Rated 4.98-stars across 2K+ reviews
Rated 4.98-stars across 2K+ reviews Rated 4.98-stars across 2K+ reviews Rated 4.98-stars across 2K+ reviews Rated 4.98-stars across 2K+ reviews Rated 4.98-stars across 2K+ reviews

ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร กินนานแค่ไหนถึงจะเห็นผล?

GeneusDNA profile image By
GeneusDNA
|
Feb 23, 2024
|
1.24 k
รู้หรือไม่
how long does it take for supplements to work
Summary
how long does it take for supplements to work

คุณเคยสงสัยไหมว่า ต้องทานผลิตภัณฑ์เสริมอาหารนานแค่ไหน จึงจะเห็นผลดีที่ชัดเจนต่อร่างกาย

คุณเคยสงสัยไหมว่า ต้องทานผลิตภัณฑ์เสริมอาหารนานแค่ไหน จึงจะเห็นผลดีที่ชัดเจนต่อร่างกาย

หนึ่งวัน สามสัปดาห์ เป็นเดือน หรือนานกว่านั้น? จริงๆ แล้วมีหลายปัจจัยที่ส่งผลต่อระยะเวลาเห็นผลดีต่อสุขภาพจากผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร

ความสามารถของดูดซึมสารอาหารในร่างกาย ขึ้นอยู่กับชนิดและปฏิกิริยาระหว่างสารอาหาร เช่นวิตามินที่ละลายน้ำได้ เช่น วิตามินซี ร่างกายสามารถดูดซึมได้ในไม่กี่นาทีและส่งผลต่อเมตาบอลิซึมได้ทันที แต่วิตามินที่ละลายในไขมันบางชนิด เช่น วิตามินดี อาจใช้ระยะเวลานานกว่าจะเห็นผล

 

 

ทีม CARE ได้ให้ความรู้เกี่ยวกับปริมาณวิตามินที่เหมาะสมไว้ในหัวข้อ "การกินอาหารเสริมปริมาณมากแค่ไหนจึงจะเหมาะสมกับร่างกาย"

ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร การทานอย่างสม่ำเสมอเป็นสิ่งสำคัญ

 

อย่าลืมว่า ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารไม่ใช่ยา!!

 

 

ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร จะช่วยส่งเสริมสุขภาพของคุณได้อย่างดีเมื่อรับประทานอย่างต่อเนื่อง

 

การทานผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร ต่อเนื่องเป็นกิจวัตรประจำวัน จะมีประโยชน์ต่อร่างกายของคุณมากที่สุด ทำให้คุณมีสุขภาพและสุขภาวะที่ดีอย่างยั่งยืน

 

การรับประทานผลิตภัณฑ์เสริมอาหารต่อเนื่อง 4-6 สัปดาห์ ขึ้นไป ส่งผลดีต่อสุขภาพอย่างชัดเจน

การลืมรับประทานผลิตภัณฑ์เสริมอาหารเพียงไม่กี่วัน อาจจะไม่ส่งผลเสียร้ายแรง แต่หากไม่ได้ทานติดต่อกันหลายวัน อาจทำให้ร่างกายไม่แข็งแรงเหมือนก่อนหน้า

นอกจากนี้ ความสามารถในการดูดซึมนั้นก็แตกต่างกันไปในแต่ละบุคคล ส่วนประสิทธิภาพ ขึ้นอยู่กับการออกฤทธิ์ร่วมกันของผลิตภัณฑ์เสริมอาหารแต่ละชนิด นอกจากนี้ยังมีปัจจัยทางชีวภาพหรือปัจจัยภายนอกอื่นๆ ที่อาจส่งผลต่อการดูดซึมวิตามิน ได้แก่ อายุ เพศ การย่อยอาหาร อาหารที่รับประทาน และโรคประจำตัว

 

 

ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร กับภาวะขาดสารอาหาร

แม้ว่าร่างกายของเราต้องการสารอาหารรอง (วิตามินและแร่ธาตุ) เพียงเล็กน้อยแต่องค์การอนามัยโลก (WHO) แนะนำว่า เราควรสังเกตอาการของภาวะขาดสารอาหารเนื่องจากภาวะขาดสารอาหารเล็กน้อยอาจไม่มีสัญญาณเตือนหรืออาการที่ชัดเจน อย่างไรก็ตาม หากอยู่ในภาวะขาดสารอาหารเป็นเวลานานมักทำให้เหนื่อยล้า อ่อนแรง เวียนศีรษะ ผิวและเล็บผิดปกติ

