สายดีเอ็นเอก็จะยิ่งสั้นลง จนทำให้รหัสในส่วนของยีนเปลี่ยนแปลงไป และเกิดลักษณะที่ผิดปกติขึ้นมา สิ่งเหล่านี้เองที่นักวิทยาศาสตร์นำมาอธิบายสาเหตุของความแก่ และความเสื่อมสภาพของอวัยวะต่างๆ


เทโลเมียร์ (telomeres) คืออะไร มีหน้าที่และเกี่ยวข้องอย่างไรกับความแก่?

หากเปรียบสายดีเอ็นเอเป็นเชือกรองเท้า เราป้องกันไม่ให้ปลายเชือกเสียหายได้ด้วยการหุ้มด้วยพลาสติก ในดีเอ็นเอของเราก็มีกลุ่มรหัสพันธุกรรมที่อยู่ปลายสาย ทำหน้าที่ป้องกันความเสียหายของดีเอ็นเอ คล้ายพลาสติกหุ้มเชือกรองเท้า เรียกว่า เทโลเมียร์ (telomeres) ดังเช่นในภาพที่ 2 จึงสามารถสรุปได้ว่า เทโลเมียร์คือกลุ่มรหัสพันธุกรรมที่อยู่ปลายสายดีเอ็นเอ ทำหน้าที่ป้องกันความเสียหายของดีเอ็นเอนั่นเอง

หน้าที่ ความสำคัญ เทโลเมียร์

ภาพที่ 2 เทโลเมียร์


ทั้งนี้เมื่อเกิดการแบ่งเซลล์จากการที่อายุมากขึ้น ส่วนของเทโลเมียร์จะถูกขลิบไปก่อน ทำให้ปกป้องรหัสพันธุกรรมในยีนไว้ได้ ถ้าส่วนของเทโลเมียร์ของเรายังยาวอยู่เสมือนเรายังมีพลาสติกหุ้มเชือกรองเท้า ก็จะแปลว่ายีนของเรายังปลอดภัย แต่เมื่ออายุมากขึ้นเทโลเมียร์ก็จะถูกขลิบไปเรื่อยๆ จนสั้นลง และสุดท้ายก็จะขลิบไปโดนยีนสำคัญๆ ของเราทำให้เซลล์อวัยวะของเราผิดปกติ และเสื่อมตามอายุนั่นเอง 

ดังนั้นนักวิทยาศาสตร์จึงศึกษาเทโลเมียร์ และใช้ความยาวของเทโลเมียร์ ในการประเมินอายุขัยหรือความผิดปกติของคนได้ หากเรารักษาความยาวของเทโลเมียร์ไว้ได้ หรือกระทั่งเพิ่มความยาวของเทโลเมียร์ได้ ก็อาจจะช่วยให้เราชะลอความแก่ และความเสื่อมของอวัยวะต่างๆ ได้เช่นกัน (ภาพที่ 3)

ความแก่และความยาวของเทโลเมียร์

 ภาพที่ 3 ความแก่และความยาวของเทโลเมียร์

วิธีเพิ่มและรักษาความยาว เทโลเมียร์

จากการศึกษาที่ผ่านมา พบว่าคนเราสามารถรักษาความยาวของเทโลเมียร์ เพื่อชะลอความแก่ได้ เริ่มต้นจากการปรับพฤติกรรมของตัวเอง ดังนี้

ทานอาหารที่มีประโยชน์

การทานอาหารเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้ร่างกายของเราแข็งแรงขึ้น ซึ่งส่งผลโดยตรงต่อการรักษาความยาวของเทโลเมียร์ โดยควรทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ เน้นอาหารที่มีไขมัน น้ำตาล และปริมาณแคลอรี่ต่ำ พร้อมคำนึงถึงวิตามิน แร่ธาตุ สารอาหารที่ร่างกายควรได้รับด้วย นอกจากนี้หากไม่อยากแก่เร็ว เราควรหลีกเลี่ยงอาหารแปรรูป แอลกอฮอล์ ตลอดจนมลภาวะ และบุหรี่ด้วย

ออกกำลังกายเป็นประจำ

การออกกำลังกายเป็นประจำ ช่วยให้รักษาความยาวของเทโลเมียร์ได้ โดยเฉพาะการออกกำลังกายแบบคาร์ดิโอ ซึ่งผู้ที่ต้องการชะลอความแก่ของตัวเอง ควรเน้นออกกำลังกายในรูปแบบที่เหมาะกับตัวเอง และไม่ควรออกกำลังกายหนักหรือหักโหมเกินไป เพราะอาจส่งผลเสียต่อร่างกายรวมถึงเซลล์ต่างๆ มากกว่าผลดี

