Rated 4.98-stars across 2K+ reviews
Rated 4.98-stars across 2K+ reviews Rated 4.98-stars across 2K+ reviews Rated 4.98-stars across 2K+ reviews Rated 4.98-stars across 2K+ reviews Rated 4.98-stars across 2K+ reviews

เลี้ยงลูกอย่างไรให้มี EF

GeneusDNA profile image By
GeneusDNA
|
Jul 11, 2020
|
639
รู้หรือไม่
ครอบครัว
executive functions
Summary
executive functions

ในในสมัยก่อนนั้น เรามักจะไม่ค่อยได้คุ้นชินกับคำว่า EF (Executive Functions) กันมากสักเท่าไรนัก เรามักจะได้ยินก็แต่คำว่า EQ(Emotional Quotient)

 

ในในสมัยก่อนนั้น เรามักจะไม่ค่อยได้คุ้นชินกับคำว่า EF (Executive Functions) กันมากสักเท่าไรนัก เรามักจะได้ยินก็แต่คำว่า EQ(Emotional Quotient)

EF หรือ Executive Functions คืออะไร?

EF คือความสามารถของสมองและจิตใจที่ใช้ในการควบคุมความคิด อารมณ์ และการกระทำเพื่อให้ถึงเป้าหมาย (Cr. ผศ.ดร.ปนัดดา ธนเศรษฐกร)

หลาย ๆ ครั้งที่เราสงสัยว่าเพราะอะไรเด็กคนหนึ่งถึงได้ดีกว่าเด็กอีกคนหนึ่ง คำตอบอยู่ที่ EF นั่งเองโดย EF นั้นต้องประกอบด้วย

  1. เรื่องของสมอง (เนื้อสมองในทางชีววิทยา) รวมไปถึง
  2. อำนาจจิตใจ 

ดังนั้นหากมีสมองที่ไม่ดีพอก็จะเสริมสร้าง EF ได้ยากกว่าปกติ แต่ก็ไม่ใช่เรื่องที่ทำไม่ได้นะครับ

ทักษะสมอง EF ประกอบด้วย 9 ด้าน ได้แก่

  • ทักษะความจำเพื่อใช้งาน (Working Memory)
  • ทักษะยั้งคิดไตร่ตรอง (Inhibition)
  • ทักษะยืดหยุ่นทางความคิด (Shift/Cognitive Flexibility/Flexible Mind)
  • ทักษะควบคุมอารมณ์ (Emotional Control)
  • ทักษะจดจ่อใจใส่ (Focus/ Task Attention)
  • ทักษะติดตามประเมินตนเอง (Self-Monitoring)
  • ทักษะริเริ่มและลงมือทำ (Initialing)
  • ทักษะวางแผนและจัดระเบียบดำเนินการ (Planning and Organizing)
  • ทักษะมุ่งเป้าหมาย (Goal-Directed Persistence)

EF นั้นจะเกิดขึ้นมาเมื่อเด็กพบสถานการณ์ที่ท้าทายร่วมกับมีการวางแผนที่สลับซับซ้อนในการแก้ปัญหา หรือสถานการณ์ที่ท้าทายให้มีการคิดวิเคราะห์ โดย EF จะเกิดได้ดีเมื่อมีการลงมือทำด้วยมือหรือการปฏิบัติจริง เนื่องจากมีการกระตุ้นนิ้วมือและระบบประสาทสัมผัสไปที่สมอง การที่จะพัฒนา EF ได้ดีนั้นมีช่วงเวลาของมัน นั่นคือ ช่วงที่เด็กมีอายุน้อยกว่า 10 ปี เนื่องจากหลังเวลาดังกล่าวสมองจะเกิดกระบวนการ synaptic pruning ซึ่งเป็นการตัดแต่งวงจรประสาท วงจรไหนที่ใช้บ่อยก็จะถูกเก็บไว้ วงจรไหนที่ไม่ได้ใช้ก็จะถูกย่อยสลายไป วงจรประสาทที่รองรับ EF คือวงจรที่เราอยากให้คงอยู่คือการควบคุมตนเองให้ไปถึงเป้าหมาย