อีกอย่างหนึ่ง การทานผลิตภัณฑ์เสริมอาหารแล้วเห็นผลดีต่อสุขภาพยังขึ้นอยู่กับระดับความรุนแรงของภาวะขาดสารอาหาร หมายความว่า หากคุณมีปัญหาสุขภาพคุณจำเป็นต้องทานผลิตภัณฑ์เสริมอาหารในปริมาณที่มากขึ้น

ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร ประเภทวิตามิน

วิตามินที่ละลายในน้ำและวิตามินที่ละลายในไขมัน

ความต้องการวิตามิน ในแต่ละคนนั้นอาจแตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับ อายุ เพศ พันธุกรรม และระดับวิตามินในร่างกายของคุณ

วิตามินที่ละลายในไขมัน เช่น วิตามินเอ ดี อี เค ต้องการอาหารจำพวกไขมันเพื่อดูดซึมวิตามินเหล่านี้ ดังนั้น หากต้องการทานวิตามินเหล่านี้ให้ได้ผลที่ชัดเจน ควรรับประทานหลังอาหาร

ในทางกลับกันวิตามินที่ละลายในน้ำ (วิตามินซี และ บี) จะถูกดูดซึมเข้าสู่ร่างกายได้ง่าย และเห็นผลได้ชัดเจนอย่างรวดเร็ว

 

 

ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร ประเภทแร่ธาตุ

เราต้องการแร่ธาตุในปริมาณเพียงเล็กน้อยและส่วนใหญ่ได้มาจากอาหาร อย่างไรก็ตาม แร่ธาตุมีหน้าที่สำคัญคือส่งเสริมการทำงานของเอ็นไซม์ หรือที่เรียกว่า "โคเอ็นไซม์" จึงช่วยควบคุมการเผาผลาญและปฏิกิริยาเคมีในร่างกาย แร่ธาตุ ได้แก่ ทองแดง โครเมียม ซีลีเนียม แมงกานีส และโมลิบดีนัม เช่น ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารที่มีทองแดงและแมงกานีส ส่งเสริมการทำงานของเอนไซม์ซูเปอร์ออกไซด์ดิสมิวเตส (SOD2) ที่ช่วยกำจัดอนุมูลอิสระ และป้องกันความเสียหายต่อเยื่อหุ้มเซลล์

อย่างไรก็ตาม คุณควรรู้จัก ค่า RDA หรือ ปริมาณสารอาหารที่แนะนำให้บริโภคในแต่ละวัน คุณจะได้ไม่ทานเกินความต้องการมากเกินไปและก่อให้เกิดปัญหาสุขภาพมากมายตามมา สามารถอ่านเพิ่มเติมได้ที่ "การกินอาหารเสริมปริมาณมากแค่ไหนจึงจะเหมาะสมกับร่างกาย"

 

 

ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร ประเภท พรีไบโอติกและโพรไบโอติก

 

คุณรู้หรือไม่ว่า?!!! โพรไบโอติก สำคัญพอๆ กับ พรีไบโอติก เพื่อช่วยให้มีลำไส้ที่ดี??

 

คนที่ไม่ทานผักและผลไม้ หรืออาหารหมักดอง เช่น โยเกิร์ต คีเฟอร์ และนมเปรี้ยว หรือทานอาหารเหล่านี้น้อย หรือผู้ที่มีภาวะย่อยน้ำตาลแลคโตสไม่ได้ ควรทานผลิตภัณฑ์เสริมอาหารประเภทโพรไบโอติกเพื่อสุขภาพที่ดี

 

 

พลังของพรีไบโอติกและโพรไบโอติก (probiotic and prebiotic)

พรีไบโอติกและโพรไบโอติก..ดีต่อสุขภาพลำไส้อย่างไร??

พรีไบโอติก คือ แหล่งอาหารของจุลินทรีย์ที่ช่วยปรับสมดุลของลำไส้ พรีไบโอติกพบได้ในกล้วย กระเทียม หัวหอม ข้าวสาลี ข้าวโอ๊ต และถั่วเหลือง เป็นใยอาหารที่ไม่ละลายน้ำและร่างกายไม่สามารถย่อยได้ แต่เป็นแหล่งอาหารของแบคทีเรียและยีสต์ชนิดดีหรือที่เรียกกันว่า "โพรไบโอติก" นอกจากนี้ยังช่วยให้ลำไส้มีสุขภาพดี

