vitamins and time taken to see results

เราจะรู้ได้อย่างไรว่าต้องกินอาหารเสริมปริมาณมากแค่ไหน ถึงจะเห็นผลและตอบโจทย์เป้าหมายสุขภาพของคุณ การกินอาหารเสริมควรคำนึงความเสี่ยงและประโยชน์เป็นอันดับแรก

การกินอาหารเสริม ปริมาณมากแค่ไหนจึงจะเหมาะสมกับร่างกาย

เราจะรู้ได้อย่างไรว่าต้องกินอาหารเสริมปริมาณมากแค่ไหน ถึงจะเห็นผลและตอบโจทย์เป้าหมายสุขภาพของคุณ การกินอาหารเสริมควรคำนึงความเสี่ยงและประโยชน์เป็นอันดับแรก ปัจจุบันอาหารเสริมประเภทวิตามินและแร่ธาตุได้รับความนิยมอย่างมาก และเป็นที่รู้จักกันดีในการช่วยส่งเสริมสุขภาพที่ดี แต่ในขณะเดียวกัน หากไม่ได้ปรึกษาจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ อาจทำให้รับประทานไม่ถูกต้องหรือทานในปริมาณที่มากเกินไป ซึ่งอาจทำให้เกิดผลข้างเคียงทั้งในระยะสั้นและระยะยาว

ดังนั้นจึงควรคำนึงถึงความเสี่ยงและประโยชน์ต่อสุขภาพ ที่อาจเกิดขึ้นได้เนื่องจากผลิตภัณฑ์เสริมอาหารเหล่านี้สามารถหาซื้อได้ง่ายและไม่ต้องใช้ใบสั่งแพทย์

 

 

อาหารเสริม ได้รับความนิยมอย่างมากในปัจจุบัน

มีงานวิจัยจำนวนมากที่แสดงให้เห็นว่าผลิตภัณฑ์เสริมอาหารเป็นที่นิยมอย่างกว้างขวางทั้งใช้ในการชะลอวัยและเป็นทางเลือกหนึ่งในการป้องกันไม่ให้เกิดโรค การศึกษาจำนวนมากแสดงให้เห็นว่าวิตามินสามารถลดอนุมูลอิสระ ซึ่งเกิดจากปฏิกิริยาออกซิเดชันและเป็นปัจจัยหนึ่งที่สามารถเหนี่ยวนำให้เกิดภาวะเครียดออกซิเดชั่น อนุมูลอิสระนี้เป็นโมเลกุลที่อันตรายและทำให้เซลล์เสื่อมและชราภาพได้

นอกจากนี้การศึกษาทางคลินิกในผู้ป่วยที่ได้รับผลิตภัณฑ์เสริมอาหารแสดงให้เห็นว่าผลิตภัณฑ์เสริมอาหารสามารถลดความถี่และความรุนแรงของโรคหวัดได้ เนื่องจากผลิตภัณฑ์เสริมอาหารหลายชนิดสามารถหาซื้อได้ง่ายและอาจใช้เป็นทางเลือกหนึ่งในการรักษาโรคแทนยาได้ เช่น การศึกษาพบว่าการรับประทานวิตามิน D3, วิตามิน C และสังกะสี (Zinc) ช่วยลดความรุนแรงของอาการติดเชื้อไวรัส Covid-19 ได้

 

วิตามินไม่ใช่ยา แต่เป็นโมเลกุลชีวภาพขนาดเล็กที่ร่างกายต้องการในปริมาณน้อยเพื่อส่งเสริมและควบคุมกระบวนการเมตาบอลิซีม เช่น การเปลี่ยนอาหารให้เป็นพลังงาน รักษาความสมดุลของร่างกายและช่วยตับในการกำจัดสารพิ

 

แหล่งวิตามินและแร่ธาตุที่ดีที่สุดคืออาหารที่อุดมไปด้วยคุณค่าทางโภชนาการและดีต่อสุขภาพ เช่น ถั่ว เนื้อสัตว์ ผลไม้ และผัก เราจำเป็นต้องบริโภคสารอาหารที่อุดมไปด้วยคุณค่าทางโภชนาการเนื่องจากร่างกายของเราไม่สามารถสังเคราะห์วิตามินและแร่ธาตุที่จำเป็นได้