การมีสมาธิ ลดความเครียด

จากการศึกษาพบว่า ความเครียดส่งผลโดยตรงต่อความแก่ของเรา ดังนั้นหากต้องการชะลอวัยอย่างมีประสิทธิภาพ เราควรกำจัดความเครียดให้ได้มากที่สุดด้วยการปล่อยวางเรื่องต่างๆ แล้วหันมาฝึกสมาธิ ด้วยการทำกิจกรรมที่สงบและดีต่อจิตใจ เช่น โยคะ เป็นต้น

นอนหลักพักผ่อนให้เพียงพอ

สังเกตได้ว่าผู้ที่นอนหลับพักผ่อนเพียงพอ มีแนวโน้มที่จะดูอ่อนกว่าวัยมากกว่าคนที่นอนน้อย โดยจำนวนชั่วโมงการนอนหลับพักผ่อนที่เหมาะสมต่อคืนคือ 7-8 ชั่วโมง หรือปรับเปลี่ยนตามเกณฑ์ที่ศูนย์ควบคุมและป้องกันโรค (CDC) ประเทศสหรัฐอเมริกาแนะนำ ดังนี้

  • เด็กแรกเกิด (อายุ 0-3 เดือน) ควรนอน 14-17 ชั่วโมงต่อวัน
  • เด็กทารก (อายุ 4-12 เดือน) ควรนอน 12-16 ชั่วโมงต่อวัน
  • เด็กวัยเตาะแตะ (อายุ 1-2 ปี) ควรนอน 11-14 ชั่วโมงต่อวัน
  • เด็กก่อนวัยเรียน (อายุ 3-5 ปี) ควรนอน 10-13 ชั่วโมงต่อวัน
  • เด็กวัยเรียน (อายุ 6-12 ปี) ควรนอน 9-12 ชั่วโมงต่อคืน
  • เด็กวัยรุ่น (อายุ 13-18 ปี) ควรนอน 8-10 ชั่วโมงต่อคืน
  • วัยผู้ใหญ่ (อายุ 18-60 ปี) ควรนอน 7 ชั่วโมงขึ้นไป
  • วัยหลังเกษียณ (อายุ 61-64 ปี) ควรนอน 7-9 ชั่วโมงต่อคืน
  • ผู้สูงวัย (อายุ 65 ปีขึ้นไป) ควรนอน 7-8 ชั่วโมงต่อคืน

วิธีเพิ่มความยาวเทโลเมียร์

ตรวจความยาวเทโลเมียร์ผ่าน DNA

จะเห็นได้ว่าความยาวของเทโลเมียร์นั้นสำคัญอย่างมาก ซึ่งความยาวของเทโลเมียร์นี้สามารถส่งต่อได้ทางพันธุกรรม โดยในปัจจุบันนี้เรามีเทคโนโลยีที่สามารถตรวจดีเอ็นเอ หาแนวโน้มทางพันธุกรรมของความยาวเทโลเมียร์ ด้วยบริการของ Geneus DNA นวัตกรรมวิเคราะห์สุขภาพจาก DNA (ภาพที่ 4) ซึ่งการตรวจดีเอ็นเอนี้จะทำการถอดรหัสพันธุกรรมกว่า 20,000 ยีน ด้วยเทคโนโลยี Whole Genome-wide Array (วิเคราะห์จำนวน SNPs กว่า 10 ล้านตำแหน่ง) 

สำหรับบริการนี้สามารถทำได้ง่ายๆ โดยไม่ต้องเจาะเลือด ซึ่งจากการตรวจดีเอ็นเอ นอกจากจะรู้แนวโน้มความยาวของเทโลเมียร์ ยังรู้ผลสุขภาพอื่นๆ อีกกว่า 500+ รายการ ไม่ว่าจะเป็น ความเสี่ยงโรค อาหาร และโภชนาการ ภูมิแพ้ การลดน้ำหนักที่เหมาะกับตัวคุณเอง ซึ่งสามารถเข้ารับการตรวจได้ทั้งครอบครัว และรอผลรายงานผ่านแอปพลิเคชัน โดยการตรวจครั้งเดียวจะรู้การรายงานผลได้ตลอดชีวิต จากการวิเคราะห์ด้วยแล็บมาตรฐานระดับโลกจากประเทศสหรัฐอเมริกา ซึ่งมีความแม่นยำ และมีแพทย์ให้คำแนะนำในการป้องกันได้ตรงจุด

ตรวจ DNA เทโลเมียร์

ภาพที่ 4 ตัวอย่างผลการตรวจ DNA หาแนวโน้มทางพันธุกรรมของความยาวเทโลเมียร์

บริการ Geneus DNA

สั่งซื้อ Geneus DNA


อ้างอิง

ภาพ

https://sphweb.bumc.bu.edu 

https://www.geisinger.org 

https://sphweb.bumc.bu.edu 

ข้อมูล

  • Rosssiello F, et al. 2022. Telomere dysfunction in ageing and age-related diseases. 24(2), 135-147. 
  • Turner KJ, et al. 2019. Telomere biology and human phenotype. Cell. 8(1), 73. 

 

chat line chat facebook