นอกจากนี้ โพรไบโอติกยังสามารถผลิตกรดไขมันสายสั้น (SCFA) ซึ่งช่วยปรับสมดุลลำไส้ การทานโพรไบโอติกและพรีไบโอติกจะเห็นผลได้ดีหลังทาน 3-4 สัปดาห์ เนื่องจากโพรไบโอติกต้องใช้เวลาในการเพิ่มจำนวนในร่างกายและลดจำนวนแบคทีเรียชนิดไม่ดีที่เป็นสาเหตุของลำไส้อักเสบ นอกจากนี้ยังมีการศึกษาทางคลินิกที่ยืนยันว่าผลิตภัณฑ์เสริมอาหารโพรไบโอติกและพรีไบโอติกช่วยป้องกันการติดเชื้อในเยื่อบุลำไส้ และลดความเสี่ยงของการเกิดโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่และทวารหนักได้อีกด้วย

 

การทานโพรไบโอติกและพรีไบโอติกจะเห็นผลได้ดีหลังทาน 3-4 สัปดาห์ เนื่องจากโพรไบโอติกต้องใช้เวลาในการเพิ่มจำนวนและลดจำนวนแบคทีเรียชนิดไม่ดี

สามารถอ่านเพิ่มเติมเกี่ยวกับ "Prebiotic และ Probiotic ต่างกันอย่างไร และหลักการเลือกซื้อ ?" ได้ที่นี่

ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร และระยะเวลาหลังทานที่เห็นผลอย่างชัดเจน

ผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพแนะนำว่าอาจใช้เวลา 4 สัปดาห์ ถึง 3 เดือน สำหรับการประเมินประสิทธิภาพของผลิตภัณฑ์เสริมอาหารที่ทานอยู่ โดยประสิทธิภาพนี้อาจจะแตกต่างกันไปตามปัจจัยทางชีวภาพและสภาวะร่างกาย ดังนั้นแนะนำว่าก่อนรับประทานผลิตภัณฑ์เสริมอาหารควรปรึกษาผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพเพื่อคัดสรรชนิดและปริมาณให้สอดคล้องกับภาวะโภชนาการเพื่อให้คุณบรรลุเป้าหมายด้านสุขภาพของคุณมากที่สุด

"วิตามินตามDNA" และ บริการของ CARE

บริการของ CARE เกิดขึ้นจากความร่วมมือของทีมบุคลากรทางการแพทย์ ได้แก่ แพทย์ เภสัชกร และนักโภชนาการ ด้วยเทคโนโลยีทาง DNA ที่ล้ำสมัยประกอบกับการวิจัยทางพันธุกรรมล่าสุด เราออกแบบวิตามินเฉพาะบุคคลที่เหมาะสมที่สุดสำหรับแต่ละคน พร้อมด้วยคำแนะนำเฉพาะคุณจากทีมแพทย์และผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพของเรา เพื่อให้แน่ใจว่าทุกคนจะสามารถปลดล็อกสุขภาพที่ดีที่สุดของตนเองได้

เลือกแพ็กเกจวิตามินเฉพาะบุคคลที่คุณสนใจ หรือสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมกับเราได้ทางเพจ facebook หรือ add line @geneus ได้เลยนะคะ

 

References:

  1. Elvehjem, C. A. (1943). Recent Advances in Our Knowledge of the Vitamins. The Scientific Monthly, 56(2), 99-104.
  2. Kasahara, M., & Kawashima, K. (1937). Absorption of vitamin C through the skin. Klinische Wochenschrift, 16, 135-136.
  3. Rifkin, E., & Lazris, A. (2015). Vitamins and Supplements. In Interpreting Health Benefits and Risks (pp. 203-212). Springer, Cham.
  4. Li, K., Kaaks, R., Linseisen, J., & Rohrmann, S. (2010). Consistency of vitamin and/or mineral supplement use and demographic, lifestyle and health-status predictors: findings from the European Prospective Investigation into Cancer and Nutrition (EPIC)-Heidelberg cohort. British journal of nutrition, 104(7), 1058-1064.
  5. Borel, P. (2003). Factors affecting intestinal absorption of highly lipophilic food microconstituents (fat-soluble vitamins, carotenoids and phytosterols).
  6. Ritchie, H., & Roser, M. (2017). Micronutrient deficiency. Our World in data.
  7. Moreno, P., & Salvado, V. (2000). Determination of eight water-and fat-soluble vitamins in multi-vitamin pharmaceutical formulations by high-performance liquid chromatography. Journal of chromatography A, 870(1-2), 207-215.
  8. SOBAL, J., & DALY, M. P. (1990). Vitamin/mineral supplement use among general practice patients in the United Kingdom. Family practice, 7(3), 181-183.
  9. Quigley, E. M. (2019). Prebiotics and probiotics in digestive health. Clinical Gastroenterology and Hepatology, 17(2), 333-344.
  10. Tuohy, K. M., Probert, H. M., Smejkal, C. W., & Gibson, G. R. (2003). Using probiotics and prebiotics to improve gut health. Drug discovery today, 8(15), 692-700.
chat line chat facebook