อีกประการหนึ่งที่เราได้รับวิตามินและแร่ธาตุไม่เพียงพอนั้นอาจเกิดจากการรับประทานอาหารแปรรูป เช่น พิซซ่า เบเกอรี่ และฟาสฟู้ด ซึ่งอาหารดังกล่าวไม่เพียงแต่มีคุณค่าทางโภชนาการน้อยแต่ยังมีปริมาณเกลือ ไขมัน และน้ำตาลสูงอีกด้วย ส่งผลให้เกิดปัญหาสุขภาพตามมามากมาย อาทิโรคหลอดเลือดและหัวใจ โรคอ้วน รวมไปถึงโรคอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับความผิดปกติของกระบวนการเมตาบอลิซึม

การดูแลสุขภาพที่ดีที่สุดคือการดูแลจากภายใน โดยทำให้ร่างกายแข็งแรงพร้อมรับมือกับโรคและลดความเสี่ยงในการเกิดโรค เริ่มจากการได้รับวิตามินอย่างเพียงพอต่อความต้องการของร่างกายในแต่ละวันจะช่วยรักษาสมดุลทางโภชนาการ ส่งเสริมร่างกายให้แข็งแรง ควบคู่กับการรับประทานอาหารอย่างสมดุล

 

 

กินอาหารเสริมปริมาณเท่าไหร่ถึงเหมาะสม?

กินอาหารเสริมปริมาณที่มากเกินไป มีผลเสียต่อร่างกายหรือไม่

สิ่งที่ดีก็คือวิตามินและแร่ธาตุส่วนใหญ่มีความปลอดภัยและมีประโยชน์ตามคำแนะนำของข้อมูลผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร ผู้วิจัยพบว่าวิตามิน B2, B6 และ B9 ช่วยลดความเสี่ยงของโรคเบาหวานชนิดที่ 2 และในกลุ่มที่ได้รับวิตามินมีอาการอักเสบที่ลดลง อย่างไรก็ตามการรับประทานผลิตภัณฑ์เสริมอาหารในปริมาณสูงควรอยู่ภายใต้การดูแลของแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ โดยปัจจัยสำคัญที่ควรคำนึงถึงคือค่า RDA และ UL ของสารอาหารแต่ละชนิด

กินอาหารเสริม ต้องรู้จักค่า RDA และ UL

RDA (Recommended Dietary Allowance)

คือปริมาณวิตามินและแร่ธาตุที่คุณควรได้รับในแต่ละวันที่ส่งเสริมมีสุขภาพแข็งแรงและภาวะโภชนาการที่ดี

ค่า RDA จะแตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับอายุ เพศ และ สภาวะทางสุขภาพของแต่ละคน ตัวอย่างเช่น สตรีมีครรภ์ต้องการโฟเลต (วิตามินบี9) อย่างน้อย 400 มิลลิกรัมต่อวัน เพื่อการพัฒนาไขสันหลังของทารก ส่วนสตรีที่ไม่มีครรภ์ต้องการเพียง 200 มิลลิกรัมต่อวัน

 

 

UL (Tolerable Upper Intake Level)

ปริมาณสูงสุดของสารอาหารที่บริโภคได้โดยไม่เป็นอันตรายต่อสุขภาพโดยไม่ส่งผลเสียต่อสุขภาพร่างกายซึ่งแนะนำโดยจากผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพ การรับประทานในปริมาณนี้จะไม่เกิดผลข้างเคียงหรือปัญหาสุขภาพในระยะยาว

กรมการแพทย์กำหนดค่า UL ของวิตามินและแร่ธาตุที่จำเป็นสำหรับผู้ที่อายุมากกว่าหรือเท่ากับ 19 ปี แสดงในตารางที่1 (หลักเกณฑ์นี้ไม่ใช้กับสตรีตั้งครรภ์และสตรีให้นมบุตร)

วิตามินเสริม มีกี่ประเภท? และมีผลข้างเคียงอะไรบ้าง?

วิตามินที่ละลายน้ำ

วิตามินที่ละลายน้ำจะถูกกำจัดออกจากร่างกายทางปัสสาวะ โดยไม่มีการสะสมในเนื้อเยื่อดังนั้นจึงไม่ส่งผลเสียต่อร่างกายเมื่อได้รับในปริมาณที่มากเกินไป

วิตามินที่ละลายน้ำได้ ได้แก่ วิตามินซี และวิตามินบีอีก 8 ชนิด ได้แก่

  • วิตามินบี1 (ไทอามีน)
  • วิตามินบี2 (ไรโบฟลาวิน)
  • วิตามินบี3 (ไนอะซิน)
  • วิตามินบี5 (กรดเพนโทเทนิค)
  • วิตามินบี6 (ไพริดอกซีน)
  • วิตามินบี7 (ไบโอติน)
  • วิตามินบี9 (โฟเลต)
  • วิตามินบี12 (โคบาลามีน)