บรรได 7 ขั้นจาก EF

  1. ช่วงอายุ 12 เดือนแรกต้องมี ความไว้ใจ(trust) สร้างแม่ที่มีอยู่จริงขึ้นมา ทำได้ด้วยการเลี้ยงลูกด้วยตนเองให้ได้มากที่สุด ใช้เวลากับเด็กให้ได้มากที่สุด อุ้ม กอด บอกรัก ให้นม โอ๋ ทำความสะอาด จนเด็กเกิดความไว้ใจ พ่อและแม่ ไว้ใจโลก
  2. ช่วงอายุ 2-3 ปี เป็นช่วงที่ต้องเน้นสร้างสายสัมพันธ์(Attachment) ให้ลูกรู้ว่ายังมีพ่อและแม่คอยให้กำลังใจอยู่เบื้อหลัง ไม่มีวันทอดทิ้งเราไปไหน
  3. ช่วงปลายอายุ 3 ปี มีการสร้างตัวตน(Self) มีการแยกตัวตนออกมา เป็นตัวของตัวเอง แยกจากบุคคลอื่นโดยสิ้นเชิง
  4. ช่วงอายุ 3-5 ปี เป็นช่วงที่สร้างความเชื่อมั่นในตนเอง(Self esteem) เป็นช่วงที่เด็กจะทดสอบกติกาว่ามีอะไรบ้างที่สามารถทำได้ และมีอะไรบ้างที่ไม่สามารถทำได้ หากทำได้และมีคนคอยชื่นชมก็จะเกิด Self esteem ที่ดี มีความมั่นใจในตัวเอง
  5. ช่วงอายุ 3-7 ปี เป็นช่วงที่มีการฝึกควบคุมตนเอง(Self control) ต้องรู้จักควบคุมตัวเองว่า อะไรบ้างสามารถทำได้ อะไรบ้างไม่สามารถทำได้ ไม่ทำตามอำเภอใจไปทั้งหมด เริ่มตั้งแต่เรื่องใกล้ตัว ไปยังเรื่องภายในบ้าน และเรื่องสาธารณะ
  6. ช่วงอายุ 3-7 ปี เป็นช่วงที่ฝึก EF ได้เป็นอย่างดีที่สุด ประกอบไปด้วยการควบคุมตนเอง การบริหารความจำใช้งาน(Working memory) และการวิเคราะห์อย่างยืดหยุ่น โดยทุกอย่างจะเกิดขึ้นได้เมื่อมีการลงมือทำ ลงมือเล่นเพื่อบรรลุเป้าหมาย หรือทำงานบางอย่างเพื่อให้บรรลุเป้าหมายอย่างเช่น การทำงานบ้าน เป็นต้น
  7. ช่วงอายุ 7-20 ปี เป็นช่วงเวลาแห่งการเรียนรู้ในโรงเรียน เรียนรู้ทั้งวิธีการคิดวิเคราะห์ และเนื้อหาทางวิชาการโดยวิธีที่ดีในปัจจุบันที่โรงเรียนทันสมัยใช้นั่นคือ การสอนเด็กแบบ PBL(Problem-based Learning) คือการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน โดยปัญหานั้นเป็นเรื่องที่ใกล้ตัวและเกี่ยวข้องสัมพันธ์กับผู้เรียน อาจเป็นเรื่องที่ผู้เรียนสนใจหรือ มีความหมายกับผู้เรียนที่สามารถนำมาสร้างกระบวนการเรียนรู้ได้โดยปัญหา

หากว่าเราสามารถเลี้ยงเด็กได้ตามบรรได 7 ขั้นตามช่วงอายุผมเชื่อว่า ผลลัพธ์ที่เด็กจะได้ออกมานั้นจะสามารถเป็นเด็กที่ดีได้ และเป็นเด็กที่เก่งได้ด้วยตัวเองในอนาคตอย่างแน่นอน เพราะเด็กที่มี EF ดี จะสามารถควบคุมตนเองได้เป็นอย่างดี เพื่อให้บรรลุเป้าหมายที่ตนเองวางไว้ ไม่วอกแวกไปในทางที่มิดีมิชอบ ถึงแม้จะไม่มีผู้ปกครองอยู่คอยควบคุมความประพฤติแล้วก็ตาม

 

น.พ. หลักเขต เหล่าประไพพรรณ

(Anti-aging and Integrative Medicine)

 

Cr. หนังสือเลี้ยงลูกอย่างไรให้ได้ EF โดยนายแพทย์ประเสริฐ ผลิตผลการพิมพ์

 

chat line chat facebook