 

 

วิตามินที่ละลายในไขมัน

ในทางกลับกันวิตามินที่ละลายในไขมัน เมื่อมีการรับประทานมากเกินไปอาจเก็บสะสมในเนื้อเยื่อไขมันและเกิดความเป็นพิษได้ วิตามินที่ละลายในไขมัน มี 4 ชนิด ได้แก่

  • วิตามินเอ
  • วิตามินดี
  • วิตามินอี
  • วิตามินเค
วิตามิน/แร่ธาตุ ปริมาณที่แนะนำต่อวัน (RDA)

Upper Tolerable Limit (UL)
ปริมาณสูงสุดที่รับประทานได้โดยไม่ส่งผลเสียต่อร่างกาย

แคลเซียม
  • อายุ 19-50 ปี: 1,000 มก./วัน
  • ผู้หญิง อายุมากกว่า 51 ปี: 1,200 มก./วัน
  • ผู้ชาย อายุมากกว่า 71 ปี: 1,200 มก./วันz
  • ​อายุ 19-50 ปี: 2,500 มก./วัน
  • อายุ 51 ปี หรือมากกว่า: 2,000 มก./วัน
คอปเปอร์
  • 900 ไมโครกรัมต่อวัน
  • 10,000 ไมโครกรัมต่อวัน
กรดโฟลิก(โฟเลต)
  • ​400 ไมโครกรัมต่อวัน
  • ​1,000 ไมโครกรัมต่อวัน
    (ใช้สำหรับกรดโฟลิกสังเคราะห์ในผลิตภัณฑ์เสริมอาหารหรืออาหารเสริมสารอาหาร ไม่มีกำหนดค่าสูงสุดสำหรับกรดโฟลิกจากธรรมชาติ)
ไอโอดีน
  • 150 ไมโครกรัมต่อวัน
  • 1,100 ไมโครกรัมต่อวัน
เหล็ก
  • ผู้ชาย อายุ 19-50 ปี: 18 มก./วัน
  • ผู้หญิง อายุ 51 หรือมากกว่า: 8 มก./วัน
  • ​45 มก./วัน
แมกนีเซียม
  • ผู้ชาย อายุระหว่าง 19 ปี ถึง 30 ปี: 400 มก./วัน
  • ผู้ชาย อายุ 31 ปีหรือมากกว่า: 420 มก./วัน
  • ผู้หญิง อายุ 31 ปี หรือมากกว่า: 320 มก./วัน
  • ​350 มก./วัน
  • (ใช้สำหรับแมกนีเซียมในผลิตภัณฑ์เสริมอาหารหรืออาหารเสริมสารอาหาร ไม่มีกำหนดปริมาณสูงสุดสำหรับแมกนีเซียมที่พบในอาหาร หรือน้ำ)
แมงกานีส
  • ผู้ชาย: 2.3 มก./วัน
  • ผู้หญิง: 1.8 มก./วัน
  • ​11 มก./วัน
ฟอสฟอรัส
  • 700 มก./วัน
  • ​อายุน้อยกว่า 70 ปี: 4,000 มก./วัน
  • อายุมากกว่า 70 ปี: 3,000 มก./วัน

โซเดียม

  • อายุ 19-50 ปี: 1,500 มก./วัน
  • อายุ51-70 ปี: 1,300 มก./วัน
  • อายุ 71 ปี หรือมากกว่า: 1,200 มก./วัน
  • ​2,300 มก./วัน
วิตามินเอ
  • ​ผู้ชาย: 900 ไมโครกรัม/วัน
  • ผู้หญิง: 700 ไมโครกรัม/วัน
  • ​3,000 ไมโครกรัมต่อวัน
วิตามินบี3 (ไนอะซิน)
  • ผู้ชาย: 16 มก./วัน
  • ผู้หญิง: 14 มก./วัน
  • ​35 มก./วัน
  • (ใช้สำหรับไนอะซินในผลิตภัณฑ์เสริมอาหารหรืออาหารเสริมสารอาหาร ไม่มีกำหนดปริมาณสูงสุดที่กำหนดไว้ในไนอะซินที่มาจากแหล่งธรรมชาติ)
วิตามินบี6
  • ผู้ชาย อายุ19-50 ปี: 1.3 มก./วัน
  • ผู้ชาย อายุมากกว่า 50 ปี: 1.7 มก./วัน
  • ผู้หญิง อายุระหว่าง 19-50 ปี: 1.3 มก./วัน
  • ผู้หญิง อายุมากกว่า 51 ปี: 1.5 มก./วัน
  • 100 มก./วัน
​วิตามินซี
  • ผู้ชาย: 90 มก./วัน
  • ผู้หญิง: 75 มก./วัน
  • ​2,000 มก./วัน
วิตามินดี (แคลซิฟอรอล)
  • ​อายุ 1-70 ปี: 15 ไมโครกรัม/วัน (600 ไอยู หรือ หน่วยสากล)
  • อายุ 70 ปี หรือมากกว่า: 20 ไมโครกรัม/วัน (800 ไอยู)
  • ​100 ไมโครกรัมต่อวัน (4,000 ไอยู)​
วิตามินอี (แอลฟา-โทโคฟีรอล)
  • ​22.4 ไอยูต่อวัน (15 มก./วัน)
  • 1,500 ไอยูต่อวัน
  • (1,000 มก./วัน)
  • (ใช้สำหรับวิตามินอีในผลิตภัณฑ์เสริมอาหารหรืออาหารเสริมสารอาหาร ไม่มีกำหนดปริมาณสูงสุดสำหรับวิตามินอีที่มาจากแหล่งธรรมชาติ)
สังกะสี
  • ​ผู้ชาย: 11 มก./วัน
  • ผู้หญิง: 8 มก./วัน
  • ​40 มก./วัน

ตารางที่1 ตารางแสดงค่าของ RDA และ UL ของวิตามินและแร่ธาตุ จากกรมการแพทย์วิตามิน/แร่ธาตุปริมาณที่แนะนำต่อวัน (RDA)

กินอาหารเสริมปริมาณที่ปลอดภัย

เข้าใจร่างกายของคุณอย่างรอบด้าน จากดีเอ็นเอของคุณ!

ผู้เชี่ยวชาญด้านโภชนพันธุศาสตร์พบว่าความแตกต่างของยีนในแต่ละบุคคลเกี่ยวข้องกับความสามารถในการดูดซึมสารอาหารที่แตกต่างกัน ตัวอย่างเช่น การดูดซึมวิตามินดีเข้าสู่ร่างกายถูกควบคุมด้วยยีน GC (โปรตีนที่จับกับวิตามินดี) ซึ่งความแปรผันของยีนนี้จึงส่งผลต่อการดูดซึมวิตามินดีที่แตกต่างกันไปในแต่ละคน

ดังนั้นการทานผลิตภัณฑ์เสริมอาหารที่มีวิตามินดีจำเป็นอย่างยิ่งสำหรับผู้ที่มีการดูดซึมวิตามินนี้ไม่ดี ให้ร่างกายในปริมาณที่เหมาะสมยังคงเป็นสิ่งสำคัญ ไม่ว่าจะเป็นได้รับจากแหล่งอาหาร หรือจากผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร

 

สิ่งที่ควรคำนึงถึงก็คือ การทานผลิตภัณฑ์เสริมอาหารควรได้รับคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพเพื่อช่วยออกแบบสูตรหรือวิธีรับประทานที่เหมาะสมที่สุดกับคุณโดยเฉพาะ

 

สำหรับผลิตภัณฑ์เสริมอาหารที่ผู้บริโภคสามารถหาซื้อเองได้ ควรเลือกซื้อจากผู้ผลิตที่มีความน่าเชื่อถือและผ่านการรับรองมาตรฐานซึ่งเป็นทางเลือกที่ดีที่สุดในการเลือกผลิตภัณฑ์เสริมอาหารที่มีคุณภาพ

 

 

เลือกแพ็กเกจวิตามินเฉพาะบุคคลที่คุณสนใจ หรือสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมกับเราได้ทางเพจ facebook หรือ add line @geneus ได้เลยนะคะ

 

References:

  1. Food.fda.moph.go.th/Rules/dataRules/4-4-2ThaiRDI.
  2. Thaidietetics.org/wp-content/uploads
  3. Institute of Medicine (US) Standing Committee on the Scientific Evaluation of Dietary Reference Intakes. (1997). Dietary reference intakes. In Dietary Reference Intakes for Calcium, Phosphorus, Magnesium, Vitamin D, and Fluoride. National Academies Press (US).
  4. Willett, W. C., & Stampfer, M. J. (2001). What vitamins should I be taking, doctor?. New England journal of medicine, 345(25), 1819-1824.
  5. Institute of Medicine (IOM): "Dietary Reference Intakes for Calcium and Vitamin D."
  6. FamilyDoctor.org: "Vitamins and Minerals: What You Should Know."
  7. National Osteoporosis Foundation: "NOF Scientific Statement: National Osteoporosis Foundation's Updated Recommendations for Calcium and Vitamin D3 Intake."